The Antecedents and Consequence of Emotional Exhaustion of Hospital Pharmacists in Central Region
ปัจจัยเชิงสาเหตุและผลลัพธ์ของความอ่อนล้าทางอารมณ์ของเภสัชกรโรงพยาบาล เขตภาคกลาง
Author:
Subject:
Date:
18/6/2021
Publisher:
Silpakorn University
Abstract:
Pharmacist is one of service provider with patients in the field of dispensing and recommending how to use the drug, which is considered to play an important role in the medical treatment. The objective of this study was to study the relationship among customer aggressive, emotional dissonant, emotional exhaustion, and well-being of hospital pharmacists. This study was the quantitative research. The questionnaire was employed as well as using a purposive sampling technique. The 380 samplings were the pharmacists who worked for the public or private hospitals in central region in Thailand. The results showed that the levels of customer aggressive, emotional dissonant and emotional exhaustion of the hospital pharmacists were high but the level of well-being was low. For hypothesis testing, the sixed hypotheses were supported: 1) the customers aggressive had a negative effect on well-being of hospital pharmacists; 2) the customers aggressive had a positive effect on emotional exhaustion of hospital pharmacists; 3) the customers aggressive had a positive effect on emotional dissonant of hospital pharmacists; 4) the emotional dissonant has a positive effect on emotional exhaustion of hospital pharmacists; 5) the emotional dissonant has a negative effect on well-being of hospital pharmacists; and 6) the emotional exhaustion has a negative effect on well-being of hospital pharmacists. The result of the Structural Equation Model using AMOS analysis program indicated that the model fit well to the empirical data by the indicators of CMIN/df = 2.328, RMR = 0.049, GFI = 0.960, CFI = 0.914, SRMR = 0.000, RMSEA = 0.045. The implication of this study will be the direction for the human resource manager to improve the well-being and retain the pharmacists in the hospital. เภสัชกรเป็นหนึ่งในอาชีพผู้ให้บริการกับผู้ป่วยในเรื่องการจ่ายยาและแนะนำวิธีการใช้ยา ซึ่งถือว่าเป็นอาชีพที่มีบทบาทสำคัญในหน่วยงานด้านการแพทย์ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความก้าวร้าวของลูกค้า ความอ่อนล้าทางอารมณ์ ความไม่สอดคล้องในการแสดงความรู้สึก และสุขภาวะของ เภสัชกรโรงพยาบาล การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยมีเครื่องมือวิจัยคือแบบสอบถาม มีกลุ่มตัวอย่าง คือ เภสัชกรโรงพยาบาลรัฐบาลและเอกชนบริเวณภาคกลางในประเทศไทย จำนวน 380 คน ซึ่งเป็นการสุ่มตัวอย่างแบบแบบเจาะจง ผลการศึกษาพบว่า ค่าระดับตัวแปรของความก้าวร้าวของลูกค้า ความอ่อนล้าทางอารมณ์ ความไม่สอดคล้องในการแสดงความรู้สึกอยู่ในระดับมาก แต่สุขภาวะของเภสัชกรโรงพยาบาลอยู่ในระดับน้อย ส่วนผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า มีการยอมรับสมมติฐาน ทั้ง 6 สมมติฐาน คือ 1) ความก้าวร้าวของลูกค้าส่งผลเชิงลบกับสุขภาวะของเภสัชกรโรงพยาบาล 2) ความก้าวร้าวของลูกค้าส่งผลเชิงบวกกับความอ่อนล้าทางอารมณ์ของเภสัชกรโรงพยาบาล 3) ความก้าวร้าวของลูกค้าส่งผลเชิงบวกกับความไม่สอดคล้องในการแสดงความรู้สึกของเภสัชกรโรงพยาบาล 4) ความไม่สอดคล้องในการแสดงความรู้สึกมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความอ่อนล้าทางอารมณ์ของเภสัชกรโรงพยาบาล 5) ความไม่สอดคล้องในการแสดงความรู้สึกส่งผลเชิงลบกับสุขภาวะของเภสัชกรโรงพยาบาล และ 6) ความอ่อนล้าทางอารมณ์ส่งผลเชิงลบกับสุขภาวะของเภสัชกรโรงพยาบาล ผลการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างจากการใช้โปรแกรม AMOS มีค่าผลของโมเดลที่เหมาะสมดี ซึ่งเป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ คือ CMIN/df = 2.328, RMR = 0.049, GFI = 0.960, CFI = 0.914, SRMR = 0.000, RMSEA = 0.045 ประโยชน์ที่ได้จากการศึกษาสามารถเป็นแนวทางให้ผู้บริหารหรือฝ่ายทรัพยากรมนุษย์นำไปใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาสุขภาวะและธำรงรักษาบุคคลากรด้านเภสัชกรในโรงพยาบาล
Type:
Discipline:
หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต แผน ก แบบ ก 2 ระดับปริญญามหาบัณฑิต
Total Download:
95