Design Guidelines that Imply Identity of Kanchanaburi Province : A Case Study of Pasuk Hoste.
แนวทางการออกแบบโฮสเทลที่สื่อถึงอัตลักษณ์ของจังหวัดกาญจนบุรี: กรณีศึกษาโฮสเทลพาสุข
Author:
Advisor:
Date:
12/1/2018
Publisher:
Silpakorn University
Abstract:
The rapid growing of tourism industry may cause negative impacts to tourism destinations in terms of environmental, cultural and local ways of life. Therefore, promoting local identity of destination community is necessary. This study aimed to investigate Kanchanaburi’ identity and tourists’ needs and behavior in order to propose a hostel design guidelines that imply identity of Kanchanaburi Province. The data was collected using photographic interview to 12 key informants and questionnaire to tourists visiting Ampure Meaung Kanchanaburi (n=400). It was found that the most chosen photos that implying identity of Kanchanabuir included Moone Bridge, Railway and Railway Bridge, Malika City, River Kwae Resort and Alliances Cemetery. Nevertheless, additional service that the majority of tourists respondents need the most were a room that is safe and clean, parking space, a beautiful photo taking corner, a change to involve in local event and providing of local food.
The design guidelines for hostel that imply Kanchanaburi identity, besides 80% of guest rooms which private bath room, the hostel will provide clean room with keycard access for guest safety. The hostel decoration with local materials matching identity of Kanchanaburi such as Moone Bridge, Railway and Railway Bridge will apply to architectural such as staircase, lobby. One of the most importance factors support local cultural conservation is providing hostel guest an opportunity to involve in cultural event such as Tak-Bart. This will lead to guest recognition in local culture and will lead to their respect in local rules and regulations. การเติบโตอย่างรวดเร็วของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ย่อมส่งผลกระทบทางลบต่อจุดหมายปลายทางทางการท่องเที่ยง ทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมประเพณี และวิถีชุมชน จึงควรมีการส่งเสริมการท่องเที่ยวที่เน้นให้เห็นถึงอัตลักษณ์ที่แท้จริงของชุมชนของแหล่งท่องเที่ยว การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ของจังหวัดกาญจนบุรี และศึกษาพฤติกรรมและความต้องการของนักท่องเที่ยวต่อการเข้าพักโฮสเทล เพื่อนำเสนอแนวทางในการออกแบบโฮสเทลที่สื่อถึงความเป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดกาญจนบุรี เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ภาพถ่ายในการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 12 คน และใช้แบบสอบถามกับนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรีจำนวน 400 คน พบว่าภาพถ่ายที่สามารถสื่อถึงอัตลักษณ์ของกาญจนบุรีมากที่สุดได้แก่ ภาพถ่ายสะพานมอญ ภาพถ่ายสะพานรถไฟ/ทางรถไฟ ภาพถ่ายเมืองมัลลิกา ภาพถ่ายรีสอร์ทริมน้ำแควและภาพถ่ายสุสาน ซึ่งสามารถใช้เป็นส่วนประกอบในการออกแบบภายในของโฮสเทลได้ อย่างไรก็ดีสิ่งที่นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ต้องการเพิ่มเติมมากที่สุดได้แก่ห้องพักที่สะอาด ปลอดภัย มีที่จอดรถ มีมุมสวยให้ถ่ายรูป จัดให้ร่วมกิจกรรมประเพณีและให้บริการอาหารท้องถิ่น
แนวทางการออกแบบโฮสเทลที่สื่อถึงอัตลักษณ์ของจังหวัดกาญจนบุรี นอกจากมีการจัดแบ่งพื้นที่ให้มี ส่วนของที่พัก จะมีพื้นที่ประมาณ 3 ใน 4 ของพื้นที่ทั้งหมด โดยจะมีลักษณะเป็นห้องพักเดี่ยวและคู่ที่มีห้องน้ำในตัวร้อยละ 80 การตกแต่งห้องพักเป็นแบบเรียบง่ายใช้วัสดุในท้องถิ่น เน้นให้ห้องพักสะอาด และมีระบบรักษาความปลอดภัยโดยใช้กุญแจแบบคีย์การ์ด นำอัตลักษณ์ของสถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดกาญจนบุรี ได้แก่ สะพานมอญ ทางรถไฟ มาใช้ในการตกแต่ง สิ่งสำคัญประการหนึ่งของการช่วยส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณีและอัตลักษณ์ท้องถิ่น คือ จัดให้ผู้เข้าพักได้มีโอกาสร่วมกิจกรรมประเพณีของท้องถิ่น เข่น งานบุญ ตักบาตรตอนเช้า เป็นการปลูกฝังให้นักท่องเที่ยวให้ความเคารพวิถีชุมชนท้องถิ่น ต้องศึกษาข้อห้ามและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดทั้งนี้เพื่อความงดงามของวัฒนธรรมท้องถิ่นที่จะคงอยู่คู่เมืองไทยตลอดไป
Type:
Discipline:
นวัตกรรมการออกแบบและการจัดการโรงแรมและอสังหาริมทรัพย์ แผน ก แบบ ก 2
Collections:
Total Download:
82