การพัฒนาความสามารถในการสร้างสรรค์ท่ารำประกอบบทเพลงด้วยการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยใช้รูปแบบซิปปา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6
ชื่อเรื่องอื่น:
The development of creative dancing with song abuity in learner development activties by using CPPA model for grade 4-6 students
ผู้แต่ง:
ที่ปรึกษา:
หัวเรื่อง:
วันที่:
2016
สำนักพิมพ์:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
บทคัดย่อ:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสามารถในการสร้างสรรค์ท่ารำประกอบบทเพลงของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ด้วยการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยใช้รูปแบบซิปปา เพื่อศึกษาความสามารถในการปฏิบัตินาฏยศัพท์ภาษาท่า และภาษานาฎศิลป์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ด้วยการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยใช้รูปแบบซิปปา เพื่อศึกษาพัฒนาการในการปฏิบัตินาฏยศัพท์ภาษาท่า และภาษานาฎศิลป์ ของนักเรียนชั้นประถศึกษาปีที่ 4-6 ที่ใด้รับการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยใช้รูปแบบซิปปา และเพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประณศึกษาปีที่ 4-6 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโคยใช้รูปแบบซิปปา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนกิจกรรมชุมนุมนาฎศิลป์ ระดับชั้นประถะศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนไทรโยคใหญ่ จังหวัดกาญจนบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 20 คน โดยการสุ่มแบบอาสาสมัคร (Volunteer Sampling) โดยมีเกณฑ์การเลือกคือ เป็นนักเรียนที่มีความสนใจด้านนาฎศิลป์ การวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) มีแบบแผนการทดลองเป็นแบบอนุกรมเวลา (Time Series Design) ใช้เวลาในการทดลองสัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง รวมทั้งสิ้น 10 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แนวการจัดกิจกรรมพัฒนารูปแบบซิปปา ประกอบด้วยเรื่อง นาฏยศัพท์ ภาษาท่านาฎศิลป์ และการคิดท่ารำประกอบเพลง จำนวน 3 แผนการเรียนรู้ 2) แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัตินาฏยศัพท์ ภาษาท่าและภาษานาฎศิลป์ 3) แบบประเมินความสามารถในการสร้างสรรค์ท่ารำประกอบบทเพลงคำนิยม 12 ประการ 4) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน ที่มีต่อการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยใช้รูปแบบซิปปา การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติวิเคราะห์ร้อยละค่าเฉลี่ย (x ̅) ) คำเยี่ยงเบนมาตรฐาน (S D.) การทดสอบด้วยสถิติเอฟ (F-Test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า
1) ความสามารถในการสร้างสรรค์ท่ารำประกอบบทเพลง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ด้วยการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยใช้รูปแบบซิปปาอยู่ในระดับดี (x ̅= 3.05, S.D. = 0.19)
2) ความสามารถในการปฏิบัตินาฏยศัพท์ ภาษาท่าและภาษานาฎศิลป์ ของนักเรียนชั้นประถศึกษาปีที่ 4-6 ด้วยการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยใช้รูปแบบซิปปาอยู่ในระดับดี (x ̅ = 27.68, S.D. = 1.76)
3) พัฒนาการ ในการปฏิบัตินาฏยศัพท์ ภาษาท่าและภาษานาฎศิลป์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ที่ใด้รับการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยใช้รูปแบบซิปปาสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (F= 105.499. P<.05)
4) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 มีความคิดเห็นต่อการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยใช้รูปแบบซิปปาอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.23, S.D. = 0.49)
This research aims to study the result of creative dance with song ability grade 4-6 student byactivity learner development by using CIPPA Model, to study the result of dance terminology practice and performing art language of primary school students grade 4-6 by activity arrangement to develop learners by using CIPPA Model, to study the development of primary school students grade 4-6 after participating Learner Development Activities with CIPPA model in order and to study the opinion of primary school students grade 4-6 to activity arrangement to develop learners by using CIPPA Model Sample in this research are 20 primary school students grade 4-6 who attend performing art assembly of Saiyokyai School, Kanchanaburi Province, second semester, and 2015 academic year, selected by volunteer sampling. The selecting standard is students who interested in performing art. This research is a quasi experimental research with the experimental patter of time series design for 10 weeks, each week contains 1 hour, thus it is 10
hours in total The experimental tools are 1) activity arrangement plan to develop learners of performing art assembly, the title is "Creative Performing Art’ by using CIPPA Model which composes of dance performing art language and dancing creation with music with 3 learning plans 2) ability assessment in the of dance terminology practice, dance language and performing art language 3) ability assessment in the creation of dance with music and 4) the questionnaire of the opinion of students to activity arrangement to develop learners by using CIPPA Model. data analysis by using the statistics to analyze mean (x ̅), the standard deviation (S.D.), F-Test, and One-Way ANOVA
The results found that
1. The result of the creation of dance with song of grade 4-6 students activity by activity learner development by using CPPA Model is in a good level (x ̅ = 3.05, S.D. = 0.19)
2 The result of dance terminology practice and performing art language of primary school students grade 4-6 by activity arrangement to develop learners by using CIPPA Model is in a good level (x ̅=27.68, S.D. = 1.76)
3. The development of primary school students grade 4-6 after participating Learner Development Activities with CIPPA model had higher development at the 0.05 level significance (F= 105.499 , P< .05)
4. The opinion of primary school students grade 4-6 to activity arrangement to develop learners by using CIPPA Model is in a much level (x ̅ = 4.23, S.D. = 0.49)
ประเภทผลงาน:
ชื่อปริญญา:
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชา:
สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ
เจ้าของลิขสิทธิ์:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
คอลเล็คชัน:
จำนวนดาวน์โหลด:
182