SOCIAL REFLECTIONS AND THE PRESENTATION TECHNIQUES OF KHMER GHOST STORIES
ภาพสะท้อนทางสังคมและกลวิธีการนำเสนอในเรื่องเล่าผีเขมร
Author:
Advisor:
Date:
1/7/2022
Publisher:
Silpakorn University
Abstract:
The objective of this dissertation is to study the social reflections and the presentative techniques of Khmer ghost stories. This project examined the content of one hundred Khmer ghost stories. The Khmer people generally identify ghosts as Khmoc (ghost).
Ghost beliefs in Khmer society can be categorized into three groups, based on the evolution of belief systems. First, the primitive ghost was the group of ghosts in ancient beliefs of Khmer society since prehistoric times. The second category is Buddhist ghosts, or ghosts related to Buddhist influences, such as Sambhavesī (One who is seeking birth), Peta (hungry ghosts) and Asurakāya (demons). Moreover, the third category includes ghosts of cross-cultural influences, spreading through Khmer society following the introduction of modern mass media.
The study of the social reflections in Khmer ghost stories is divided into seven topics. These are: 1. belief and value issues, as Khmer people firmly believe in the ancestor spirits; 2. superstition issues, which can be categorized as protective, helpful, and aggressive spirits; 3. Buddhist issues, as Khmer people believe in the doctrines of causality, and rebirth; 4. traditional and ritual issues, most often relating to the traditions of ordination, marriage, and spirit-related rituals; 5. political issues, including international relations with Siam, Vietnam, and France, as well as internal politics relating to the Khmer Rouge; 6. economic issues, which relate to occupations and the introduction of capital and western culture; 7. social and environmental issues, including any bounds between human with human, human with ghosts, and human to the natural environment.
The study of presentation techniques in Khmer ghost stories revealed several methods. These reveal that 1. stories were titled in various ways, using words having the meaning of ghosts, using words showing the identity or behavior of the protagonist, naming places, describing the plot, and using the title in form of questions; 2. the plot uses conflict between the protagonist and antagonist, as well as conflict between man and the environment; 3. they consider the concept of having both good and evil spirits; 4. the majority of ghost stories reflect love, with greed being another prominent issue; 5. some ghost characters are visible while others are not; 6. most scenes are physical and arise through time; 7. the author speaks from the perspective of understanding everything as it truly is; 8. continuity patterns mostly follow chronological ordering; 9. rhetorical patterns are mostly narrative and descriptive; 10. literary signs are given through names, characteristics, and objects.
Finally, Khmer ghost stories reflect Khmer life and society in various dimensions. The authors used literary techniques to attract the reader's attention by using simple literary techniques to meet the readers' needs broadly. วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาภาพสะท้อนทางสังคม และกลวิธีการนำเสนอ ในเรื่องเล่าผีเขมร โดยศึกษาจากเรื่องเล่าผีเขมร 100 เรื่อง พบว่าชาวเขมรเรียกผีทั่วไปว่าខ្មោច (ผี) ความเชื่อเรื่องผีในสังคมเขมรจัดกลุ่มตามพัฒนาการทางระบบความเชื่อได้ 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผีดั้งเดิม คือผีที่อยู่ในความเชื่อของชาวเขมรมาแต่บรรพกาล กลุ่มผีจากอิทธิพลของศาสนาพุทธ คือผีตามคติความเชื่อในศาสนาพุทธ ซึ่งมี 3 จำพวกคือ สัมภเวสี เปรตและอสุรกาย และกลุ่มผีจากวัฒนธรรมภายนอก คือ ผีที่นอกเหนือจากกลุ่มผีดั้งเดิมและผีที่เกิดจากอิทธิพลของศาสนาพุทธ
การศึกษาภาพสะท้อนทางสังคมในเรื่องเล่าผีเขมร 7 ด้าน พบว่า 1. ด้านความเชื่อและค่านิยม ชาวเขมรเชื่อเรื่องผีบรรพบุรุษอย่างเหนียวแน่น 2. ด้านเรื่องไสยศาสตร์มีกลุ่มป้องกัน กลุ่มช่วยเหลือ และกลุ่มทำร้าย 3. ด้านความเชื่อเรื่องพุทธศาสนา ชาวเขมรเชื่อในหลักธรรมคำสอน เรื่องเวรกรรม และเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด 4. ด้านประเพณีพิธีกรรม มีประเพณีบวช แต่งงาน และพิธีกรรมที่เกี่ยวกับผี 5. ด้านการเมืองการปกครอง การเมืองการปกครองระหว่างประเทศ เกี่ยวข้องกับสยาม เวียดนาม และฝรั่งเศส ส่วนการเมืองการปกครองภายในประเทศเกี่ยวข้องกับเขมรแดง 6. ด้านเศรษฐกิจพบการประกอบอาชีพต่าง ๆ และการเข้ามาของทุนและวัฒนธรรมตะวันตก 7. ด้านความสัมพันธ์ทางสังคมและสิ่งแวดล้อม พบความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน คนกับผี และคนกับสิ่งแวดล้อมนั้น
กลวิธีการนำเสนอในเรื่องเล่าผีเขมรพบว่า 1.กลวิธีการตั้งชื่อเรื่อง พบว่า ใช้คำที่มีความหมายว่าผี ใช้อัตลักษณ์หรือพฤติกรรมของตัวละครหลัก ใช้ชื่อสถานที่ ใช้วิธีบอกเนื้อหาของเรื่อง และใช้วิธีตั้งชื่อเรื่องเป็นคำถาม 2. โครงเรื่องใช้ความขัดแย้งระหว่างตัวเอกกับคู่กรณีมากที่สุด รองลงมาเป็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม 3. แนวคิดพบว่ามีผีดีกับผีร้าย 4. เรื่องราวของเรื่องเล่าผีส่วนใหญ่สะท้อนความรัก รองลงมาเกี่ยวกับความโลภ 5. ตัวละครผีมีผีที่ปรากฏตัว และผีที่ไม่ปรากฏตัว 6. ฉากใช้ฉากที่มีลักษณะทางกายภาพมากที่สุด รองลงมาเป็นฉากเวลา 7. กลวิธีการเล่าใช้แบบผู้เขียนเป็นผู้รู้แจ้งมากที่สุด 8. รูปแบบการดำเนินเรื่องใช้กลวิธีเล่าเรื่องตามปฏิทินมากที่สุด 9. รูปแบบการใช้โวหารใช้บรรยายโวหารและพรรณนาโวหารมากที่สุด โวหารชนิดอื่น ๆ ใช้น้อยมาก 10. รูปแบบการใช้สัญญะ ใช้ผ่านการตั้งชื่อเรื่อง ใช้ผ่านตัวละคร และวัตถุสิ่งของ
เรื่องเล่าผีเขมร สะท้อนให้เห็นภาพชีวิตและสังคมเขมรในด้านต่าง ๆ ผู้ประพันธ์นำเอากลวิธีทางวรรณศิลป์เข้ามาใช้เพื่อดึงดูดความสนใจ โดยใช้กลวิธีการประพันธ์ที่เน้นความเรียบง่ายเพื่อตอบสนองผู้อ่านได้อย่างกว้างขวาง
Type:
Discipline:
จารึกภาษาไทยและภาษาตะวันออก แบบ 2.1 ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
Collections:
Total Download:
993