Creative Cultural Tourism Through Raising local knowledge Experiences BasedLearning in Amphawa Community
การนำเสนอประสบการณ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่การสร้างสรรค์วิถีท่องเที่ยวเชิงเรียนรู้วัฒนธรรมชีวิตชุมชนอัมพวา
ผู้แต่ง:
ที่ปรึกษา:
หัวเรื่อง:
วันที่:
29/11/2019
สำนักพิมพ์:
Silpakorn University
บทคัดย่อ:
This research is to study the experience of local wisdom to create value and promote tourism in the ways of Amphawa community. Samut Songkhram Province The researcher brought the concepts to gather wisdom in the Amphawa community, which selected 5 handicrafts : Wicker coconut leaves, Chula kites, Carving shell , carv, small sculptures, Benjarong Ceramic come to create designs by the cooperation of people in the community by organizing an exhibition "Rayib rayab Amphawa" at the Amphawa Project Chaipattana Nurak, Amphawa District, Samut Songkhram Province By removing the identity of the Amphawa community, which is "the river of life Handicraft
Of light "The theme is Night folk market. The event will be divided into 6 zones and 3 activities as follows 1) Rayib rayab Amphawa zone 2) River of Life Zone 3) Charat Saeng Zone 4) Soi Ko Zone 5) Craft Zone 6) Soi Ko Zone and 3 activities which are 1) Firefly Market 2) Applied Thai music 3) Watch the fresh sugar stew
Research indicates that The rayib rayab Amphawa exhibition is a connecting activity of the community. To allow people in the community and tourists to participate in community activities And also to create unity among the community by using their own local wisdom to create tourists to see the value and realize the importance of firefly conservation which is the charm of Amphawa. It also increases the potential for the development of creative work to add value to the products in the community by organizing the rayib rayam Amphawa exhibitions is an event at night with various light sculptures to increase the aesthetic of the night which is New for the Amphawa community. If able to actually organize the exhibition, it can promote tourism and stimulate the economy. It also creates sustainability for people in the community to be self-reliant as well.
The researcher has conducted the study evaluation form, dividing the assessors into 2 groups which are group 1 from the overall design evaluation, with a group of 10 experts and designers with a high level of satisfaction. The overall average is x̄ 4.4 (SD = 0.15). 1) The perception and meaning of the overall image is at a high level, with an average of x̄ 4.26 (SD = 0.15). 2) The overall image design is in a high level. With an average of x̄ 4.38 (S.D = 0.24). 3) Regarding the overall application, it was at the highest level, with an average of x̄ 4.56 (S.D = 0.05) and evaluating group 2 by evaluating the overall design of the entire set by 10 tourists and villagers (randomly selected by accident ) High level of satisfaction With an average of x̄ 4.38 (S.D = 0.15) 1) perception and meaning in the overall picture is at a high level With an average of x̄ 4.26 (S.D = 0.15). 2) The overall image design was at a high level With an average of x̄4.34 (S.D = 0.25). 3) Regarding to the overall application, it was the highest level, with an average of x̄ 4.56 (S.D = 0.05)
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาประสบการณ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่การสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มคุณค่าและมูลค่าและส่งเสริมการท่องเที่ยวในวิถีชุมชนอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม โดยผู้วิจัยนำแนวคิดที่จะรวบรวมภูมิปัญญาในชุมชนอัมพวาซึ่งได้คัดเลือกงานหัตกรรมมา5อย่างได้แก่การสานใบมะพร้าว , การทำว่าวจุฬา , การทำเบญรงค์ ,การแกะสลักกะลาซอ,การทำหัตกรรมปั้นจิ๋ว มาสร้างสรรค์ผลงานออกแบบโดยเกิดจากความร่วมมือของคนในชุมชนโดยจัดเป็นงานนิทรรศการ “ ระยิบระยับอัมพวา” ณ โครงการอัมพวา ชัยพัฒนานุรักษ์ อำเภออัมพวา จังหวัด สมุทรสงคราม โดยถอดอัตลักษณ์ของชุมชนอัมพวา คือ “ สายน้ำแห่งชีวิต วิถีหัตถกรรมจรัสแสง ” ตีมงาน คือ Night folk market โดยภายในงานจะแบ่งเป็น 6 โซน และ 3 กิจกรรมด้วยกันดังนี้ 1)โซนระยิบระยับอัมพวา 2)โซนสายน้ำแห่งชีวิต 3)โซนจรัสแสง 4)โซนสอยโคะ 5)โซนภูมิปัญญาหัตถกรรม 6)โซนสอยโคะ และ 3 กิจกรรม ได้แก่ 1)ตลาดนัดหิ่งห้อย 2)ดนตรีไทยประยุกต์ 3)ชมการเคี่ยวน้ำตาลสด
จากการวิจัยพบว่า การจัดนิทรรศการระยิบระยับอัมพวาเป็นกิจกรรมที่เป็นตัวเชื่อมของชุมชน เพื่อให้คนในชุมชนและนักท่องเที่ยวมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน และยังก่อให้เกิดความสามัคคีของคนในชุมชนโดยการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นของตนเองมาสร้างสรรค์ให้นักท่องเที่ยวได้เห็นคุณค่าและตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์หิ่งห้อยซึ่งเป็นเสน่ห์ของอัมพวาอีกยังยังเพิ่มศักยภาพในการพัฒนางานสร้างสรรค์ในการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าในชุมชนโดยการจัดนิทรรศการระยิบระยับอัมพวาเป็นการจัดงานตอนกลางคืนมีประติกรรมแสงต่าง ๆ เพื่อเพิ่มความสุนทรีย์ในยามค่ำคืนซึ่งเป็นสิ่งใหม่สำหรับชุมชนอัมพวาหากสามารถจัดนิทรรศการดังกล่าวได้จริงจะสามารถส่งเสริมการท่องเที่ยวและกระตุ้นเศรษฐกิจได้ อีกทั้งยังเป็นการสร้างความยั่งยืนให้แก่คนในชุมชนพึ่งพาตนเองได้อีกด้วย
ผู้วิจัยได้ทำแบบประเมินผลการศึกษาได้แบ่งผู้ประเมินออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่กลุ่มที่ 1 จากการประเมินภาพรวมของการออกแบบทั้งชุดโดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญและนักออกแบบจำนวน 10 คน มีความพึงพอใจในระดับมากโดยมีค่าเฉลี่ยรวม x̄ 4.4 (S.D = 0.15) 1) ด้านการรับรู้และสื่อความหมายในภาพรวมอยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ x̄ 4.26 (S.D = 0.15) 2)ด้านการออกแบบภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ x̄ 4.38(S.D=0.24) 3) ด้านการนำไปใช้งานภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย x̄ 4.56 (S.D = 0.05)และการผู้ประเมินกลุ่มที่ 2 โดยประเมินภาพรวมของการออกแบบทั้งชุดโดยกลุ่มนักท่องเที่ยวและชาวบ้าน จำนวน 10 คน (สุ่มโดยบังเอิญ )มีความพึงพอใจในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยรวม x̄ 4.38 (S.D = 0.15) 1) ด้านการรับรู้และสื่อความหมายในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ x̄ 4.26 (S.D = 0.15) 2)ด้านการออกแบบภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ x̄ 4.34(S.D=0.25) 3) ด้านการนำไปใช้งานภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย x̄ 4.56 (S.D = 0.05)
ประเภทผลงาน:
สาขาวิชา:
ศิลปะการออกแบบ แผน ก แบบ ก 2 ระดับปริญญามหาบัณฑิต
จำนวนดาวน์โหลด:
71