The Art of Ubosatha and Vihara in Battambong City, Kingdom of Cambodia, from the Early of 19th Century to the Mid of 20th Century.
ศิลปกรรมพระอุโบสถและพระวิหารในเมืองพระตะบอง ราชอาณาจักรกัมพูชาในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 24 ถึงปลายพุทธศตวรรษที่ 25
Author:
Advisor:
Subject:
Date:
12/7/2019
Publisher:
Silpakorn University
Abstract:
Battambang is a province of Cambodia which has a prolonged history. One of the major events is when Battambang was colonized by Siam from the reign of King Rama I to V. Since Siam had exerted its political power over Battambang area, it also extended its artistic influences in the province. The style of Vihara and Ubosotha in Battambang that were built during Siam colonization between the early 19th – early 20th century express both Thai and western characteristics blended with the local’s and create an exquisite style. It had also been developed and influenced continuously until the time when Cambodian was a colony of France.
Further around early 20th century, Battambang, Siem Reap, and Serei Saophoan were returned to Cambodia after French colonization and Siam government signed a treaty to resolve the disputes between their territories on 23 March 1906. During the time, the influence of central Khmer art had been exerted over the artist of Battambang along with the influence of political power from the central. Therefore, it is obvious that the style of Vihara and Ubbosotha in Battambang then was greatly influenced by central Khmer combined with the style that had been developed since Siam colonization and the local works. The art of Vihara and Ubbosotha in Battambang at the time was therefore diversely fused and became the unique signature of Battambang artists. พระตะบองเป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศกัมพูชาที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน หนึ่งในเหตุการณ์ประวัติศาสตร์นั้นคือ การที่พระตะบองเคยเป็นเมืองขึ้นของสยามนับตั้งแต่ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ 1) จนถึงในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) เมื่ออิทธิพลทางการเมืองของสยามได้เข้ามามีบทบาทในบริเวณเมืองพระตะบอง จึงทำให้รูปแบบศิลปกรรมของสยามได้เข้ามาในบริเวณเมืองพระตะบองด้วยเช่นกัน โดยรูปแบบศิลปกรรมของพระวิหารและอุโบสถในเมืองพระตะบองที่สร้างขึ้นในสมัยที่อยู่ใต้การปกครองของสยาม ราวพุทธศตวรรษที่ 24-กลางพุทธศตวรรษที่ 25 นั้น ได้ปรากฏอิทธิพลของงานศิลปกรรมไทยและตะวันตกที่เข้ามาผสมผสานกับรูปแบบงานศิลปกรรมท้องถิ่น และทำให้เกิดเป็นศิลปะอันงดงาม พร้อมกันนี้ก็ได้มีพัฒนาการและส่งอิทธิพลมาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งถึงช่วงที่อาณาจักรกัมพูชามีสถานะเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส
ต่อมาเมื่อกลางพุทธศตวรรษที่ 25 เมื่อพระตะบอง เสียมราบ และศรีโสภณได้กลับมาเป็นส่วนหนึ่งของกัมพูชา หลังจากอาณานิคมฝรั่งเศสและรัฐบาลสยามได้ลงสนธิสัญญาเพื่อยุติข้อพิพาทดินแดนระหว่างทั้งสองประเทศเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2449 ในขณะนั้นอิทธิพลงานศิลปกรรมเขมรภาคกลางก็ได้เข้ามามีบทบาทต่อวงการงานช่างพระตะบองพร้อมๆ กับการเข้ามาของอิทธิพลทางการเมืองและการปกครองจากศูนย์กลาง ดังนั้นจะเห็นได้ว่างานศิลปกรรมของพระวิหารและพระอุโบสถที่เมืองพระตะบองในเวลานั้น ได้รับอิทธิพลศิลปกรรมจากเขมรภาคกลาง นำมาผสมผสานกับรูปแบบของงานศิลปกรรมพระวิหารและพระอุโบสถที่มีพัฒนาการมาตั้งแต่สมัยอยู่ภายใต้การปกครองสยามและงานศิลปกรรมแบบท้องถิ่น จึงทำให้ศิลปกรรมพระวิหารและพระอุโบสถที่เมืองพระตะบองในขณะนั้นมีการผสมผสานที่หลากหลายจนได้กลายเป็นงานศิลปกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของสกุลช่างพระตะบอง
Type:
Discipline:
ประวัติศาสตร์ศิลปะ แผน ก แบบ ก 2 ระดับปริญญามหาบัณฑิต
Collections:
Total Download:
199