A STUDY OF SAMCHUK MARKET IDENTITY TO UNIQUE LOCAL SOUVENIR DESIGN
การศึกษาเอกลักษณ์ตลาดสามชุก เพื่อการออกแบบของที่ระลึกประจำชุมชน
Author:
Advisor:
Date:
18/6/2021
Publisher:
Silpakorn University
Abstract:
The purpose of this research are 1) to study about Sam Chuk old market identity and improve souvenir products with unique design 2) To design souvenir products from unique architecture of the Sam Chuk community 3) to assess the target audience's satisfaction with souvenir products that reflects the identity of the Sam Chuk market. A combined research method consisting of 2 parts. First past was qualitative research by using survey, observation and interview of local people and designer expertise. Analyze inductive data consistency from Primary and Secondary data. Second part was a quantitative research explore the target need by focus on tourist behavior whom had been traveled at Sam Chuk Market. There were 50 participants and the data were analyzed by percentage, average and standard deviation. According to result, it obviously shown that the ancient architecture was elegant and unique. There are 2 ways established; A) focusing on Packaging Structural and B) focusing on Graphic Design by taking ancient architecture unique as essential elements. Those two concepts lead to creation of 4 design guidelines, including A1 “Baan Sam Chuk” (Sam Chuk House) A2 “Saduak Muen Ban” (Convenient) B1 “Bantuek Kwam Song Jum” (Memory) B2 “Kwam Mai Mong Kol” (Auspicious)
The three design expertise choose B1 “Bantuek Kwam Song Jum” as high level of satisfaction to develop. There fore, the author has conducted online questionnaire with 50 participants about the satisfaction of souvenir product inspired by unique architecture of the Sam Chuk community. The result shows the high satisfaction level in terms of usability and marketing, with a mean of 4.59 and standard deviation is 0.46. In other words, souvenir products from unique architecture of the Sam Chuk community shows the high level of satisfaction. งานวิจัยครั้งนี้มีจุดเพื่อ 1) ศึกษาเอกลักษณ์ชุมชนตลาดร้อยปี สามชุก เพื่อหาแนวทางการออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกที่สะท้อนเอกลักษณ์ของตลาดสามชุก 2) เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกที่สะท้อนเอกลักษณ์ของตลาดสามชุก จากเอกลักษณ์ด้านสถาปัตยกรรมประจำชุมชน 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก ที่สะท้อนเอกลักษณ์ของตลาดสามชุก โดยงานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีอันประกอบด้วย 2 ส่วน โดยส่วนที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสำรวจ การสังเกต และการสัมภาษณ์ จากบุคคลในพื้นที่และผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ วิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัยหาความสอดคล้องเชื่อมโยง จากข้อมูลปฐมภูมิกับข้อมูลทุติยภูมิ ส่วนที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยแบบสอบถามสำรวจความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย โดยสร้างแบบสอบถามพฤติกรรมนักท่องเที่ยวในตลาดสามชุก จำนวน 50 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อหาแนวทางการออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกประจำชุมชน ตลาดสามชุก พบว่า เอกลักษณ์อันเด่นชัดของตลาดสามชุก คือ สภาปัตยกรรมท้องถิ่น ที่ยังคงความสวยงามเป็นเอกลักษณ์ จึงได้กำหนดแนวทางการออกแบบเป็น 2 แนวทางคือ A มุ่งเน้นการออกแบบด้านโครงสร้างของบรรจุภัณฑ์ และ B มุ่งเน้นการออกแบบด้านกราฟิก โดยยึดเอาเอกลักษณ์ด้านสถาปัตยกรรมเป็นต้นแบบ นำไปสู่การออกแบบ 4 แนวทาง ได้แก่ A1 “บ้านสามชุก” A2 “สะดวกเหมือนบ้าน” B1 “บันทึกของความทรงจำ” และ B2 “ความหมายมงคล”
ผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ท่าน มีความพึงพอใจในผลงาน B1 “บันทึกความทรงจำ” ระดับมาก โดยผู้วิจัยได้ปรับปรุง พัฒนา แบบ B1 “บันทึกความทรงจำ” และจัดทำแบบประเมินออนไลน์เพื่อประเมินความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมาย ที่มีต่อผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกที่สะท้อนเอกลักษณ์ของตลาดสามชุก จำนวน 50 คน สรุปได้ว่า กลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจในบรรจุภัณฑ์ของที่ระลึก “บันทึกของความทรงจำ” ทั้งด้านการใช้งานและด้านการตลาด ผลความพึงพอใจรวม อยู่ในระดับมากที่สุด สรุปได้ว่าความถึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกที่สะท้อนเอกลักษณ์ของตลาดสามชุกของกลุ่มเป้าหมาย ค่าเฉลี่ย 4.59 ค่า S.D. 0.46 อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด
Type:
Discipline:
การออกแบบผลิตภัณฑ์ แผน ข ระดับปริญญามหาบัณฑิต
Collections:
Total Download:
115