A Survey of Spatial Behaviors in Shared Public Spaces in a Buddhist and Muslim Community - Ban Hua Khao, Singhanakorn District, Songkhla Province
การสำรวจพฤติกรรมการใช้ที่ว่างสาธารณะร่วมกันในชุมชนไทยพุทธและไทยมุสลิม บ้านหัวเขา อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
Author:
Advisor:
Subject:
Date:
10/7/2020
Publisher:
Silpakorn University
Abstract:
Ban Hua Khao Community, in Hua Khao Subdistrict, Singhanakorn District, Songkhla Province, is a community of a population with two religions namely Buddhism and Islam, whose ways of life are ideally shared. The community has been rapidly developed in economic and social facets; the community thus begins to be sprawling and crowded and lacks planning. Therefore, it is interesting to study shared public spaces in the community, which are the elements that lessen the overcrowding, solve environmental problems, and provide recreation areas. The study investigates the physical aspects of the shared public spaces and spatial behaviors of the users. The methods used in the study include site surveys, behavioral observations, and interviews with the community informants. The research shows that four shared public spaces are located near secondary roads, are easily accessed, and have ample parking areas. Nearby building uses are residentials of fishermen and commercial areas. There are also a community market and an exercise and multi-purpose area located vendor kiosks serving users in a morning market and evening footballers. Most users prefer shaded areas such as a dome-market, patios, shadows under big trees. The common behaviors, of Buddhist Thais and Muslim Thais, in the shared public spaces, are the activities in the community market. The recreation activities, exercises, and meetings are found in adults and elderlies in the park, the exercise area, and the multi-purpose area near the market. พื้นที่ชุมชนบ้านหัวเขา ตำบลหัวเขา อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา เป็นชุมชนที่มีประชากรนับถือ 2 ศาสนา คือ ศาสนาพุทธและศาสนาอิสลาม ซึ่งมีการดำเนินชีวิตที่สอดคล้องร่วมกันได้อย่างดี อีกทั้งมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วในด้านเศรษฐกิจและสังคม จึงทำให้บริเวณภายในชุมชนนี้มีลักษณะการพัฒนาอย่างไร้ทิศทาง อาคารบ้านเรือนสร้างกันอย่างแออัดและขาดการวางแผน จึงมีความสนใจที่จะศึกษาเกี่ยวกับพื้นที่ว่างสาธารณะในชุมชนซึ่งจะเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่จะช่วยลดความแออัดของชุมชน แก้ไขปัญหาสภาพแวดล้อม และเป็นพื้นที่นันทนาการของคนในชุมชนได้อีกด้วย โดยจะศึกษากายภาพของพื้นที่สาธารณะและพฤติกรรมในการใช้พื้นที่ของคนในชุมชน ด้วยการสำรวจพื้นที่และใช้วิธีการสังเกตการณ์ การใช้พื้นที่ว่างสาธารณะในชุมชนร่วมกับการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญในพื้นที่เกี่ยวกับลักษณะทางกายภาพของที่ว่างสาธารณะในชุมชนไทยพุทธและไทยมุสลิมที่มีอยู่ ผลการศึกษาพบว่าด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพของพื้นที่ว่างสาธารณะในชุมชนทั้ง 4 แห่ง อยู่ใกล้กับถนนสายรอง เข้าถึงได้ง่าย มีที่จอดรถยนต์และมอเตอร์ไซค์ บริเวณใกล้เคียงมีการใช้ประโยชน์อาคารเพื่ออยู่อาศัยในหมู่บ้านชาวประมง และอาคารพาณิชย์ริมทางเป็นร้านค้า ด้านหน้าตลาดนัดชุมชน พื้นที่ออกกำลังกายและลานกิจกรรมมีร้านค้าแผงลอยตั้งชั่วคราวเพื่อค้าขายผู้ใช้งานทั้งตอนเช้าที่มาซื้อของกินของใช้ และช่วงเย็นที่มีคนมาเล่นฟุตบอล คนส่วนใหญ่เลือกใช้พื้นที่มีร่มเงา เช่น ใต้หลังคาโดมของตลาด ศาลานั่งพักใต้ต้นไม้ใหญ่เนื่องจากอากาศร้อน และพฤติกรรมการใช้พื้นที่ว่างสาธารณะในชุมชนของชาวไทยพุทธและไทยมุสลิม ใช้ร่วมกันบริเวณตลาดนัดชุมชน ส่วนการพักผ่อนผ่อนหย่อนใจ ออกกำลังกาย พบปะพูดคุยกัน กลุ่มผู้ใช้งานจะเป็นผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ในบริเวณสวนสาธารณะ พื้นที่ออกกำลังกายและลานกิจกรรมด้านข้างตลาดนัดชุมชน
Type:
Discipline:
การออกแบบชุมชนเมือง แผน ข ระดับปริญญามหาบัณฑิต
Total Download:
96