DEVELOPMENT OF LEARNING INSTRUCTIONAL MODEL BY USING STANDARDIZED PATIENT IN SIMULATION BASE IN COMMUNITY HEALTH NURSING
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ผู้ป่วยจำลองในสถานการณ์เสมือนจริงในการศึกษาการพยาบาลอนามัยชุมชน
Author:
Advisor:
Subject:
Date:
12/6/2020
Publisher:
Silpakorn University
Abstract:
This research and development aimed to: 1) study learning management situation in academic studies in community health nursing; 2) develop learning management model by using standardized patient in virtual situations in the study of community health nursing; and 3) try out and assess the effectiveness of learning management model using standardized patient in virtual situations in community health nursing studies. The research process consisted of 3 steps:
1) studying basic information about the teaching and learning situation of nursing students in the Community Health Nursing course, 2) developing a model of teaching and learning using Standardized patient in virtual situation by synthesizing the results from step, and 3) trying out and evaluating the effectiveness of the model of learning management by using standardized patient in virtual situations in the study of community health nursing. The sample consisted of 48 third year nursing students. A study conducted during January-December 2019. The research instruments were a questionnaire and
in-depth interview guideline for teachers and students, the model of learning management using standardized patient in virtual situations, and the effectiveness assessment of the learning management model using standardized patient in a virtual situation. The collected data were analyzed by content analysis, frequency, percentage, mean, standard deviation, and t-test.
The results of the research were as follows: 1) Real situation regarding teaching and learning in community health nursing education, this model has not been used. The lecturers used power points which was not interesting, not attractive to students, and unable to help students understand real situations in the community. Moreover,
it was difficult to apply gained theories and knowledge into practice. 2) A model of learning management, four hours of using standardized patient in virtual situations in Community Health Nursing course on Family Nursing and Home Health Services. The learning management model based on the study of social phenomena in accordance with the reality of the phenomena of the studied subject. The model of learning management using simulation patients in a virtual situation composed of three important components which were the learners, the learning management process, and the evaluation. The findings also showed that learning management model using standardized patient in a virtual situation increased learning effectiveness, students’ self-confidence, and satisfaction. 3 The results of trying out process and the effectiveness of the model showed that the average post- test of the achievement score (µ = 12.56, σ = 2.14) was higher than the pre-test (µ = 10.83, σ = 2.18). The skills at home nursing practice had the expertise, accounting for 75 percent and the confidence in the nursing home operation was at a high level. (µ = 4.04, σ = 0.49. The students’ satisfaction of the model of learning management by using standardized patient in a virtual situation was found at a high level (µ = 4.34, σ = 0.62) การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการณ์การจัดการเรียนรู้ในการศึกษาการพยาบาล
อนามัยชุมชน 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ผู้ป่วยจำลองในสถานการณ์เสมือนจริงในการศึกษาการพยาบาลอนามัยชุมชน
และ 3) เพื่อทดลองใช้และประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ผู้ป่วยจำลองในสถานการณ์เสมือนจริงในการศึกษาการพยาบาลอนามัยชุมชน กระบวนการวิจัยมี 3 ขั้นตอนประกอบด้วย 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน สภาพการณ์การเรียนการสอนของ
นักศึกษาพยาบาลในรายวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน 2) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ผู้ป่วยจำลองในสถานการณ์
เสมือนจริงโดยการสังเคราะห์ผลจากขั้นตอนที่ 1 และ 3) ทดลองใช้และประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้
ผู้ป่วยจำลองในสถานการณ์เสมือนจริงในการศึกษาการพยาบาลอนามัยชุมชน ในนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 จำนวน 48 คน เครื่องมือ
ที่ใช้ประกอบด้วยแบบสอบถามและแนวทางสัมภาษณ์เชิงลึกของอาจารย์และนักศึกษา รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ผู้ป่วยจำลอง
ในสถานการณ์เสมือนจริง และแบบประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ผู้ป่วยจำลองในสถานการณ์เสมือนจริง
ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือน มกราคม-ธันวาคม 2562 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา หาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและ
ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของประชากรและการทดสอบที
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการณ์จริงเกี่ยวกับการเรียนการสอนในการศึกษาการพยาบาลอนามัยชุมชน
ในปัจจุบันยังไม่มีการใช้ผู้ป่วยจำลองในสถานการณ์เสมือนจริงในการศึกษาการพยาบาลอนามัยชุมชน มีเพียงการบรรยายประกอบ power point รูปแบบที่ใช้อยู่ไม่น่าสนใจ ไม่ดึงดูดใจในการเรียน เข้าใจยากเพราะไม่เห็นภาพในชุมชน อีกทั้งยังไม่สามารถนำความรู้
ที่ได้ในภาคทฤษฎีไปใช้ในการฝึกปฏิบัติได้จริง 2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ผู้ป่วยจำลองในสถานการณ์เสมือนจริงในรายวิชา
การพยาบาลอนามัยชุมชน เรื่องการพยาบาลครอบครัวและการให้บริการสุขภาพที่บ้าน ใช้เวลา 4 ชั่วโมง การสร้างต้นแบบรูปแบบ
การเรียนการสอนโดยใช้ผู้ป่วยจำลองในสถานการณ์เสมือนจริงของนักศึกษาพยาบาลรูปแบบการจัดการเรียนรู้จากการศึกษา
ปรากฏการณ์ทางสังคมโดยลักษณะสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของปรากฏการณ์ของเรื่องที่ศึกษา รูปแบบจัดการเรียนรู้
โดยใช้ผู้ป่วยจำลองในสถานการณ์เสมือนจริงมีองค์ประกอบที่สำคัญคือ ผู้เรียน ผู้สอน กระบวนการจัดการเรียนรู้และการประเมินผล สามารถเพิ่มประสิทธิผลในการเรียน เพิ่มทักษะการปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชนและสร้างความมั่นใจ ความพึงพอในการศึกษา
การพยาบาลอนามัยชุมชนได้ 3) ผลการทดลองใช้และประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ผู้ป่วยจำลองในสถานการณ์
เสมือนจริงพบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน post test (µ = 12.56, σ = 2.14) สูงกว่า pre test (µ = 10.83,
σ = 2.18) โดยที่ค่าที = -5.307 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ทักษะการปฏิบัติการพยาบาลเยี่ยมบ้าน มีความชำนาญ คิดเป็นร้อยละ
75 ความมั่นใจในการปฏิบัติการพยาบาลเยี่ยมบ้านภาพรวมอยู่ในระดับมาก (µ = 4.04, σ = 0.49) และความพึงพอใจของนักศึกษา
ในรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ผู้ป่วยจำลองในสถานการณ์เสมือนจริงในการศึกษาการพยาบาลอนามัยชุมชน อยู่ในระดับมาก
(µ = 4.34, σ = 0.62) ผลจากการศึกษาในครั้งนี้จะนำไปใช้เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในนักศึกษาพยาบาลในหน่วยการเรียนรู้อื่น ๆ
หรือในหมวดวิชาอื่นเพื่อให้เกิดประโยชน์กับนักศึกษา และอาจารย์ในการจัดการเรียนการสอนต่อไป
Type:
Discipline:
พัฒนศึกษา แบบ 2.1 ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
Collections:
Total Download:
144