A LEXICAL VARIATION AMONG THREE GENERATIONS OF PHUTHAI KAPONG LANGUAGE IN THAILAND AND THE LAO PEOPLE’S DEMOCRATIC REPUBLIC
การแปรการใช้ศัพท์ของคนสามระดับอายุในภาษาผู้ไทกะป๋องประเทศไทย และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Author:
Date:
17/8/2018
Publisher:
Silpakorn University
Abstract:
This Thesis aimed to study Lexical variation among three generations in Phuthai Kanpong Language, Thailand, and the Lao People's Democratic Republic. The researcher collected the data from 600 semantic units interviewing divided into 3 groups by age levels: The first group was 55-65 years old, the second group was 35-45 years old, and the third group was 15-25 years respectively. There were 60 interviewees; 30 from Thailand and 30 from Laos PDR.
The result of the analysis shows that a Lexical variation among three generations of Phuthai Kapong Language Thailand. It was found that 1) the same lexical was used in 3 generations found 3 forms. 2) the same lexical was used in 2 generations found 6 forms. and 3) the lexical was used in different ways in 3 generations found 1 form. While Laos was found a Lexical variation 2 classified that 1) the same lexical was used in 3 generations found 3 forms. and 2) the same lexical was used in 2 generations found 6 forms.
In terms of lexical variation in Thailand and Laos, it found there are vaiation in Phuthai Kapong vocabulary and other ones. In terms of variation of meaning, It found that there is variations in bothe widening and narrowing in meaning. Comparisons of the Lexical loss, it is found Phuthai Kapong vocabulary in Thailand more loss in Laos.
The Reinforcing factors affecting in the Lexical variation of Phuthai Kanpong Language It was found that 3 factors were 1. Language contact, 2. Language attitude and 3. Domains of Language choice. These factors have resulted in changes of Phuthai Kanpong Language. งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการแปรการใช้ศัพท์ของคนสามระดับอายุในภาษาผู้ไทกะป๋องประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้ศัพท์ของคนสามระดับอายุในภาษาผู้ไทกะป๋องประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผู้บอกภาษาชาวผู้ไทกะป๋องประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว แบ่งผู้บอกภาษาเป็น 3 ระดับอายุ คือ ระดับอายุที่ 1 อายุระหว่าง 55 – 65 ปี ระดับอายุที่ 2 อายุระหว่าง 35 – 45 ปี และระดับอายุที่ 3 อายุระหว่าง 15– 25 ปี เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บอกภาษาทั้งเพศชายและเพศหญิง ระดับอายุละ 10คน ประเทศไทยจำนวน 30 คน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 30 คน หน่วยอรรถที่ใช้ในการศึกษาจำนวน 600 หน่วยอรรถ
ผลการวิจัยพบว่า การแปรการใช้ศัพท์ของคนสามระดับอายุในภาษาผู้ไทกะป๋องประเทศไทยพบการใช้ศัพท์ 3 ประเภท 10 รูปแบบ ดังนี้ 1) ศัพท์ที่ผู้บอกภาษาทั้งสามระดับอายุใช้เหมือนกัน มี 3 รูปแบบ 2) ศัพท์ที่ผู้บอกภาษาสองระดับอายุใช้เหมือนกัน มี 6 รูปแบบ และ 3) ศัพท์ที่ผู้บอกภาษาทั้งสามระดับอายุใช้แตกต่างกัน มี 1 รูปแบบ ได้แก่ ขณะที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวพบการใช้ศัพท์ 2 ประเภท 9 รูปแบบ ดังนี้ 1) ศัพท์ที่ผู้บอกภาษาทั้งสามระดับอายุใช้เหมือนกัน มี 3 รูปแบบ 2) ศัพท์ที่ผู้บอกภาษาสองระดับอายุใช้เหมือนกัน มี 6 รูปแบบ
การแปรด้านรูปศัพท์ของคนสามระดับอายุทั้งในประเทศไทยและในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวพบการแปรด้านศัพท์ผู้ไทกะป๋องและศัพท์อื่นเช่นเดียวกัน การแปรด้านความหมายของคนสามระดับอายุพบการแปรความหมายกว้างออกและความหมายแคบเข้าทั้งประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เมื่อเปรียบเทียบการสูญศัพท์พบว่ามีการสูญศัพท์ในภาษาผู้ไทกะป๋องในประเทศไทยมากกว่าในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้ศัพท์ของชาวผู้ไทกะป๋องประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว นอกจากระดับอายุของผู้บอกภาษาแล้วพบปัจจัยเสริมที่ส่งผลต่อการใช้ศัพท์ทั้งหมด 3 ปัจจัย ได้แก่ 1.การสัมผัสภาษา 2.ทัศนคติต่อภาษา และ 3.แวดวงการเลือกใช้ภาษาของผู้พูด
Type:
Discipline:
ภาษาไทย แบบ 2.1 อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Collections:
Total Download:
119