THE MEDIA DESIGN TO ENHANCE GENEROSITY, CASE STUDY: PUPILS AT WATSANGWORNPIMONPAIBOON SCHOOL, NONTHABURI
การออกแบบสื่อเพื่อส่งเสริมคุณธรรมด้านความมีน้ำใจ กรณีศึกษา: เด็กนักเรียนโรงเรียนวัดสังวรพิมลไพบูลย์ (จันทานุกูล) จังหวัดนนทบุรี
ผู้แต่ง:
หัวเรื่อง:
วันที่:
2/1/2019
สำนักพิมพ์:
Silpakorn University
บทคัดย่อ:
From a 2010 survey on the life assets of juveniles in Thailand, only 34% of juveniles were found to be generous, despite generosity being identified as the basic morality values by the Ministry of Education, as announced by the Head of the National Council for Peace and Order (NCPO) in No.6 of 12 values. Generosity is therefore an important moral that should be indoctrinated into juveniles.
The purpose of this research was: to find out the young pupils’ self-concept about generosity, to study character design and appropriate art activities for pupils to do and use all the existing relevant research to design media which enhances generosity. The study hypothesizes that the media and character designed from the young pupils’ self-concept in story books can motivate them to be generous with other people in real life. The researcher created an activity for young pupils to participate in and observed the pupils’ generous behavior.
The research found that through the activities and the media of art and design, three types of generosity were enhanced: 1) the generosity of sharing or giving, 2) the generosity of helping, and 3) the generosity of sacrifice. The media included a story book, a coloring book, the play story, and the generosity forwarding set “TomJaiDee: generosity bag.” From the observation with the 30 participants, it was found that the pupils were more generous 20 people (66.66 percent). From the comparison with the Executive Functions (EF) evaluation form on the generosity of young pupils, the scores were broken down as follows, from highest to lowest: practice group, basic group, and the self-regulation group. When they took part in activities together with the media they were enthusiastic to share or give, help others, and make sacrifices. All these media induced and encouraged them to present their generosity through recognition and repetition. The pupils also developed their comprehension and learned more about these aspects. Additionally, the characters as symbolic models from their self-concept could motivate them to be more generous with others in their daily lives. จากการสำรวจต้นทุนชีวิตของเด็กและเยาวชนทั่วประเทศไทยปี 2553 พบว่า มีความอ่อนแอเรื่องความมีน้ำใจเหลือเพียงร้อยละ 34 อีกทั้งยังถูกระบุอยู่ในคุณธรรมขั้นพื้นฐานของกระทรวงศึกษาธิการ และในข้อที่ 6 ของค่านิยมหลัก 12 ประการตามนโยบายคณะรักษาความสงบแห่งชาติอีกด้วย ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าความมีน้ำใจเป็นคุณธรรมที่สำคัญ และควรปลูกฝังให้กับเด็กและเยาวชนไทย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเพื่อ 1) ค้นหาอัตมโนทัศน์ด้านความมีน้ำใจของเด็กปฐมวัยระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 2) ศึกษากิจกรรมทางศิลปะและการออกแบบตัวละคร เพื่อหาวิธีที่เหมาะสมในการทำกิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัย ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 และ 3) นำผลการศึกษาทั้งหมดมาออกแบบสื่อเพื่อส่งเสริมคุณธรรมด้านความมีน้ำใจ สมมุติฐานการศึกษา คือสื่อและตัวละครในนิทานที่ออกแบบมาจากอัตมโนทัศน์ของเด็กเป็นแรงผลักดันให้เด็กมีน้ำใจกับคนอื่นๆ ในชีวิตจริง โดยผู้วิจัยได้สร้างกิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัย และมีการสังเกตพฤติกรรมความมีน้ำใจของเด็กร่วมด้วย
ผลการวิจัยพบว่า เมื่อผู้วิจัยได้ทำกิจกรรมและสร้างสื่อผ่านงานศิลปะและการออกแบบเพื่อส่งเสริมคุณธรรมด้านความมีน้ำใจ 3 ด้าน คือ 1. น้ำใจ…ใจแบ่งปัน 2. น้ำใจ…ใจช่วยเหลือ 3. น้ำใจ…ใจเสียสละ ประกอบไปด้วยหนังสือนิทาน สมุดระบายสี ของเล่นประกอบนิทาน และชุดอุปกรณ์ส่งต่อน้ำใจ “ต้อมใจดี: กระเป๋าแห่งน้ำใจ” จากการสังเกตเด็กมีการแสดงออกถึงความมีน้ำใจเพิ่มมากขึ้นจำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 66.66 และจากการเปรียบเทียบแบบประเมิน EF คุณธรรมด้านความมีน้ำใจของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังพบว่า หลังทำกิจกรรมเด็กมีคะแนนในแต่ละกลุ่มเพิ่มขึ้นทั้งหมด เรียงจากมากไปน้อยดังนี้ กลุ่มทักษะปฏิบัติ>กลุ่มทักษะพื้นฐาน>กลุ่มทักษะกำกับตนเอง เมื่อได้ทำกิจกรรมพร้อมสื่อ เด็กเกิดความกระตือรือร้นที่จะแสดงออกถึงการแบ่งปัน ช่วยเหลือ เสียสละ และมีความกล้าแสดงออกมากขึ้น สื่อทั้งหมดนี้ได้สร้างแรงจูงใจและกระตุ้นผ่านการจำ+การย้ำ เป็นการใช้ความรู้สึกกระตุ้นความรู้สึกเพื่อให้เกิดพฤติกรรมความมีน้ำใจ เด็กมีความเข้าใจและได้เรียนรู้เพิ่มขึ้น อีกทั้งตัวแบบสัญลักษณ์อย่างตัวละครในนิทานที่นำมาจากอัตมโนทัศน์ของเด็กปฐมวัย ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 เป็นแรงผลักดันให้เด็กมีน้ำใจกับคนอื่นๆ ในชีวิตจริงมากขึ้นด้วย
ประเภทผลงาน:
สาขาวิชา:
ศิลปะการออกแบบ แผน ก แบบ ก 2 ระดับปริญญามหาบัณฑิต
คอลเล็คชัน:
จำนวนดาวน์โหลด:
105