Guideline Participation Learning Enhancement for Homeless Protection of Social Development and Human Security Volunteers in 21st century
แนวทางส่งเสริมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในศตวรรษที่ 21
Author:
Advisor:
Subject:
Date:
12/6/2020
Publisher:
Silpakorn University
Abstract:
The purpose of this Mix method research were : 1) To study the condition and needs of Participation learning enhancement for Homeless protection of Social Development and Human Security Volunteers in 21st century. and 2) To Guideline Participation learning enhancement for Homeless protection of Social Development and Human Security Volunteers in 21st century. The sampling of this reserch 332 people of Social Development and Human Security Volunteers (SDHSV) of devided in 4 regions consist of Chingrai province in Northern , Sisaket province in Northeastern , Prachuapkhirikhan province in Central and Songkla province in Southern . The Reseach instrument Validity were 0.6-1.0 And reliability were 0.95. The Descriptives statistics Data Analyzed were Freqeuncy , Percentage , Mean and Standard diviation. In addition , Data survey by Interview and Focus group Concern of SDHSV and Homeless protection Which uses Content analyzed.
The result were as follows 1. The Condition of Participation learning for Homeless protection of Social development and Human security Volunteers , It was found at the Low Level . And The needs of Participation learning for Homeless protection of Social development and Human security Volunteers , were at the High Level. 2. Participation learning enhancement for Homeless protection of Social Development and Human Security Volunteers in 21st century consist of (1) Community (SDHSV) (2) Readiness to learn (3) Learning Network (4) Empowerment (5) Experience and (6) Group / Team Learing . Include of Participation Learning Step and Process such as (1) Planning Sharing (2) Action (3) Benefit and Value (4) Evaluation การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพ และความต้องการส่งเสริมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 และ 2) เสนอแนวทางส่งเสริมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อการคุ้มครอง คนไร้ที่พึ่งของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) จำนวน 332 คน แบ่งเป็น 4 ภูมิภาคๆ ละ 1 จังหวัด ดังนี้ ภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดเชียงราย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดศรีสะเกษ ภาคกลาง ได้แก่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดสงขลา เครื่องมือในการดำเนินการวิจัย คือ แบบสอบถามมีค่าความเที่ยงตรงรายข้อระหว่าง 0.6-1.0 และหาความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน นอกจากนี้เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ และสนทนากลุ่ม กับผู้ที่เกี่ยวข้องด้าน อพม. และการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ซึ่งใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า 1. สภาพการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 ภาพรวมอยู่ในระดับน้อย และมีความต้องการส่งเสริมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 ภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. แนวทางส่งเสริมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย (1) ชุมชน (อพม.) (2) มีความพร้อมในการเรียนรู้ (3) สร้างเครือข่ายการเรียนรู้ (4) เสริมพลังทางความคิด (5) ใช้ประสบการณ์ (6) เรียนรู้เป็นกลุ่ม/ทีม รวมถึงมีขั้นตอนและกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ได้แก่ (1) การแลกเปลี่ยนความคิดการวางแผน (2) การปฏิบัติการ (3) การรับประโยชน์ คุณค่า และ (4) การประเมินผล
Type:
Discipline:
การศึกษาตลอดชีวิตและการพัฒนามนุษย์แบบ 2.1 ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Collections:
Total Download:
64