BEHAVIOR AND PERCEPTION ON HOUSEHOLD WASTE MANAGEMENT OF CONDOMINIUM RESIDENTS IN BANGKOK METROPOLIS
พฤติกรรมและการรับรู้ของประชาชนในการจัดการขยะครัวเรือนกรณีศึกษาคอนโดมิเนียมในเขตกรุงเทพมหานคร
Author:
Advisor:
Date:
12/7/2019
Publisher:
Silpakorn University
Abstract:
This Mixed Method research aimed to study behavior and perception on household waste management of condominium residents in Bangkok Metropolis via the in-depth interview among the staffs of juristic person and condominium residents through the distributed questionnaires. The population and samples selected for the quantitative study comprised of 369 residents from the condominium A, B, and C, whereas the staffs of juristic person represented key informants of the qualitative study.
Overall, the findings suggest the highest level of samples’ behavior on household waste management of Condominium in Bangkok Metropolis with Mean of 3.45, that is waste recycle and the least practice involved waste separation. As for samples’ perception on household waste management, the results suggest high level of perception, with the Mean of 3.54. The perception on waste separation ranked the highest level and temporary waste gathering ranked the least. Also, the findings from studying the channel of accessing news on waste management suggest the highest preference on waste management, with the Mean 3.32, focusing on condominium public relations activities and receiving news from the distributed leaflets ranked the least.
This research suggests the main emphasis on establishing effective plan and constructing publicity model to easily and clearly reach condominium resident, such as set up PR board in the passenger elevator and enhancing knowledge on temporary waste gathering. Junk buyer should be allowed in the premises under the building management supervision so that the residents could sell own collected waste. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมและการรับรู้การจัดการขยะครัวเรือนกรณีศึกษาคอนโดมิเนียมในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกเจ้าหน้าที่นิติบุคคลของคอนโดมิเนียม และแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่เป็น ผู้พักอาศัยในคอนโดมิเนียมในเขตกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยคอนโดมิเนียม ก. คอนโดมิเนียม ข. และคอนโดมิเนียม ค. จำนวน 369 ตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณจากแบบสอบถาม โดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษาข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างพบว่า ส่วนใหญ่เป็น เพศ ชาย ร้อยละ 53.12 อายุ 22-31ปี ร้อยละ 44.17 สถานภาพสมรส ร้อยละ 51.22 ระดับการศึกษาปริญญาตรี ร้อยละ 55.28 อาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 39.30 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป ร้อยละ 36.04 จำนวนสมาชิกที่พักอาศัยในคอนโดมิเนียม 2-3 คน ร้อยละ 64.50 ระยะเวลาที่พักอาศัยในคอนโดมิเนียม 3-5 ปี ร้อยละ 64.50 ผลการศึกษาพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยครัวเรือนของกลุ่มตัวอย่าง ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.45 โดยด้านการนำกลับมาใช้ใหม่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือด้านการเก็บรวบรวม และด้านการคัดแยกขยะ ตามลำดับ ส่วนการศึกษาการรับรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยครัวเรือน พบว่าในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.54 โดยด้านการรับรู้ด้านการคัดแยกขยะค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือด้านการนำกลับมาใช้ใหม่และด้านการจัดเก็บชั่วคราว ตามลำดับ ในการศึกษาการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการจัดการขยะ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีช่องทางการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการจัดการขยะ อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.32 โดยช่องทางการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการจัดการขยะมากที่สุด คือ จากกิจกรรมประชาสัมพันธ์ของคอนโดมิเนียม รองลงมาคือจากเพื่อนบ้าน นิติบุคคลของคอนโด และช่องทางการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการจัดการขยะน้อยที่สุด คือ จากใบปลิว
ข้อเสนอแนะจากการศึกษาวิจัย ควรให้ความสำคัญในเรื่องการคัดแยกขยะโดยเฉพาะการคัดแยกขยะรีไซเคิลออกจากขยะประเภทอื่นก่อนทิ้ง และควรจัดการให้มีการให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดเก็บขยะชั่วคราว โดยผ่านทางกิจกรรมประชาสัมพันธ์ของคอนโดมิเนียม
Type:
Discipline:
การจัดการภาครัฐและภาคเอกชน แผน ก แบบ ก 2 ระดับปริญญามหาบัณฑิต
Collections:
- วิทยานิพนธ์ [502]
Total Download:
115