PIANO RECITAl BY NADA KONGKHAKATE
การศึกษาการแสดงเดี่ยวเปียโน โดย ณฎา คงคาเขตร์
Author:
Subject:
Date:
2/1/2019
Publisher:
Silpakorn University
Abstract:
The Objective of this research was to study background of the pieces and solve the technical problems, to improve performance. The research gather various piano technique and method from textbook. Then used these method to practice. The researcher selected 2 pieces that came from two different eras, which were 1. Intermezzo Op.117 Composer by Johannes Brahms 2. Suite Bergamasque by Claude Debussy. These pieces are monumental in the piano repertoire. Researcher had the researcher also presented Composer’s biography, pieces background, form and analysis, technique, problems, methods, suggestions and practice methods of each pieces. Four technical problems presented as followed 1. Voicing technical 2. Octaves technic 3. Shift and jumps technic 4.Pedal technic.
After gathering in Formation on different techniques and problems, Researcher had understand the problems in both pieces, and had a better performance, which researcher had take problem to adviser to gain better knowledge. การศึกษาการแสดงเดี่ยวเปียโน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทเพลง และ การแก้ปัญหาในเรื่องของเทคนิคการบรรเลงบทเพลงต่าง ๆ เพื่อที่จะพัฒนาทักษะในการเล่นให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยรวบรวมเทคนิค และ วิธีการแก้ปัญหาต่าง ๆ จากหนังสือที่เกี่ยวข้อง จากนั้นจึงได้นำข้อมูลทั้งหมดมาปรับใช้กับวิธีการฝึกซ้อม โดยผู้วิจัยได้ทำการคัดเลือก 2 บทเพลงที่ควรค่าแก่การนำมาศึกษา โดยเลือกจากยุคสมัยที่แตกต่างกัน ได้แก่ 1. Intermezzo Op.117 ประพันธ์โดย โยฮันเนส บรามส์ (Johannes Brahms) 2. Suite Bergamasque ประพันธ์โดย โคลด เดอบุสซี (Claude Debussy) ทั้ง 2 บทเพลงนี้เป็นบทเพลงที่มีชื่อเสียง และ ควรค่าแก่การนำมาศึกษา ซึ่งผู้วิจัยได้นำเสนอประวัตินักประพันธ์ ประวัติบทเพลง สังคีตลักษณ์ เทคนิค ปัญหาที่พบ วิธีการแก้ปัญหา ข้อเสนอแนะ และ แนวทางการฝึกซ้อมในแต่ละบทเพลง โดยเทคนิคที่มีปัญหาส่วนใหญ่ที่ผู้วิจัยรวบรวมสามารถแบ่งออกเป็น 4 ข้อหลัก ดังนี้ 1. เทคนิกการเล่น Voicing 2. เทคนิคการเล่นคู่แปด (Octaves) 3. เทคนิคการย้าย และ กระโดด (Shift and jumps) 4. เทคนิคการเหยียบเพเดิล (Pedal) ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นเทคนิคที่สำคัญสำหรับการศึกษาการแสดงเดี่ยวเปียโน
หลังจากที่ผู้วิจัยได้ทำการรวบรวมเทคนิค และ การแก้ปัญหาในการบรรเลงพบว่า ผู้วิจัยมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางในการแก้ปัญหาที่พบในบทเพลงทั้ง 2 เพลงที่ได้กล่าวมาข้างต้น และ มีทิศทางการบรรเลงที่ดีขึ้น โดยผู้วิจัยได้นำวิธีการแก้ปัญหา และ วิธีการฝึกซ้อม มาสอบถามกับอาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อให้แนวทางนี้สอดคล้องกันมากยิ่งขึ้น
Type:
Discipline:
สังคีตวิจัยและพัฒนา แผน ก แบบ ก 2 ระดับปริญญามหาบัณฑิต
Collections:
Total Download:
136