Local knowledge product design development for a sustainable Agritourism Case study: disignated area for sustainable tourism development in Loei Province
การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา: เขตพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนจังหวัดเลย
Author:
Advisor:
Subject:
Date:
17/8/2018
Publisher:
Silpakorn University
Abstract:
Abstract
According to a special area for sustainable tourism of Loei province, It is found that field corns are the most planted crops throughout the field, Only pods of corns are sold. However, prices fall and overflow. The scraps of agricultural materials are burned because of easy process and time saving. These cause pollution and the endless debtalso migration villager to the city.
This research aims to study and synthesizes knowledge from local wisdom in the study area, to develop the product and to study feasibility of production. The target groups are Thai tourists who have eco-tourism lifestyle. In primary care, the questionnaire was used with local philosophers’ experts and target groups in order to analyze the feasibility of the design approach. Second step, which is the descriptive analysis of data, and it was explored from research papers and related theories together with experiments to create new innovations. In addition, the agricultural materials and local wisdom were used to study and grow to promote agricultural tourism as well.
The result of this research showed that the peel of corns, a piece of agricultural materials, is hard and sticky when it was knitted. Moreover, it can be formed by using wicker techniques and weaving techniques with lace rope dyed from wood vinegar as a molding attachment to enhance the effectiveness of ant and insect protection. บทคัดย่อ
จากในเขตพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนจังหวัดเลยนั้นพบว่า พื้นที่ปลูกพืชไร่เชิงเดี่ยวมีการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มากเป็นอันดับแรก โดยส่วนที่ขายได้คือเฉพาะฝักเท่านั้น ทำให้เกิดภาวะผลผลิตราคาข้าวโพดตกและล้นตลาด ส่วนเศษวัสดุทางการเกษตรนั้นถูกเผาทิ้งเพราะเป็นวิธีที่ง่าย และประหยัดเวลา แต่ส่งผลให้เกิดมลพิษ พร้อมทั้งหนี้สินแบบไม่รู้จบ เป็นสาเหตุให้เกิดการทิ้งถิ่นฐานของคนในชุมชนเข้ามาทำงานในเมืองใหญ่ๆ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาและสังเคราะห์องค์ความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นในเขตพื้นที่ศึกษา ในด้านการสร้างสรรค์รูปแบบผลิตภัณฑ์จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร และการศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ดังกล่าว โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ในขึ้นปฐมภูมินั้นใช้เครื่องมือแบบสัมภาษณ์จากปราชญ์ชุมชน ผู้ทรงคุณวุฒิ และกลุ่มเป้าหมาย เพื่อวิเคราะห์ถึงสถานการณ์ความเป็นไปได้ของแนวทางการออกแบบ ส่วนข้อมูลทุติยภูมิได้จากเอกสารวิชาการ งานวิจัย รวมถึงทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาวิเคราะห์เชิงพรรณนา ร่วมกับการทดลองให้เกิดนวัตกรรมใหม่ โดยนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาศึกษาและต่อยอด ให้สามารถส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรได้อีกด้วย
ผลการทดลองพบว่าเปลือกข้าวโพดซึ่งเป็นเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรนั้นเมื่อนำมาถักลายสามเป็นเชือกแล้วนั้นมีความแข็งและเหนียว และสามารถขึ้นรูปโดยใช้เทคนิคจักสานและเทคนิคทอได้ ประกอบกับการใช้เชือกถักแหย้อมด้วยน้ำส้มควันไม้เป็นตัวยึดการขึ้นรูป ทำให้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานได้ดียิ่งขึ้น
Type:
Discipline:
ศิลปะการออกแบบ แผน ก แบบ ก 2 ระดับปริญญามหาบัณฑิต
Collections:
Total Download:
138