การส่งเสริมการยอมปฏิบัติตามในองค์กรทางการศึกษา
Other Title:
COMPLIANCE ENHANCEMENT IN EDUCATIONAL ORGANIZATION
Date:
2559-07-04
Publisher:
SILPAKORN UNIVERSITY
Abstract:
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อทราบ 1) องค์ประกอบการยอมปฏิบัติตามของผู้ใต้บังคับบัญชาในองค์กรทางการศึกษา และ 2) แนวทางการส่งเสริมการยอมปฏิบัติตามของผู้ใต้บังคับบัญชาในองค์กรทางการศึกษา การวิจัยมี 2 ตอน คือ ตอนที่1 การวิเคราะห์องค์ประกอบการยอมปฏิบัติตามในองค์กรทางการศึกษา ตอนที่ 2 หาแนวทางการส่งเสริมการยอมปฏิบัติตามของผู้ใต้บังคับบัญชาในองค์กรทางการศึกษา ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานเป็นการวิจัยทั้งเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และแบบสอบถามชนิดประมาณค่า กลุ่มตัวอย่างสำหรับการวิจัย คือ โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 173 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลโรงเรียนละ 3 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน หรือหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ และ ครู รวม 591 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ
ผลการวิจัยพบว่า
1. องค์ประกอบการยอมปฏิบัติตามของผู้ใต้บังคับบัญชาในองค์กรทางการศึกษามีจำนวน 7 องค์ประกอบ คือ 1) องค์กรแห่งการสร้างความร่วมมือ 2) ความผูกพันต่อองค์กรของผู้ใต้บังคับบัญชา 3) คุณลักษณะผู้นำของผู้บังคับบัญชา 4) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง 5) นโยบายที่ปฏิบัติได้ 6) ประโยชน์เกื้อกูลอื่นๆ และ 7) การบังคับ
2. แนวทางการส่งเสริมการยอมปฏิบัติตามของผู้ใต้บังคับบัญชาในองค์กรทางการศึกษามีจำนวน ทั้งหมด 228 แนวทาง องค์กรแห่งการสร้างความร่วมมือ 54 แนวทาง ความผูกพันต่อองค์กรของผู้ใต้บังคับบัญชา 48 แนวทาง คุณลักษณะผู้นำของผู้บังคับบัญชา 39 แนวทาง ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง 33 แนวทาง นโยบายที่ปฏิบัติได้ 21 แนวทาง ประโยชน์เกื้อกูลอื่นๆ 18 แนวทาง และการบังคับ 15 แนวทาง The objectives of this research were to determine ; 1) identify the components of subordinate’s compliance in educational organization, and 2) the guidelines for enhancing subordinate’s compliance in educational organization. This thesis was designed as a mixed methodology based on qualitative and quantitative research. The research was comprised of procedures as follows; 1) identifying causal components towards subordinate’s compliance in educational organization, and 2) determining guidelines for enhancing subordinate’s compliance in educational organization. The instruments for collecting the data were semi-structured interviews, opinionnaire, and checklist form. The samples were 173 secondary schools under the Office of Basic Education Commission. The respondents included school directors, deputy school directors or heads of subject department and teacher from each school, as a total of 519 respondents. The statistics used for data analysis were frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation, and Exploratory Factor Analysis.
The findings of the research revealed as follows;
1. There were 7 components of subordinate’s compliance in educational organization namely organization of cooperation, subordinate’s organizational commitment, administrator trait, transformational leadership, practical policy, fringe benefit, and coercion.
2. The guidelines for enhancing subordinate’s compliance in educational organization were comprised of 288 items which were respectively classified by components as follows; 54 items for organization cooperation, 48 items for subordinate’s organizational commitment, 39 items for administrator trait, 33 items for transformational leadership, 21 items for practical policy, 18 items for fringe benefit, and 15 items for coercion.
Type:
Discipline:
การบริหารการศึกษา แบบ 2.1 ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
Collections:
Total Download:
148