POTENTIAL SPACE DESIGN FOR THAI WOMEN.
การออกแบบพื้นที่พัฒนาศักยภาพของผู้หญิงไทยเจนเนอเรชั่นวาย
Author:
Advisor:
Date:
12/7/2019
Publisher:
Silpakorn University
Abstract:
The objectives of this research were (1) to study behaviors and demands of Gen Y Thai women aged 20 - 36 years, (2) to study elements of co-creation open innovation, and (3) to present the design of the potential space development for Gen Y Thai women.
This research was a mixed methods research. For the methodology, the researcher performed a study by exploring Womenomic related documents, articles, concepts and research. Three role models of Gen Y were interviewed consisting of 1 co - creation expert and 1 exercise expert. Questionnaire was also used to study the demand behavior. The target group consisted of 46 people. The researcher also used questionnaire to study tastes with 105 target group. The data was then analyzed by content analysis and statistical method to summarize. The results of the study were used as a guideline for designing the potential space development of Gen Y Thai women in both the application and potential space.
From the results of the research, it was found that the key features of Gen Y Thai women were: (1) They were choosy; the easy access to information enabled this group of women study the information and take a long time to choose to first be satisfied before deciding to buy or use the service, (2) They were technologically fluent; this group grew up with technology that facilitates and supports their lifestyle, (3) They were social; this society is a group that is based on the social current and friends, likes to use good things to show them off to friends and society. (4) They were good performer; this group is a group that is able to excellently do many things at the same time, able to distinguish with good management and earnest, (5) They were successes seeker; this group want to succeed fast, believes that work is not everything of life and would not work lifelong so they look for a business to conduct and being ownership. This is because they believe that the success will be faster. Creating a space for this group requires lifestyle support and comfort, but increasing the potential is important. In the aspect of the demand for potential space development, it was found that most of them were interested and needed space to develop their potential to meet their lifestyles, which was divided into the application and potential space. The target group was most interested in the potential development of their work, followed by health and life, respectively. The design of the application and potential space development of Gen Y Thai will help develop the potential of Thai women in various areas, namely, time, working, and connection potential. From what have been mentioned, women business or service and related government agencies should concretely apply the knowledge to support and encourage Thai women to develop their potential that would also result in the country's development. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1)ศึกษาพฤติกรรม ความต้องการของผู้หญิงไทยเจนเนอเรชั่นวาย อายุ 20 - 36 ปี(2)เพื่อศึกษาองค์ประกอบของ Co - creation Open innovation และ(3) เพื่อนำเสนอผลงานการออกแบบพื้นที่พัฒนาศักยภาพของผู้หญิงไทยเจนเนอเรชั่นวาย
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน โดยวิธีการศึกษาในครั้งนี้ผู้วิจัยศึกษา ค้นคว้าจากเอกสาร บทความ แนวคิดและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ Womenomic มาวิเคราะห์และได้สัมภาษณ์ผู้หญิงเก่งที่เป็นต้นแบบของกลุ่มคนเจนเนอเรชั่นวาย 3 ท่าน ผู้เชี่ยวชาญทางด้าน Co - creation 1 ท่าน และผู้เชี่ยวชาญด้านการออกกำลังกาย 1 ท่าน ประกอบกับการใช้แบบสอบถามเพื่อศึกษาพฤติกรรม ความต้องการของกลุ่มเป้าหมายจำนวน 46 คน และแบบสอบถามเพื่อศึกษารสนิยมกับกลุ่มเป้าหมายจำนวน 105 คน จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาและวิธีทางสถิติ เพื่อสรุปผลและนำผลที่ได้จากการศึกษามาเป็นแนวทางในการออกแบบพื้นที่พัฒนาศักยภาพของผู้หญิงไทยเจเนอเรชั่นวาย ทั้งพื้นที่พัฒนาศักยภาพทางสื่อออนไลน์ และพื้นที่พัฒนาศักยภาพทางกายภาพ
จากผลการวิจัยพบว่า ลักษณะเด่นของกลุ่มผู้หญิงไทยเจนเนอเรชั่นวายนั้น มีลักษณะเด่นที่สำคัญคือ (1)ช่างเลือก ด้วยการเข้าถึงข้อมูลที่ง่าย ทำให้ผู้หญิงกลุ่มนี้จะศึกษาข้อมูลและเลือกอยู่นาน จนพอใจ แล้วจึงค่อยตัดสินใจซื้อหรือใช้บริการ(2)คล่องเทคโนโลยี เป็นกลุ่มที่เติบโตมากับเทคโนโลยี ที่คอยอำนวยความสะดวกและสนับสนุนการใช้ชีวิต (3) มีสังคม กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ยังอิงกระแสสังคมและเพื่อนฝูง ชอบใช้ของดี ที่ดูดี สามารถโชว์เพื่อน โชว์สังคมได้ (4) ทำงานเก่ง กลุ่มนี้ เป็นกลุ่มที่สามารถทำหลายสิ่งหลายอย่างพร้อมๆกันได้ แยกแยะเก่ง จัดการเก่ง ทะมัดทะแมง(5) อยากประสบความสำเร็จโดยเร็ว เชื่อว่างานไม่ใช่ทุกอย่างของชีวิต และจะไม่ยอมทำงานไปตลอดชีวิต จึงมองหาการทำธุรกิจ และการเป็นเจ้าของกิจการ เพราะเชื่อว่าจะประสบความสำเร็จได้เร็วกว่า ซึ่งการที่จะสร้างพื้นที่เพื่อรองรับกลุ่มนี้ จะต้องสนับสนุนการใช้ชีวิต และความสะดวกสบายแต่เพิ่มศักยภาพเป็นสำคัญ ซึ่งความต้องการพื้นที่พัฒนาศักยภาพนั้น ส่วนใหญ่มีความสนใจและต้องการพื้นที่พัฒนาศักยภาพของตนเองที่ตอบสนองการใช้ชีวิต ซึ่งแบ่งออกเป็น พื้นที่พัฒนาศักยภาพทางสื่อออนไลน์(Application) และพื้นที่พัฒนาศักยภาพทางกายภาพ(Potential Space) ซึ่งกลุ่มเป้าหมายมีความสนใจในเรื่องของการพัฒนาศักยภาพในด้านหน้าที่การทำงานมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านสุขภาพ และด้านการใช้ชีวิตตามลำดับ ซึ่งการออกแบบพื้นที่พัฒนาศักยภาพทางสื่อออนไลน์(Application)และพื้นที่พัฒนาศักยภาพทางกายภาพ(Potential Space)ของผู้หญิงไทยเจนเนอเรชั่นวายนั้น จะช่วยพัฒนาศักยภาพของผู้หญิงไทยในด้านต่างๆ คือ ศักยภาพทางด้านเวลา ศักยภาพทางด้านการทำงาน และศักยภาพทางด้าน Connection จากที่กล่าวไปเบื้องต้น หน่วยงานรัฐ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับผู้หญิง ธุรกิจหรือบริการต่างๆ ควรมีการนำองค์ความรู้ที่ได้ไปปรับใช้อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้ผู้หญิงไทยได้พัฒนาศักยภาพของตนเองอันจะเป็นผลในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป
Type:
Discipline:
ศิลปะการออกแบบ แผน ก แบบ ก 2 ระดับปริญญามหาบัณฑิต
Collections:
Total Download:
105