THE FOOD SAFETY MODEL OF COMMUNITY SUPPORTED AGRICULTURE IN CENTRAL THAILAND
รูปแบบชุมชนอาหารปลอดภัยของระบบการเกษตรที่สนับสนุนโดยชุมชนในพื้นที่ภาคกลาง
Author:
Advisor:
Subject:
Date:
12/7/2019
Publisher:
Silpakorn University
Abstract:
The purposes of this study were 1) to study the situation of food safety community of community supported agriculture and 2) to develop the model of the food safety community of two areas (the group of vegetable from producers for consumers and environment project, Danchang subdistrict, Suphanburi province and the group of organic farming in Bueng Cham Aor, Nong-sua subdistrict, Pathumthani province).
Using mixed methodology, the researcher integrated qualitative and quantitative approaches in the research. Data for qualitative method were collected by an in-depth interview, a participatory observation, and a triangulation while data for quantity method were collected by a questionnaire. The data were analyzed and inductively concluded. The inductive conclusion led to the model of the food safety community. Then the model was verified and commented by connoisseurs.
The results revealed that:
1. the situation of food safety community of community supported agriculture in central part of Thailand caused by the collaboration of producers and consumers with the same objectives including organic farming and community activities encouraging collaboration and learning in community benefited for them.
2. developing the model of the food safety community with system approach (input, process, and output) resulted from 1) factors and conditions 2) producers 3) consumers
4) a basis of organizing community activities 5) results of collaboration. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการณ์ชุมชนอาหารปลอดภัยของ
ระบบการเกษตรที่สนับสนุนโดยชุมชน และ 2) พัฒนารูปแบบชุมชนอาหารปลอดภัยของระบบ
การเกษตรที่สนับสนุนโดยชุมชน ใน 2 พื้นที่ คือ กลุ่มโครงการผักประสานใจผู้ผลิตเพื่อผู้บริโภค
และสิ่งแวดล้อม อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี และกลุ่มเกษตรอินทรีย์บึงชำอ้อ อำเภอหนองเสือ
จังหวัดปทุมธานี
ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ
วัตถุประสงค์ที่ 1 ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วม
และการตรวจสอบแบบสามเส้า ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม
วัตถุประสงค์ที่ 2 วิเคราะห์เนื้อหาโดยสร้างข้อสรุปอุปนัยมาใช้ในการจัดทำร่างรูปแบบ เสนอต่อ
ผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตรวจสอบและให้ความเห็นตลอดจนข้อเสนอแนะเพื่อนำเสนอผล
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพการณ์ชุมชนอาหารปลอดภัยของระบบการเกษตรที่สนับสนุนโดยชุมชน
ในพื้นที่ภาคกลางเกิดจากการรวมกลุ่มของผู้ผลิตและผู้บริโภคที่มีวัตถุประสงค์ร่วมกัน มีการผลิต
แบบอินทรีย์ การกระจายผลผลิตตามข้อตกลง มีกิจกรรมของชุมชนที่สร้างการมีส่วนร่วมและ
กระบวนการเรียนรู้ ทำให้ผู้ผลิตและผู้บริโภคได้รับประโยชน์จากการรวมกลุ่ม
2. รูปแบบชุมชนอาหารปลอดภัยของระบบการเกษตรที่สนับสนุนโดยชุมชน
ตามกรอบปัจจัยนำเข้า กระบวนการและผลลัพธ์ให้ความสำคัญกับ 1) ปัจจัยและเงื่อนไข 2) ผู้ผลิต
3) ผู้บริโภค 4) หลักการจัดกิจกรรมของชุมชน 5) ผลลัพธ์ที่ได้จากการรวมกลุ่ม
Type:
Discipline:
พัฒนศึกษา แบบ 2.1 ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
Collections:
Total Download:
94