รูปแบบกิจกรรมการเต้นบัลเลต์เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมที่เหมาะสมสำหรับเด็กสมาธิสั้นในระดับประถมศึกษา
Other Title:
A model of ballet dancing activity for enhancement an appropriate behavior of children with attention deficit hyperactivity disorder in primary education
Advisor:
Date:
2016
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)เพื่อพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเต้นบัลเล่ต์ เพื่อส่งเสริม พฤติกรรมที่เหมาะสมสำหรับเด็กสมาธิสั้น ในระดับ ประถมศึกษา 2) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรม ก่อน หลัง และระยะติดตามผล การใช้รูปแบบกิจกรรมการเต้นบัลเล่ต์ เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมที่เหมาะสม สำหรับเด็กสมาธิสั้น ในระดับประถมศึกษา และ 3) เพื่อศึกษาผลของความพึงพอใจในรูปแบบ กิจกรรมการเต้นบัลเล่ต์ เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมที่เหมาะสมสำหรับเด็กสมาธิสั้น ในระดับประถมศึกษา กับผู้ที่เกี่ยวข้อง งานวิจัยฉบับนี้เป็นงานวิจัยเชิงทดลองกลุ่มเล็ก กลุ่มตัวอย่างเดี่ยว ในรูปแบบ ABA เก็บ รวบรวมข้อมูล เชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ มีขั้นตอนดำเนินการตามวิธีวิจัยและพัฒนา วิเคราะห์ ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยค่า Split-middle method และค่าเฉลี่ย ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์ด้วย การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ใช้เวลาทดลอง 12 ครั้ง ครั้งละ 45 นาที ในแต่ละครั้ง ประกอบด้วย 1)การอบอุ่นร่างกาย 10 นาที 2)เรียนท่าเต้นบัลเล่ต์ 25 นาที 3) การยืดกล้ามเนื้อ 10 นาที ประเมินท้ายบทเรียนทุกครั้ง เพื่อหาค่าการทดลองอนุกรมเวลา บันทึกพฤติกรรมในรูปแบบ VDO และจดบันทึก
ผลการวิจัยพบว่า
1.หลักจากนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรม นักเรียนมีพฤติกรรมที่ดีขึ้น ทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านสมาธิ จดจ่อ ด้านการควบคุมอารมณ์ด้านทักษะทางสังคม ด้านสหสัมพันธ์การเคลื่อนไหวและด้านการเห็น คุณค่าในตนเอง ในระยะติดตามผล พบว่า ด้านสมาธิจดจ่อ ด้านการควบคุมอารมณ์และด้านทักษะ ทางสังคม นักเรียนมีพฤติกรรมแย่ลง ส่วนด้านด้านสหสัมพันธ์การเคลื่อนไหวและด้านการเห็นคุณค่า ในตนเอง นักเรียนมีพฤติกรรมคงที่ 2. ความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 13 คน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( X = 4.57) เมื่อแยกพิจารณา พบว่า ในกลุ่มนักเรียน จำนวน 5 คน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มากที่สุด ( X = 4.8) ส่วนผู้ประเมิน จำนวน 8 คน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( X = 4.43)
The purpose of this research is 1) To enhance the ballet activities that is suitable for ADHD students in middle school level. 2) To compare behavior result from pre-test, post-test and follow up the result from the activities. 3) To study satisfaction in the activities which enhances suitable behavior for ADHD and related surrounding.
This research based on Small N Experimental Research. Data from Single Subject Design (ABA) has been collected by both quantity and quantity. The quantity data analysis was done by Split-middle method and average result from the research. For quality data has been done by applied Content analysis. The process has been done 12 times with 45 minutes each by following 1) Warm up 10 minutes 2) Study the exercising 25 minutes 3) Stretching 10 minutes
The assessment will be done every class after the class finished to find out Time series design and record behavior by VDO.
The result represented
1. Participations have better skills which are concentration, emotional control, social skills, co-ordinate and self-esteem.
2. There are 13 participants which the result shows they have highest satisfaction ( X = 4.57). From this result, it can be seen in the detail that there are 5 participants who have the highest satisfaction ( X = 4.8) and another 8 participants have high satisfaction ( X = 4.43)
Type:
Degree Name:
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
Discipline:
สาขาวิชาพัฒนศึกษา
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
338