หยอกล้อ
หัวเรื่อง:
วันที่:
2004
สำนักพิมพ์:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
คำบรรยาย:
เทคนิคหล่อสำริด ขนาด 40x30x47 เซนติเมตร ในงานประติมากรรมชื้นนี้ข้าพเจ้ามีแรงบันดาลใจจากวิธีการเรียนรู้ของเด็กที่มักเริ่มต้นจากการเลียนแบบแม่ เช่น การทำเสียงที่แสดงความรู้สึก ถ้าหิว มักใช้คำว่า "หม่ำ ๆ" ถ้ากำลังสนุกสนานก็หัวเราะในท่าทางแปลก ๆ ที่แม่กำลังหยอกล้อ และพัฒนาไปสู่ภาษากาย คือ การส่ายหน้า ผงกหัว และการใช้มือถือสื่อถึงความต้องการอยากได้และไม่อยากได้ กิริยาอาการเหล่านั้นต้องผ่านวันเวลาอันยาวนาน จนทักษะต่าง ๆ เริ่มก่อเป็นรูปประสบการณ์ของลูก และใช้สื่อสารกันเบื้องตัน แม่จึงเป็นครูคนแรกของลูกและมีคุณค่าอย่างหาสิ่งใดเทียบเทียม ข้าพเจ้าจึงสร้างผลงานลักษณะการหยอกล้อกันระหว่างแม่และลูก ซึ่งแม่อยู่ในลักษณะอิริยาบถนั่งเท้าแขนข้างหนึ่ง และชะโงกหน้ามาหาลูกที่นั่งในทำกึ่งนั่งกึ่งนอน มือเท้าประสานกันในวงกลม โดยมีมือของแม่อีกข้างหนึ่งประคองด้านหลังไว้ อันเป็นลักษณะการหยอกล้อที่คงเต็มไปด้วยความเฝ้าระวัง ความรู้สึกประทับใจ ในรูปทรงใหญ่ของแม่กับรูปทรงเล็ก ๆ ของลูกที่กำลังเคลื่อนไหวเข้าหากัน เป็นความอบอุ่น น่รัก มีชีวิตชีวา และช่วงเวลาเหล่านั้นก็จะไม่มีวันหวนมาอีกในอนาคต เพราะเมื่อลูกเติบโตขึ้นก็ย่อมต้องออกไปเรียนรู้สิ่งอื่นที่นอกเหนือจากประสบการณ์ต่อไปไม่สิ้นสุด และบางครั้งประสบการณ์ใหม่ แม่ลูกได้พบเจอ ก็อาจซักพาให้ลูกหลงลืมไปว่ามีแม่ที่กำลังเฝ้ารออยู่ด้วยความรัก ความห่วงใยที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงแม้แต่น้อย
ประเภทผลงาน:
ปรากฎใน:
ความอบอุ่นแห่งชีวิต
เจ้าของลิขสิทธิ์:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
คอลเล็คชัน:
จำนวนดาวน์โหลด:
21