A Model for Encouraging the Competencies needed in the 21st century to the performance of Human Resources Personnel of college affiliated to the Praboromarajchanok Institute
รูปแบบการส่งเสริมสมรรถนะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ต่อการปฏิบัติงานนักทรัพยากรบุคคลของวิทยาลัยสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก
Author:
Advisor:
Subject:
Date:
18/6/2021
Publisher:
Silpakorn University
Abstract:
The purpose of this Research and Development were to 1) study the conditions and needs of encouraging competencies needed in the 21st century to the performance of human resources personnel of college affiliated to the Praboromarajchanok Institute 2) design and develop the model of encouraging competencies needed in the 21st century to the human resources personnel of college affiliated to Praboromarajchanok Institute. 3) evaluate the effectiveness of performance practiced from the Model of encouraging competencies needed in the 21st century of the human resources personnel of college affiliated to Praboromarajchanok Institute. The samples in this study were purposive selected 106 staffs from personnel and stakeholders involved in Human resource management from 41 colleges affiliated to the Praboromarajchanok Institute. The instruments using in this study were questionaires for attitude test, pre-posttest, satisfaction test, behaviour evaluation test, data from superior interview, activities management manual and model of competencies encourage needed in the 21st century. The data were statistics analysis mean , standard deviation (S.D.), content analysis and t-test dependent.
The research results were :
1) Problems and Needs condition of competencies encourage needed in the 21st century to the performance of human resources personnel of college affiliated to Praboromarajchanok Institute were as follows: human relations performance (mean = 4.02, S.D. = 0.83) and the need for enhancing personal competency were at a high level (mean = 4.19, S.D. = 1.03), creativity (mean = 3.65, S.D. = 0.80) and the overall mean of the need for creative competency were at a high level (mean = 4.17, S.D. = 0.89), self-directed learning (mean = 3.54, S.D. = 0.86) and the overall mean of the need to promote self-directed learning competency were at a high level (mean = 4.08, S.D. = 0.91), the analytical thinking for problem solving (mean = 3.49, S.D. = 0.80) was at the moderate level but the overall mean of the need to promote analytical thinking for problem solving was at a high level (mean = 4.12, S.D. = 0.91). And issue problems found in the information synthesis classification were: the readiness of the organisation, the readiness of personnel and learning skills. 2) design and develop the model of encouraging competencies needed in the 21st century to the human resources personnel of college affiliated to Praboromarajchanok Institute which were consisted of (1) concept (2) principles (3) goals (4) content of learning (having human relations with performance, self-directed learning, analytical thinking to solve problems and creativity) (5) process of competency promotion (6) learning method, the use of materials and learning resources (7) period of time operation and (8) evaluation measurement. 3) evaluate the effectiveness of performance practiced from the Model of encouraging competencies needed in the 21st century of the human resources personnel of college affiliated to Praboromarajchanok Institute, the result found that the effectiveness of performances after activities practicing were higher than before a model of encouraging was implemented with the level of statistical significance at 0.05, dependent t-test = 9.059 and the efficient index of process (E1/E2) = 83/90.17 respectively.
While data from superior interviews appeared that the participants who joined the model of encouraging competencies needed in the 21st century practicing activities had improved their performance in human relations, self-directed learning, the analytical thinking for problem solving and higher creativity which could be well applied to their duties. The result of interviews could be concluded as suggestions to the human resources personnel of college affiliated to Praboromarajchanok Institutes for enhancing the supports to sustain the activities system from a Model for Encouraging the Competencies needed in the 21st century to have the performance of human resources personnel a clearly developed and evaluated by integrating the competencies needed with the digital media seriously and continuously. การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาสภาพ ปัญหา และความต้องการส่งเสริมสมรรถนะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ต่อการปฏิบัติงาน นักทรัพยากรบุคคลของวิทยาลัยสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก 2) พัฒนารูปแบบการส่งเสริมสมรรถนะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ต่อการปฏิบัติงาน นักทรัพยากรบุคคลของวิทยาลัยสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก