Thieng Na: Change of Architectural Form with Changing Time
เถียงนา : รูปแบบสถาปัตยกรรมที่เปลี่ยนแปลงกับเวลาที่เปลี่ยนไป
Author:
Advisor:
Subject:
Date:
17/8/2018
Publisher:
Silpakorn University
Abstract:
This thesis aims to study the Isaan Huts (locally called Thieng Na; literally means rice field hut), is vernacular architecture in Northeast Thailand. This study focuses on education issue of change of Thieng Na in the form of architectural and social aspects and find the factors of change that occurred. In this study using data collecting the information, documents and data in the field. The data were analyzed in two parts, Content Analysis and Morphological Analysis.
Results from the study found that change of Thieng Na include
1. Changing of construction materials. Appear to use modern material together with the original material and new materials.
2. Changing of the architectural style, including the construction techniques, the rise of architectural elements and size.
3. Changing of value. The hut is built by personal decision from the location suitability, the necessity and the capital.
The reason of changing came from the development of materials manufacturing technology, useful life, the frequency and location. วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในวัฒนธรรมอีสาน ประเภทเถียงนา มุ่งเน้นศึกษาประเด็นการเปลี่ยนแปลงของเถียงนา ทั้งในด้านรูปแบบทางสถาปัตยกรรมและด้านสังคม รวมทั้งศึกษาและค้นหาเหตุปัจจัยของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น โดยใช้วิธีการศึกษาจากการรวบรวมข้อมูลเอกสารและข้อมูลภาคสนาม จากนั้นนำข้อมูลทั้งสองส่วนมาวิเคราะห์ข้อมูล ผ่านการวิเคราะห์รูปแบบ และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลจากการศึกษาพบว่า การเปลี่ยนแปลงเถียงนาอีสานที่ปรากฏในปัจจุบัน ได้แก่
1.การเปลี่ยนแปลงวัสดุก่อสร้าง ปรากฏการใช้วัสดุก่อสร้างสมัยใหม่อยู่ร่วมกับการใช้วัสดุแบบเดิม และมีการใช้วัสดุใหม่มาใช้ก่อสร้างเถียงนา
2.การเปลี่ยนแปลงรูปแบบทางสถาปัตยกรรม ซึ่งได้แก่ เทคนิคการก่อสร้าง การเพิ่มขึ้นขององค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม และขนาดเถียงนา
3.การเปลี่ยนแปลงค่านิยมการสร้างเถียงนา โดยการก่อสร้างเถียงนาใช้การตัดสินใจด้วยความเหมาะสมของที่ตั้ง ความจำเป็นในการใช้งาน และทุนทรัพย์ในการก่อสร้าง มากกว่าที่ทุกครอบครัวต้องมีเถียงนาของตนเอง เพราะต้องการการยอมรับจากสมาชิกในชุมชน
โดยสาเหตุที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมาจากปัจจัยการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตวัสดุการก่อสร้าง ปัจจัยจากอายุการใช้งาน ปัจจัยความถี่ในการใช้งานเถียงนา และปัจจัยของตำแหน่งที่ตั้ง
Type:
Discipline:
สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น แผน ก แบบ ก 2 ระดับปริญญามหาบัณฑิต
Collections:
Total Download:
186