หยด
Author:
Advisor:
Subject:
Date:
2003
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Description:
โลหะ, แสตนเลส ขนาด 90x120x110 เซนติเมตร เป็นผลงานที่มีการพัฒนารูปแบบ และวิธีนำเสนอมายาภาพของวัตถุผ่านรูปทรง และการใช้ภาพสะท้อนของวัสดุ โดยการสร้างสรรค์รูปทรงจากโครงสร้างที่ได้จากธรรมชาติของหยดน้ำเป็นสื่อแสดงถึงความเลื่อนไหลกลอกกลิ้งของรูปทรง ที่แฝงอยู่ในธรรมชาติของน้ำที่หยดลงสูใบบัวผสมผสานเข้ากับโครงสร้างของรูปทรงเรขาคณิต (Geometric Form) สร้างสรรค์ให้เกิดรูปทรงใหม่ที่มีความเรียบง่าย เพื่อแสดงออกถึงระนาบพื้นผิวของปริมาตรของมวล (Mass Volume) รูปทรงโค้งมนกลมซึ่งมีลักษณะรูปทรงแบบเปิด โดยมีการเปิดช่องทางให้อากาศไหลเวียนตามทิศทางที่กำหนด ส่งผลให้เกิดความรู้สึกในพลังความเคลื่อนไหวแบบตรึงเครียดจากการเผชิญหน้ากันระหว่างที่ว่างบวกและที่ว่างลบ และให้ความรู้สึกถึงแรงอัดอากาศภายใน ที่พยายามดิ้นรนดันตัวออกสู่ภายนอกส่งผลให้เกิดแรงตึงผิวบนระนาบพื้นผิวคลายลูกโปงอัดอากาศ การเรียงตัวกันและการทับซ้อนกันของระนาบบนรูปทรงก่อให้เกิดเส้นใน(Intemal Contour)เป็นวงรัศมีซึ่งเป็นไปตามกฎของการช้ำ และลดลั่นกันไปตามจังหวะการแปรเปลี่ยน สร้างให้เกิดความรู้สึกถึงการขยายตัวใหญ่ขึ้นและหดตัวเล็กลงสลับกันไปเรื่อย ๆ จากใจกลางของรูปทรง มีผลต่อพลังการเคลื่อนไหวที่กระทำต่อที่ว่างภายนอก ผลสืบเนื่องจากการเปิดช่องเป็นรูโพรงเข้าสู่ภายในรูปทรงส่งผลให้เกิดการตัดกันอย่างรุนแรงของค่าน้ำหนักอ่อนแก่ระหว่างขาวกับดำ สร้างความเด่น(Dominance) ของรูโพรงให้มีน้ำหนักแก่ที่สะดุดตาในบริเวณระนาบของปริมาตรที่มีน้ำหนักอ่อนกว่าบนรูปทรง ทำให้รูโพรงเกิดความมืดดำที่ไม่สามารถคะเนถึงความลึกภายใน และการเปิดช่องเป็นรูโพรงทะลุตามทิศทางที่กำหนดเป็นตัวบังคับมุมมอง และพฤติกรรมของผู้ดูให้คล้อยตามไปกับทิศทางของรูปทรง ลักษณะพิเศษทางโครงสร้างของรูปทรงอยู่ที่การบิดตัวของเส้นแกนแนวดิ่ง และเส้นแกนแนวนอนเพื่อสลายโครงสร้างแบบสมมาตร (Symmetry) และทำให้โครงสร้างของรูปทรงเอียงตัวตามเส้นแกนแนวทะแยง (Diagonal Axis)ที่เกิดการจากการถ่วงน้ำหนักภายในรูปทรงให้มีผิวสัมผัสกับพื้นตามจุดที่กำหนด เพื่อสร้างให้เกิดพลังเคลื่อนไหวตามเส้นแนวทะแยงที่พุ่งตัวอย่างรวดเร็วเข้าสู่จุดตัดกันระหว่างเส้นแกนทางราบ (Horizontal Axis) และเส้นแกนทางตั้ง (Vertical Axis) ส่งผลให้เกิดความรู้สึกเบาและลอยตัว พร้อมกับการสั่นไหวคลายหยดน้ำที่กลิ้งกลอกไปตามทิศทางที่กำหนดอันเนื่องจากสำนึกตามธรรมชาติของผู้ดูเกี่ยวกับเส้นดิ่งและเส้นระดับที่กฎของแรงโน้มถ่วง (Low of Gravity) ด้วยสภาพพื้นผิวของระนาบและลักษณะเป็นมันวาวสะท้องแสงสว่าง สร้างบรรยากาศของน้ำหนักอ่อนแก่เลื่อนไหลแทรกตัวเคียงกันไปบนปริมาตรของรูปทรง ในบริเวณที่มีแสงตกกระทบเกิดจัหวะของแสงที่ตัดกันอย่างรุนแงกระแทกกระทั้น ให้ความรู้สึกตื่นเต้นคลายชีพจรของชีวิตที่เต้นละรัว ระนาบผิวสะท้อนโค้งเว้าของรูปทรงปริมาตรก่อให้เกิดการสะท้อนภาพจริงบิดเบือนลงบนผิวระนาบ การสะท้อนภาพบรรยากาศของที่ว่างรอบ ๆ ลงบนตัวรูปทรงทำให้เกิดการซ้อนทับด้วยมิติของที่ว่าง ปรากฏเป็นภาพของที่ว่างลวงบนพื้นผิวปริมาตรทางด้านเนื้อหาภายนอกเป็นสื่อสัญลักษณ์ถึงธรรมชาติของหยดน้ำที่สะท้อนโลกทั้งมวลลงไว้ภายใน และกลิ้งไปในใบบัว
Type:
Is part of:
วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาศิลปมหาบัณฑิต เรื่อง "โครงการออกแบบสร้างสรรค์ประติมากรรมติดตั้งอาคารสักการสถานพระมารดาแห่งมรณสักขี บ้านสองคอน อำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร เรื่อง รูปสักขีแห่งจิต"
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
32