และ 3) เพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการส่งเสริมสมรรถนะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ต่อการปฏิบัติงานนักทรัพยากรบุคคลของวิทยาลัยสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานบริหารทรัพยากรบุคคลของวิทยาลัยและหน่วยงานในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก 41 แห่ง จำนวน 106 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยใช้เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามความคิดเห็น แบบทดสอบความรู้ แบบสอบถามความพึงพอใจ แบบประเมินพฤติกรรม แบบสัมภาษณ์ผู้บังคับบัญชาชั้นต้นของผู้เข้าร่วมกิจกรรม คู่มือการจัดกิจกรรมตามรูปแบบ และรูปแบบการส่งเสริมสมรรถนะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ต่อการปฏิบัติงาน นักทรัพยากรบุคคลของวิทยาลัยสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และค่า t-test ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพ ปัญหา และความต้องการส่งเสริมสมรรถนะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ต่อการปฏิบัติงานนักทรัพยากรบุคคลของวิทยาลัยสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก ด้านมนุษยสัมพันธ์ต่อการปฏิบัติงาน มีค่าเฉลี่ยรวมสภาพปัจจุบันและค่าเฉลี่ยโดยรวมของความต้องการส่งเสริมสมรรถนะอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.02, S.D. = 0.83 และ ค่าเฉลี่ย = 4.19, S.D. = 1.03) ด้านการคิดสร้างสรรค์ มีค่าเฉลี่ยรวมสภาพปัจจุบันและค่าเฉลี่ยโดยรวมของความต้องการส่งเสริมสมรรถนะอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.65, S.D. = 0.80 และ ค่าเฉลี่ย = 4.17, S.D. = 0.89) ด้านการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง มีค่าเฉลี่ยรวมสภาพปัจจุบันและค่าเฉลี่ยโดยรวมของความต้องการส่งเสริมสมรรถนะอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.54, S.D. = 0.86 และ ค่าเฉลี่ย = 4.08, S.D. = 0.91) ด้านการคิดวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหามีค่าเฉลี่ยรวมสภาพปัจจุบันอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 3.49, S.D. = 0.80) และค่าเฉลี่ยโดยรวมของความต้องการส่งเสริมสมรรถนะอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.12, S.D. = 0.91) สำหรับประเด็นปัญหาที่พบจากการสังเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความพร้อมขององค์กร ความพร้อมของบุคลากร และ ทักษะการเรียนรู้ 2) รูปแบบการส่งเสริมสมรรถนะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ต่อการปฏิบัติงานนักทรัพยากรบุคคลของวิทยาลัยสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก ที่ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ คือ (1) แนวคิด (2) หลักการ สำคัญ (3) จุดมุ่งหมาย (4) เนื้อหาสาระการเรียนรู้ ได้แก่ การมีมนุษยสัมพันธ์ต่อการปฏิบัติงาน การเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง การคิดวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหา และการคิดสร้างสรรค์ (5) กระบวนการส่งเสริมสมรรถนะ (6) วิธีการเรียนรู้ การใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ (7) ระยะเวลาในการดำเนินงาน และ (8) การวัดประเมินผล 3) ประสิทธิผลของรูปแบบการส่งเสริมสมรรถนะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ต่อการปฏิบัติงาน นักทรัพยากรบุคคลของวิทยาลัยสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก พบว่า การปฏิบัติงานมีสมรรถนะหลังการจัดกิจกรรม สูงกว่าก่อนจัดกิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่า t = 9.059 และมีผลการประเมินเท่ากับ 83 / 90.17 โดย สูงกว่า เกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ที่ 80/80 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูง
ผลการสัมภาษณ์ผู้บังคับบัญชาชั้นต้นของผู้เข้าร่วมกิจกรรม พบว่า ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีสมรรถนะในการทำงานทั้งด้านมนุษยสัมพันธ์ต่อการปฏิบัติงาน ด้านการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง ด้านการวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหา และด้านการคิดสร้างสรรค์เพิ่มขึ้น โดยสังเกตจากพฤติกรรมในการปฏิบัติงาน ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับก่อนเข้าร่วมกิจกรรมตามรูปแบบดังกล่าว นอกจากนี้ยังให้ความเห็นว่า การส่งเสริมสมรรถนะด้านมนุษยสัมพันธ์ต่อการปฏิบัติงานทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเกิดคุณลักษณะในการมีน้ำใจชอบช่วยเหลือ และจากการร่วมกิจกรรมการส่งเสริมสมรรถนะด้านการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง การคิดวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหา และการคิดสร้างสรรค์ ได้ทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเกิดความรู้ ความสามารถ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของตน และนำไปสู่การพัฒนานักทรัพยากรบุคคลของหน่วยงานสังกัดสถาบันพระบรมราชชนกให้เป็นนักทรัพยากรบุคคลมืออาชีพในอนาคตได้ ซึ่งสามารถสรุปเป็นข้อเสนอแนะคือ สถาบันพระบรมราชชนกควรสนับสนุนให้มีระบบและกลไกเพื่อรองรับการพัฒนาสมรรถนะนักทรัพยากรบุคคล อย่างต่อเนื่องและเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมถึงมีระบบการกำกับติดตามผลการส่งเสริมสมรรถนะอย่างเป็นรูปธรรม และ ควรมีการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสมรรถนะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ต่อการปฏิบัติงานนักทรัพยากรบุคคล โดยบูรณาการการใช้สื่อดิจิตัลอย่างสร้างสรรค์
Type:
Discipline:
การศึกษาตลอดชีวิตและการพัฒนามนุษย์แบบ 2.1 ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Collections:
Total Download:
61