การพัฒนารูปแบบการสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ฟ้าไหมทอมือตามแนวคิดเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ของชุมชนบ้านประทุน ตำบลแตล อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์
Other Title:
Product development based on the creative economy concept in to value-added for Ban Pratoon community in Surin province
Advisor:
Date:
2016
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพทั่วไปและความคิดเห็นของชุมชนต่อการสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ ผ้าไหมทอมือ ตามแนวคิดเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ ของชุมชนบ้านประทุน 2) เพื่อพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์การสร้างมูลค่าเพิ่ม ผ้าไหมทอมือ ตามแนวคิดเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ ของชุมชนบ้านประทุน 3) เพื่อทดสอบรูปแบบการสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ ผ้าไหมทอมือ ตามแนวคิดเศรษฐกิจเชิงสรรค์ 4) เพื่อประเมินและปรับปรุงรูปแบบการสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ ผ้าไหมทอมือ ตามแนวคิดเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ เป็นการวิจัยและพัฒนา (R & D) โดยใช้วิธีการวิจัยผสมผสาน (Mixed Methods Research) โดยการวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา (R & D) โดยใช้วิธีการวิจัยผสมผสาน (Mixed Methods Research) โดยการวิจัย เชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ประชากรคือ ประชาชนในชุมชน บ้านประทุน ตำบลแตล อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนที่อยู่ในชุมชนบ้านประทุนจำนวน 229 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม และ การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง เพื่อเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา โดยใช้ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( x̅) ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน (S.D.) และการเปรียบเทียบข้อมูลหาความแตกต่างด้วย (t-test)
ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการณ์ของบริบทชุมชนบ้านประทุนพบว่า ลักษณะทางสังคมเป็นลักษณะทาง สังคมที่ดี และด้านการสืบสานทอผ้าไหมของชุมชนบ้านประทุนอยู่ในระดับมากความคิดเห็นของชุมชนผ้าไหมทอมือ บ้านประทุน พบว่า มีความต้องการในด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการพัฒนาด้านการตลาดในเกณฑ์มากที่สุด 2) รูปแบบ ผลิตภัณฑ์การสร้างมูลค่าเพิ่มผ้าไหมทอมือตามแนวคิดเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ของชุมชนผ้าไหมทอมือบ้านประทุน ได้รูปแบบ “BAN PRATOON Model” ประกอบด้วย องค์ประกอบย่อย ได้แก่ ระดมความคิดพัฒนาผลิตภัณฑ์ ( B = Brainstorm product development) กำหนดราคา (A = Appraise) สร้างเครือข่ายเพิ่มช่องทางการค้า (N = Networking) สร้างศักยภาพให้ชุมชน (P = Potentiality Community) ยกระดับการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น (R = aising Knowledge) ความช่วยเหลือจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (A = Assistance from Local Administrative Organization) นำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาประยุกต์ ( T = Technologies) ศูนย์กระจายสินค้า (O = Outlet to customers) สร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ (ON = Opportunity & New Market) โดยผ่านการรับรองรูปแบบจากผู้เชี่ยวชาญ 3) ผลการทดสอบรูปแบบผลิตภัณฑ์การสร้างมูลค่าเพิ่มผ้าไหมทอมือของชุมชนบ้านประทุนด้วยการจัดอบรม โดยนารูปแบบ มาประยุกต์ใช้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มาจากการแปรรูปจากเศษผ้าไหมทอมือจานวน 8 ชิ้น และผลการทดสอบกับผู้เข้าอบรม พบว่า คะแนนการเรียนรู้หลังการอบรม มีคะแนนสูงกว่าก่อนอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 การประเมินผลการอบรม พบว่ามีความพึงพอใจด้านวิทยากรและประโยชน์ที่ได้รับอยู่ในระดับมาก 4) ความพึงพอใจของลูกค้าต่อผลิตภัณฑ์ผ้าไหม ทอมือที่ได้ประยุกต์ขึ้น อยู่ในระดับมาก กลุ่มผ้าไหมทอมือชุมชนบ้านประทุนสามารถนำรูปแบบไปสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ ผ้าไหมทอมือตามแนวคิดเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ได้
This research aims to 1) Study the general condition and opinion of community toward value-added products of hand-woven silk based on creative economy concept of Ban Pratoon Community. 2) To develop the value-added products of hand-woven silk to the creative economy concept 3) Examining the value-added model concept of hand-woven silk products based on the concept of creative economic. And 4) To evaluate and improve the value added model of hand-woven silk products based on the concept of creative economy.
For quantitative research and research methodologies (R&D) include both mixed methods research, quantitative research and qualitative research. Population include 229 in Ban Pratoon community. For qualitative research, 17 samples; Representative. Data collection tools include structured interview, document analysis, and best-practice analysis. All data will be applied to analyze internal and external environments (SWOT Analysis). Questionnaire is used for data were analyzed by descriptive statistics, percentage (%), mean (x̅) and standard deviation (S.D.) and comparison of differences (t-test).
The results of the study revealed that 1) The Ban Pratoon community context study results social character is a good society and retention the silk weaving of the Ban Pratoon community is at a high level. Results of the Ban Pratoon community opinion research show that there is a demand for product development and marketing development in the highest level. 2) The product value-added model of hand-woven based on the concept of creative economy of the Ban Pratoon community were “BAN PRATOON Model” to development 9 Contains 9 elements, separated internal factors as following, BAN PRATOON Model Include Brainstorm product development, Appraise, Networking, Potentiality Community, Raising Knowledge, Assistance from Local Administrative Organization, Technologies, Outlet to customers Opportunity & New Market which the Model approved by expert. 3) The examining model by training products from the processing 8 pieces of hand-woven silk and test post-training with trainers, revealed that the result of score test have a higher than before training as significantly indifferent at level .05 and the satisfactory evaluation of training was found that the lecturer's satisfaction and benefits were at a high level. 4) The parts of evaluation and improvement of the model found that satisfaction of members hand-woven silk is Ban Pratoon community toward the model development was at high level, and satisfaction of customers toward the model development was at high level. Finally, the members hand-woven silk is Ban Pratoon community should be using the model development of the product value-added model of hand-woven based on the concept of creative economy
Type:
Degree Name:
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
Discipline:
สาขาวิชาพัฒนศึกษา
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
265