CREATIVITY OF STUDENTS AT FACULTY OF INFORMATION AND COMMUNICATION TECHNOLOGY SILPAKORN UNIVERSITY
ความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมหาวิทยาลัยศิลปากร
ผู้แต่ง:
หัวเรื่อง:
วันที่:
1/7/2022
สำนักพิมพ์:
Silpakorn University
บทคัดย่อ:
The objectives of this research were 1) to examine creativity, perceived the university support for creativity, and big 5 personality factors of students at Faculty of Information and Communication Technology, Silpakorn University 2) to compare among the difference of personal factors of the students, creativity, perceived the university support for creativity, and big 5 personality factors. 3) the relationship between creativity, perceived the university support for creativity, and big 5 personality factors of the students 4) the influence of creativity of the students The study was quantitative research. The instrument of this research was a questionnaire for data collection from 329 students. Statistical methods in the research included Frequency, Percentage, Average, Standard Deviation, t-test for dependent Samples, One-way Analysis of Variance, The coefficient of Pearson Product Moment Correlation analysis, and Stepwise Multiple Regression analysis. Results indicated that
1. Students at Faculty of Information and Communication Technology, Silpakorn University have creativity and perceived the university support for creativity at a high level
2. Different Personal factors, categorized by where students study, have different creativity. Moreover, Different college years have different perceived the university support for creativity. Different Personal factors, categorized by sex, have different big 5 personality factors
3. There is a moderate Positive Correlation between creativity and perceived the university support for creativity. There is a moderate Positive Correlation between creativity and Neuroticism Factor, Extraversion factor, Agreeableness factor and Conscientiousness factor of big 5 personality factors
4. Perceived the university support for creativity, Agreeableness factor, Openness factor, Neuroticism factor of big 5 personality factors were factors affecting creativity. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา 1) ศึกษาความคิดสร้างสรรค์ การรับรู้การสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์จากมหาวิทยาลัย และบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ ของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร 2) เปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยส่วนบุคคลของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร กับความคิดสร้างสรรค์ การรับรู้การสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์จากมหาวิทยาลัย และบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ 3) ความสัมพันธ์ของความคิดสร้างสรรค์ การรับรู้การสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์จากมหาวิทยาลัย และบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ ของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร 4) อิทธิพลต่อความคิดสร้างสรรค์ของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกล่มตัวอย่าง 329 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที วิเคราะห์ความแปรนทางเดียว วิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียรสัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุแบบมีขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า
1. นักศึกษาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร มีความคิดสร้างสรรค์ และการรับรู้การสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์อยู่ในระดับสูง
2. ปัจจัยส่วนบุคคลจำแนกตามสถานที่กำลังศึกษาแตกต่างกันมีความคิดสร้างสรรค์แตกต่างกัน ปัจจัยส่วนบุคคลจำแนกตามสถานที่กำลังศึกษา และชั้นปีแตกต่างกันมีการรับรู้การสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์จากมหาวิทยาลัยแตกต่างกัน ปัจจัยส่วนบุคคลจำแนกตามเพศแตกต่างกันมีบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบแตกต่างกัน
3. ความคิดสร้างสรรค์มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลางกับการรับรู้การสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์จากมหาวิทยาลัย ความคิดสร้างสรรค์มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลางกับบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบแบบหวั่นไหว แบบแสดงตัว แบบประนีประนอมและแบบมีจิตสำนึก
4. การรับรู้การสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์จากมหาวิทยาลัย บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบแบบประนีประนอม บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบแบบเปิดรับประสบการณ์ บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบแบบหวั่นไหว เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความคิดสร้างสรรค์
ประเภทผลงาน:
สาขาวิชา:
การจัดการภาครัฐและภาคเอกชน แผน ก แบบ ก 2 ระดับปริญญามหาบัณฑิต
คอลเล็คชัน:
- วิทยานิพนธ์ [494]
จำนวนดาวน์โหลด:
744