THE APPLICATION OF THE BOARD-GAME IN EMPLOYEE TRAININGAFFECTING ON SYSTEMATIC THINKING AND LEARNINGAMONG SUPERVISORS
การประยุกต์ใช้บอร์ดเกมในการฝึกอบรมที่ส่งผลต่อความคิดเชิงระบบและการเรียนรู้ของหัวหน้างาน
Author:
Subject:
Date:
18/6/2021
Publisher:
Silpakorn University
Abstract:
The objectives of this research were 1) To study the effect of the application of the board-game in employee training on supervisor’s systematic thinking and 2) To study the effect of the application of the board-game in employee training on supervisor’s learning. The population was 48 supervisors of Thai AirAsia, all of which were trained in ‘Systematic Thinking Development’ training program. 4 research tools were used for this research which consists of 1) The systematic thinking assessment, with IOC value equal to 0.6-1.0 and the reliability of 0.96, 2) In-depth Interview questions, with IOC value equal to 0.6-1.0, 3) A 21-Day reflective thinking note. and 4) Field note. The analytical mechanisms of frequency, percentage, mean, standard deviation, Paired t-test and content analysis were used for this research’s analysis.
The result revealed that 1) The application of the board-game in employee training has affected on the systematic thinking development of supervisors which was significantly increased at 0.05 level, immediately after training. In the follow-up assessment 21 days after training, the systematic thinking of supervisors was significantly increased at 0.05 level comparing to both of pre-training and post-training assessment. And The application of the board-game in employee training has constructed learnings among supervisors which led to the behavioral changes; in 3 perspectives; Notion, Emotion and Action that reflected in the key supervisor’s roles and responsibilities. การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาผลการประยุกต์ใช้บอร์ดเกมในการฝึกอบรมที่มีต่อความคิดเชิงระบบของหัวหน้างาน และ 2. เพื่อศึกษาผลการประยุกต์ใช้บอร์ดเกมในการฝึกอบรมที่มีต่อการเรียนรู้ของหัวหน้างาน ประชากรเป็นหัวหน้างานของสายการบินไทยแอร์เอเชีย จำนวน 48 คน ที่เข้าอบรมในหลักสูตรการพัฒนาความคิดเชิงระบบ เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบวัดความคิดเชิงระบบ มีค่า IOC = 0.6-1.0 ความเชื่อมั่น = 0.96 2) แนวคำถามสัมภาษณ์เชิงลึก มีค่า IOC = 0.6-1.0 3) บันทึกสะท้อนคิด 21 วันหลังการฝึกอบรม และ 4) บันทึกของนักวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ (Frequency), ค่าร้อยละ (%), ค่าเฉลี่ย (σ), ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (μ), การทดสอบ Paired t-test และการวิเคราะห์เนื้อหา และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า 1) การประยุกต์ใช้บอร์ดเกมในการฝึกอบรมส่งผลให้เกิดการพัฒนาความคิดเชิงระบบของหัวหน้างาน โดยหลังการฝึกอบรมทันที หัวหน้างานมีการพัฒนาความคิดเชิงระบบสูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อมีการติดตามผล 21 วันหลังการฝึกอบรม หัวหน้างานมีการพัฒนาความคิดเชิงระบบสูงกว่าก่อนเข้ารับการฝึกอบรม และหลังการฝึกอบรมทันทีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ2) การประยุกต์ใช้บอร์ดเกมในการฝึกอบรมส่งผลให้หัวหน้างานเกิดการเรียนรู้ และปรับเปลี่ยนกรอบความคิดที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงพฤติกรรมใน 3 มิติ ประกอบด้วย การเปลี่ยนแปลงด้านความคิด การเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจ และการแปลงด้านการกระทำ ซึ่งสะท้อนในบทบาทหน้าที่หลักของหัวหน้างาน
Type:
Discipline:
การศึกษาตลอดชีวิตและการพัฒนามนุษย์แบบ 2.1 ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Collections:
Total Download:
155