การศึกษาวิเคราะห์วรรณกรรมค่าวซอเรื่องเศรษฐีหัวเวียง
ชื่อเรื่องอื่น:
An analytical study of a Lanna Khaosaw, the Setthi Hua
ผู้แต่ง:
ที่ปรึกษา:
หัวเรื่อง:
วันที่:
2014
สำนักพิมพ์:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
บทคัดย่อ:
วิทยานิพนธ์นี้ มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์วรรณกรรมค่าวซอเรื่องเศรษฐีหัวเวียงจากเอกสารพับสาที่บันทึกด้วยอักษรธรรมล้านนา จำนวน 1 ฉบับ 76 หน้า ไม่ปรากฏปีที่บันทึก
การศึกษาลักษณะทั่วไปของวรรณกรรมค่าซอเรื่องเศรษฐีหัวเวียงพบว่า เป็นวรรณกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากชาดกนอกนิบาตเรื่องลาภกุมาร
การแต่งวรรณกรรมเรื่องนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นประโยชน์สำหรับการสั่งสอนหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เพื่อเป็นการขัดเกลาทางสังคม และเพื่อความบันเทิง
การศึกษาทางด้านวรรณศิลป์ พบว่าโครงเรื่องของวรรณกรรมค่าวซอเรื่องเศรษฐีหัวเวียงมีความต่อเนื่องกันไปตามลำดับ ไม่มีความสลับซับซ้อนมาก มีตัวละครทั้งที่เป็นมนุษย์และอมนุษย์ มีฉากที่เป็นฉากสภาพบ้านเมืองและฉากบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ศิลปะการใช้ถ้อยคำพบว่ามีการสรรคำหลาก การใช้คำซ้อน การใช้คำภาบาลี การใช้คำสัมผัส และการใช้คำซ้ำ การใช้ภาษาภาพพจน์ พบว่ามีการใช้ อติพจน์ สัทพจน์และอุทาหรณ์ การใช้โวหารพบว่ามีการใช้บรรยายโวหาร เทสนาโวหาร สาธกโวหาร พรรณาโวหาร และอุปมาโวหาร การศึกาทางด้านสังคมพบว่าวรรณกรมค่าซอเรื่องเศรษฐีหัวเวียงได้สะท้อนให้เห็นถึงหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนา ค่านิยม ประเพณี วัฒนธรรมและความเชื่อของสังคมล้านนา This thesis aims at analyzing “Setthi Hua Wiang”, based on 76 pages of Lanna Dhamma scripture. The date of the creation was not specified.
It was found that this literature was influenced by “Lapa Kumara” jataka.
The purpose of this jataka was to use it as a part for preaching in Buddhism so as to bring about peace in the society and also entertainment.
In terms of art created language, the plot is not complex, but clearly portrays the continuation of theme and sub-theme of the whole story. There are both non-human and human beings as the characters with the settings as housing, communities, and the procession. Words choice was neatly selected, comprising various and different words, synonyms, Pali language, and repetition. Hyperbole, onomatopoeia, and examples were found, along with description, instruction, examples, and comparison. For social aspects, this literature reflects the influence of Buddhism on life lessons, values, traditions, culture, and beliefs in Lanna society.
คำบรรยาย:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (จารึกศึกษา))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2557
ประเภทผลงาน:
ชื่อปริญญา:
ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต
สาขาวิชา:
จารึกศึกษา
สถานที่:
ล้านนา
เจ้าของลิขสิทธิ์:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
จำนวนดาวน์โหลด:
422