21ST CENTURY SKILLS AFFECTING ACADEMIC LEADERSHIP OF SCHOOL ADMINISTRATOR IN BASIC EDUCATION SCHOOL UNDER SAMUTSAKHON PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE
ทักษะในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร
Author:
Advisor:
Date:
18/6/2021
Publisher:
Silpakorn University
Abstract:
This study aims to determine 1) the 21st century skills of school administrator under Samutsakhon Primary Educational Service Area Office 2) Academic leadership of school administrator under Samutsakhon Primary Educational Service Area Office. 3) The 21st century skills affecting academic leadership of school administrator under Samutsakhon Primary Educational Service Area Office. The samples was 86 schools under Samutsakhon Primary Educational Service Area Office. The respondent were a school director or a deputy director school, and a teacher, with a total of 172 respondents. The questionnaire about the 21st century skills based on Bellanca and Brandt's concept and the academic leadership based on Hallinger and Murphy's concept was the instrument of this study. The statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, and stepwise multiple regression analysis. The study shows that 1) The 21st century skills of school administrator under Samutsakhon Primary Educational Service Area Office, overall and each aspect at the highest level. Ranking from the highest arithmetic mean to the lowest were: curiosity and imagination, creativity and innovation, cross-cultural and awareness, critical thinking and problem solving, computing and ICT literacy, communication and collaboration, corporate and entrepreneurial spirit. 2) Academic leadership of school administrator under Samutsakhon Primary Educational Service Area Office were at the highest level overall and each aspect. Ranking from the highest arithmetic mean to the lowest were: defining the school goals, managing the instructional program and promote school climate. 3) The 21st century skills affecting academic leadership of school administrator Under the Office of Samutsakhon Primary Educational Service Area, it comprises cross-cultural and awareness, Computing and ICT literacy, Communication and collaboration, curiosity and imagination and creativity and innovation skills as a whole were statistically significant at the .05 level, with a multiple correlation coefficient of 0.866, able to predict 75.10% of the academic leadership of school administrators as a whole. The regression equation for prediction is as follows: (Ytot) = 0.365 + 0.254 (X7) + 0.209 (X1) + 0.190 (X5) + 0.150 (X2) + 0.128 (X4). การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) ทักษะในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร 2) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร 3) ทักษะในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ สถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร จำนวน 86 แห่ง ผู้ให้ข้อมูล สถานศึกษาละ 2 คน ได้แก่ 1) ผู้อำนวยการสถานศึกษา หรือรองผู้อำนวยการสถานศึกษา หรือรักษาการในตำแหน่ง จำนวน 1 คน 2) ครูผู้สอน จำนวน 1 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 172 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับทักษะในศตวรรษที่ 21 ตามแนวคิดของเบลลันกาและแบรนต์ และแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้นำทางวิชาการตามแนวคิดของฮอลลิงเจอร์และเมอร์ฟี่ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหูคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร โดยภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ทักษะความสนใจใคร่รู้มีจินตนาการ ทักษะความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม ทักษะการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมและการสนใจต่อโลก ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณการแก้ปัญหา ทักษะด้านคอมพิวเตอร์และการรู้เท่าทันเทคโนโลยี ทักษะในการสื่อสารและร่วมมือ และทักษะการคิดในเชิงธุรกิจและทักษะประกอบการ ตามลำดับ 2) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อย ดังนี้ การกำหนดภารกิจของสถานศึกษา การจัดการเรียนการสอน และการส่งเสริมบรรยากาศด้านวิชาการ ตามลำดับ 3) ทักษะในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร ประกอบด้วย ทักษะการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมและการสนใจต่อโลก ทักษะด้านคอมพิวเตอร์และการรู้เท่าทันเทคโนโลยี ทักษะในการสื่อสารและร่วมมือ ทักษะความสนใจใคร่รู้มีจินตนาการ และทักษะความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม โดยภาพรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ เท่ากับ 0.866 สามารถทำนายภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวม ได้ร้อยละ 75.10 สามารถเขียนเป็นสมการถดถอยสำหรับการทำนาย ได้ดังนี้ (Ytot) = 0.365 + 0.254 (X7) + 0.209 (X1) + 0.190 (X5) + 0.150 (X2) + 0.128 (X4)
Type:
Discipline:
การบริหารการศึกษา แผน ก แบบ ก 2 ระดับปริญญามหาบัณฑิต
Collections:
Total Download:
426