Study of Factors Affecting Longevity for Elderly Lodging Design
การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีอายุยืนยาวเพื่อการออกแบบที่พักผู้สูงวัย
Author:
Advisor:
Subject:
Date:
11/1/2018
Publisher:
Silpakorn University
Abstract:
Abstract
Because of the continuously growing number of senior population worldwide, especially in developed countries such as the United State of America, Japan and most of the countries in Europe, these countries are now in the aging society, relating businesses are also growing to support aging society. This study aimed to investigate physical factors and psychological factors effecting long life and active aging that lead to resort design for European and Thai aging wellness. Data was collect using in-depth interview of 6 experience managers who responsible in management and resort design for aging persons. It was found that factors effecting long life included physical environment, social environment, mental health, daily life activities and medical development. These five factors lead to 6 design-bases that enhance those environments. The designs included architecture and interior with relaxation atmosphere such as using of natural colors, interior design with warm and resting atmosphere like being home, green space added between external and interior zone with open space for natural light, architectural design for natural air flow, interior design with special space for intensive care, and universal design for safety and convenience daily life of aging persons. These appropriate designs support active aging persons in their happiness daily life with and less dependent to others. บทคัดย่อ
จากสถานการณ์โลกที่ประชากรผู้สูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างกลุ่มผู้สูงอายุประเภท Active Aging เห็นได้ชัดจากกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วเช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่นและยุโรป ที่ส่วนใหญ่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว ธุรกิจที่พักและการดูแลผู้สูงอายุจึงเป็นธุรกิจที่เติบโตขึ้น เพื่อรองรับเป้าประสงค์ของผู้สูงวัยที่ต้องการมีอายุยืนยาวอย่างมีความสุข วัตถุประสงค์หลักของงานวิจัยนี้ คือค้นหาปัจจัยทางด้านสภาพแวดล้อมกายภาพ ที่สามารถส่งเสริมสุขภาวะ ส่งผลให้ผู้สูงอายุมีชีวิตยืนยาวอย่างมีคุณภาพ นำไปสู่แนวทางในการออกแบบที่พักเพื่อสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุประเภท Active Aging ที่มาพักในเมืองไทย โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยด้วยการสัมภาษณ์แบบมีเค้าโครงเชิงลึกและไม่มีโครงสร้าง จาก นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ใช้บริการระยะสั้น ผู้ใช้บริการระยะยาว และผู้บริหารที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดการ การออกแบบที่พัก สถานบริการเพื่อสุขภาพผู้สูงอายุจำนวน 6 คน พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลให้อายุยืนยาวนั้นประกอบไปด้วย 5 ปัจจัยคือ 1.ปัจจัยทางสภาพแวดล้อมกายภาพ 2.สภาพสังคมผู้สูงอายุ 3.สุขภาพจิต 4.การดำเนินชีวิตประจำวัน 5.การให้บริการทางสุขภาพ โดยใช้การออกแบบเพื่อส่งเสริม 6 ปัจจัยการออกแบบคือ 1.การออกแบบสถาปัตยกรรมภายในและภายนอก ที่ส่งเสริมให้ผู้อยู่อาศัยรู้สึกผ่อนคลาย เช่นการใช้วัสดุโทนสีธรรมชาติ 2.ออกแบบให้มีบรรยากาศของการพักผ่อน อบอุ่นเหมือนบ้าน ด้วยการจัดผังพื้นให้ส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ที่สอดคล้องกับกิจกรรมและความต้องการของผู้สูงอายุ 3.การออกแบบพื้นที่เชื่อมต่อระหว่างภายในและภายนอกด้วยพื้นที่สีเขียว โดยนำแสงธรรมชาติเข้ามาใช้ในอาคารมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ 4.การออกแบบเพื่อส่งเสริมการระบายอากาศโดยวิธีธรรมชาติ 5.ในประเด็นด้านการจัดการพื้นที่สำหรับผู้สูงอายุที่ด้องการผู้ดูแลพิเศษ ควรวางแผนและจัดเตรียมพื้นที่เพื่อรับรองสิ่งอำนวยความสะดวกไว้ในอนาคต อย่างไรก็ตามผู้สูงอายุกลุ่มนี้ต้องการ การปรับเปลี่ยนพื้นที่รวมถึงติดตั้งอุปกรณ์
เพื่อความปลอดภัย ที่วางเตียงสำหรับผู้ดูแลเพิ่มเติมเมื่อจำเป็น และสุดท้ายสิ่งสำคัญที่สุดคือ 6.หลักการออกแบบเพื่อทุกคน (Universal Design) โดยเฉพาะผู้สูงอายุกลุ่ม Active Aging ให้มีความปลอดภัยและสามารถดำเนินกิจกรรมในแต่ละวันได้อย่างสะดวกสบาย โดยให้กลมกลืนกับความงามในภาพรวมของการออกแบบจากข้อค้นพบข้างต้นทำให้เห็นแนวทางการออกแบบที่พักเพื่อสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุที่สามารถรองรับกลุ่ม Active Aging ที่สามารถใช้ชีวิตได้ด้วยตนเองอย่างมีความสุขโดยพึ่งพาผู้อื่นน้อยที่สุด
Type:
Discipline:
นวัตกรรมการออกแบบและการจัดการโรงแรมและอสังหาริมทรัพย์ แผน ก แบบ ก 2
Collections:
Total Download:
99