การศึกษาคติความเชื่อและรูปแบบของ "คชลักษมี" ที่พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
Author:
Subject:
Date:
2012
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
เอกสารศึกษาเฉพาะบุคคลชิ้นนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคติความเชื่อและรูปแบบลักษณะของประติมานวิทยาของคชลักษมีที่พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 โดยมุ่งศึกษาเรื่องราว เทวตำนาน บทบาทหน้าที่ พิธีกรรมการนับถือ และรูปแบบการนับถือ ทั้งจากคัมภีร์ทางศาสนาพราหมณ์ฮินดู เปรียบเทียบรูปแบบ และลักษณะทางประติมานของคชลักษมีที่พบในภมิภาคต่าง ๆ ของอินเดียที่มีรูปแบบแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องที่ ซึ่งล้วนส่งผลต่อการนับถือคชลักษมีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย
คชลักษมีที่พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12-14 นั้นมีรูปแบบและการนับถือหลากหลายมาก และพบกระจายเป็นจำนวนมากในดินแดนประเทศไทยในรูปแบบของเครื่องรางของพ่อค้า ต่อมาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 15-17 คชลักษมีที่พบในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากเดิม (ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12-14) จะมีการพบบริเวณภาคกลางของประเทศไทยในปัจจุบัน ในเมืองที่ปรากฏวัฒนธรรมทวารวดี แต่เมื่อมาถึงในช่วงพุทธศตวรรษที่ 15-17 พบอยู่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยในปัจจุบันบริเวณประเทศกัมพูชา และพบในประเทศเวียดนามแทน อีกทั้งมักจะปรากฏในรูปแบบทับหลัง หน้าบัน ประดับศาสนสถานมากกว่าเป็นของขนาดเล็กอย่างช่วงต้น
Type:
Discipline:
ภาควิชาโบราณคดี
Collections:
Total Download:
1185