Processes for Tourism Management by The Folklore of the Community
แนวทางการจัดการท่องเที่ยวโดยใช้คติชนของชุมชน
Author:
Advisor:
Subject:
Date:
12/7/2019
Publisher:
Silpakorn University
Abstract:
This research is purposed 1) to study condition of learning, conveying knowledge and the role of folk wisdom that relevant to the Community-Based Tourism Management, 2) to study the condition of success in using information of folk wisdom to manage the Community-Based Tourism and 3) to present the guideline of CBT management by using the local folk wisdom. The Samples used are the community that was managed by using tourism-based community for 103 communities and the 4 Best Practiced communities.
The instruments used are questionnaire, community observation form and intensive question for the interview. Then analyze data by using the descriptive statistics and the content analysis.
The result found that
1) Learning condition in community-based tourism is still having folk wisdom, the local philosopher has learned from their own family and convey to the next generation. There are four dimension methods as following 1) learning and convey it from the locals to the locals. 2) Learning and convey it from the locals to the outsider. 3) Learning and convey it from the outsider to the outsider, it is to say the tourist will convey it to the outsider themselves. And 4) learning and convey it outside in, it is the outsider convey it to the tourist and eventually to the locals. And an aspect of the folk wisdom role is found that folk wisdom has a role to the community-based tourism management.
2) In successful condition found that human development, selecting of folk wisdom and network expanding is the important condition to the success in tourism management.
3) Principles of conducting community-based tourism by using folk wisdom is to have the locals to manage tourism and aware of their own wisdom and get involved for the whole processes, there is a wisdom management to manage it as a unique of a community and also manage the local resource sustain and focus it about lifelong learning to systematic the local economy and make the income to the community. The network connection has three purposes as are following; to learn local wisdom and to be proud of their own wisdom and to make it create the local income through a community-based tourism procession. There are 9 steps of tourism management by folkway wisdom. Step 1 making an understanding, step 2 having participation by the community, step 3 wisdom intellectual developments, step 4 retrieving a folk wisdom for tourism, step 5 self-analysis, step 6 tourism management by folkway wisdom, step 7 creating an innovative for tourism, step 8 building a supportive network for tourism management and step 9 doing the assessment. การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพของการเรียนรู้ การถ่ายทอดความรู้ และบทบาทของคติชนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน 2) ศึกษาเงื่อนไขของความสำเร็จในการใช้ข้อมูลทางคติชนในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนและ 3) นำเสนอแนวทางการจัดการท่องเที่ยวโดยใช้คติชนของชุมชน กลุ่มตัวอย่าง คือชุมชนที่จัดการท่องเที่ยว จำนวน 103 ชุมชน และชุมชนที่เป็น Best Practice จำนวน 4 ชุมชน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม แบบสังเกตชุมชน และประเด็นการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1) สภาพของการเรียนรู้ในชุมชนท่องเที่ยวยังมีคติชนอยู่ โดยปราชญ์ท้องถิ่นและคนในชุมชนมีการเรียนรู้อันเกิดจากวิธีการที่หลากหลาย การถ่ายทอดความรู้มี 4 มิติ คือ มิติที่ 1 การเรียนรู้และถ่ายทอดจากคนในสู่คนใน มิติที่ 2 การเรียนรู้และถ่ายทอดจากคนในสู่คนนอก มิติที่ 3 การเรียนรู้และถ่ายทอดจากคนนอกสู่คนนอก และมิติที่ 4 การเรียนรู้และถ่ายทอดจากคนนอกสู่คนใน บทบาทของคติชนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน คติชนมีบทบาทต่อปัจเจกชน กลุ่มท่องเที่ยว ชุมชนและสังคม
2) เงื่อนไขของความสำเร็จในการใช้ข้อมูลทางคติชน คือ การพัฒนาคน การเลือกคติชนที่สามารถใช้เป็นจุดขายของการท่องเที่ยว และการมีเครือข่ายสนับสนุนเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้ประสบความสำเร็จในการจัดการท่องเที่ยว และ
3) แนวทางการจัดการท่องเที่ยวโดยใช้คติชนของชุมชน มีหลักการใช้คติชนอย่างสร้างสรรค์ ดังนี้ ชุมชนเป็นผู้บริหารจัดการท่องเที่ยว เห็นคุณค่าคติชนของตนเอง มีส่วนร่วมในทุกกระบวนการ มีการบริหารจัดการคติชนให้คงอยู่และเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น มีการจัดการทรัพยากรในพื้นที่อย่างยั่งยืน เห็นความสำคัญของการเรียนรู้ตลอดชีวิต และเกิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่สร้างรายได้ให้ชุมชน มีเป้าหมายเพื่อจัดการวัฒนธรรมให้เกิดความยั่งยืน โดยใช้กระบวนการจัดการท่องเที่ยวโดยใช้คติชนของชุมชน 9 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 การสร้างความเข้าใจ ขั้นที่ 2 การสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน ขั้นที่ 3 การสืบค้นคติชน ขั้นที่ 4 การติดอาวุธทางปัญญา ขั้นที่ 5 การวิเคราะห์ตนเอง ขั้นที่ 6 การทำเส้นทางการท่องเที่ยว ขั้นที่ 7 การบริหารจัดการการท่องเที่ยว ขั้นที่ 8 การสร้างเครือข่ายสนับสนุน และขั้นที่ 9 การประเมินผล
Type:
Discipline:
การศึกษาตลอดชีวิตและการพัฒนามนุษย์แบบ 2.1 ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Collections:
Total Download:
73