MANAGING COLLABORATION IN COMMUNITY CASE STUDY: BAANHATSOMPAEN, RANONG PROVINCE
การจัดการความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชน กรณีศึกษา บ้านหาดส้มแป้น จังหวัดระนอง

Author:
Advisor:
Subject:
Date:
1/7/2022
Publisher:
Silpakorn University
Abstract:
This research aims 1) to study cooperation management for community-based tourism in Baanhatsompaen, Ranong and 2) to study problems and obstacles in community-based tourism in Baanhatsompaen, Ranong. This study is qualitative research.
The results reveal that tourism cooperation between state agencies, private organization, and the locals in Baanhatsompaen, Ranong was in a good level since the village head had a well-planned development in her community driven with the sustainable tourism strategy and the support of state agencies and other partnerships, which focuses on engagement between the partnerships in planning, decision-making, developing, performing, profit-sharing, and evaluating. The results point out that community-based tourism of Baanhatsompaen was built up of collaboration set in the community. It was found that the locals were well-prepared to cope with changes, leading the collaborative development plans to benefit the locals and those who involving tourism management. Also, a strong, selfless leader, an awareness of the importance of preserving community’s tourist attractions as well as raising the awareness of preservation will bring community’s well-being form the very sustainable tourism. งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาการจัดการความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชมบ้านหาดส้มแป้น จังหวัดระนอง 2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านหาดส้มแป้น จังหวัดระนอง โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพตามแนวคิดเชิงปรากฏการณ์วิทยา
ผลการวิจัยพบว่า การจัดการความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ภาคเอกชน และผู้ที่อาศัยอยู่ในชุมชนบ้านหาดส้มแป้น จังหวัดระนอง มีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี เนื่องจากผู้นำชุมชนมีการวางแผนที่จะพัฒนาชุมชนภายใต้แนวทางการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน อีกทั้งยังได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ และกลุ่มผู้เกี่ยวข้อง โดยเน้นการมีส่วนร่วมของสมาชิกของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายในการมีส่วนร่วมด้านการวางแผน ร่วมตัดสินใจ ร่วมพัฒนา ร่วมลงมือปฏิบัติ ร่วมแบ่งปันผลประโยชน์ และมีส่วนร่วมในการประเมินผล จึงสรุปได้ว่า การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านหาดส้มแป้นนั้นมาจากการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน พบว่าชาวบ้านในชุมชนมีความพร้อมในการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี ทำให้แนวทางการพัฒนาความร่วมมือของชุมชนก่อให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชนและผู้ที่เกี่ยวข้องในด้านการจัดการการท่องเที่ยว ทั้งนี้การมีผู้นำที่เข้มแข็ง เสียสละ เห็นแก่ประโยชน์อย่างเป็นธรรม และให้ความสำคัญในการอนุรักษ์สถานที่ท่องเที่ยวในชุมชน รวมทั้งปลูกฝังให้คนในชุมชนมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์เพื่อให้การดำเนินชีวิตของคนในชุมชนมีความสุข จะนำมาสู่การจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนต่อไป
Type:
Discipline:
การจัดการภาครัฐและภาคเอกชน แผน ก แบบ ก 2 ระดับปริญญามหาบัณฑิต
Collections:
- วิทยานิพนธ์ [502]
Total Download:
117