IMPACT OF ELECTRIC VEHICLE ON AUTO PARTS INDUSTRY
การศึกษาผลกระทบของรถยนต์พลังงานไฟฟ้าต่ออุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์
Author:
Advisor:
Subject:
Date:
10/7/2020
Publisher:
Silpakorn University
Abstract:
The objective of this research was to study the impact of electric vehicle (EV) on Thailand based brake pad manufacturers. The EV braking system and its following impact were studied. Five Force Model was used to evaluate the secondary data. Then, the questionnaire was established as a tool of this research by using knowledge from previous step and evaluated thoroughly by 3 experts in brake pad industry. The result showed 11 manufacturers kindly participated in this questionnaire. The majority of manufacturers operated in replacement equipment market (REM) or aftermarket, up to 72.7%. There manufacturers were not knowledgeable in EV braking system which led the research and development of aftermarket brake pad to the inconsistent way with EV braking system. Also, these manufacturers were operating under an unclear product development with a lack of awareness among the decreasing aftermarket brake pad need. Moreover, we also provided the suggestions for the sustainable development of brake pad manufacturer by SWOT analysis and TOWS matrix in the end of this research altogether. งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาผลกระทบของรถยนต์ไฟฟ้าที่มีต่ออุตสาหกรรมการผลิตผ้าเบรกรถยนต์ภายในประเทศ ซึ่งทางผู้วิจัยได้เริ่มจากการศึกษาระบบเบรกของรถยนต์พลังงานไฟฟ้าและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ผลิตผ้าเบรกรถยนต์เมื่อจำนวนรถยนต์พลังงานไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น จากนั้นจึงได้นำความรู้ที่ได้มาวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้นโดยทฤษฎีแบบจำลองแรงผลักดัน 5 ประการ (Five Force Model) และทำการสร้างแบบสอบถามเพื่อสำรวจสถานการณ์ปัจจุบันของผู้ผลิตผ้าเบรกรถยนต์ ซึ่งกลุ่มประชากรตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มผู้ผลิตผ้าเบรกที่มีรายชื่อในสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทยและสมาคมผู้ประกอบการชิ้นส่วนยานยนต์และอะไหล่ทดแทนไทยรวมทั้งสิ้น 11 แห่ง และแบบสอบถามนี้ได้ผ่านการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านอุตสาหกรรมการผลิตผ้าเบรก จากผลสำรวจด้วยแบบสอบถาม พบว่า ผู้ผลิตผ้าเบรกรถยนต์ตอบแบบสอบถามมีทั้งหมด 11 แห่ง ซึ่งให้ค่าความเชื่อมั่นในระดับร้อยละ 100 โดยสถานประกอบการส่วนใหญ่ยังไม่มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับระบบเบรกของรถยนต์พลังงานไฟฟ้ามากเท่าที่ควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ผลิตในกลุ่มตลาดอะไหล่ทดแทนที่ยังไม่มีแนวทางการวิจัยและพัฒนาที่ชัดเจนและไม่ตระหนักถึงความต้องการของตลาดอะไหล่ทดแทนที่มีแนวโน้มลดลงจากการพัฒนาเทคโนโลยีระบบเบรกในรถยนต์พลังงานไฟฟ้า นอกจากนั้น ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลปฐมภูมิที่ได้จากการสำรวจเชิงลึกของผู้ผลิตผ้าเบรกรถยนต์ในครั้งนี้มาวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของบริษัทโดยใช้ SWOT Analysis และ TOWS Matrix เพื่อเป็นการเสนอแนะแนวทางการวิจัยและพัฒนาผ้าเบรกสำหรับสถานประกอบการเพื่อใช้ในการพัฒนาและปรับปรุงผลิตภัณฑ์ต่อไป
Type:
Discipline:
การจัดการงานวิศวกรรม แผน ก แบบ ก 1 ปริญญามหาบัณฑิต
Collections:
Total Download:
58