รูปทรงความเจ็บปวดแห่งสังคมบริโภค หมายเลข 3
ผู้แต่ง:
ที่ปรึกษา:
หัวเรื่อง:
วันที่:
2003
สำนักพิมพ์:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
คำบรรยาย:
ไฟเบอร์กลาส โลหะ ขนาด 250x60x70 เซนติเมตร องค์ประกอบของรูปทรงประติมากรรม มีโครงสร้างหลักมาจากรูปทรงที่กำลังขยับ
ท่าทางที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ใช้ปกคลุมร่างกายของผู้หญิง ข้าพเจ้าได้กำหนดองค์ประกอบให้อยู่ใน
แนวเฉียงเล็กน้อย ใช้ทิศทางการบิดโค้งของโครงสร้างช่วงล่างกับช่วงบนให้แยกออกจากกัน
ซึ่งข้าพเจ้าได้แฝงนัยยะของรูปทรงกับแนวคิดจากการบรรจุภาชนะกับการถ่ายเทออกจากภาชนะ
เป็นการรวมรูปทรงกับความหมายใหม่ที่มีความสอดคล้องไปในทางเดียวกันทั้งในเรื่องเนื้อหาของ
รูปทรง ภาชนะบรรจุสิ่งของ (ถัง) รูปทรงผู้หญิง กับความหมายของพฤติกรรม การแสดงออกของ
คนในสังคมบริโภค ผลงานชิ้นที่ 3 ถูกกำหนดโครงสร้างหลักให้มีความเคลื่อนไหว (การหมุนตัว)
จากช่วงบนค่อย ๆ เคลื่อนตัวต่ำลงสู่ช่วงล่าง
องค์ประกอบที่เป็นส่วนรอง ถูกจัดวางให้รูปทรงของอวัยวะโคนขาหลังของวัว
วางตำแหน่งให้ทิศทางแยกออกจากกันของช่วงบนและช่วงล่างแยกจากกันในทิศทางรุนแรง
มากกว่า ซึ่งช่วงกลางของผลงานถูกจัดทับซ้อนให้บิดโค้ง ซึ่งเป็นช่วงของจุดในการแผ่ไหลของ
โครงสร้างจากบนลงล่าง
จังหวะและลีลาของรูปทรงได้กำหนดให้มีความเคลื่อนไหวต่อเนื่องอย่างพอเหมาะ
พอควร เป็นไปตามลักษณะของรูปทรงแต่ละส่วนที่ถูกสร้างให้เป็นภาชนะที่มีความอ่อนเหลว
ภายในถูกเจาะ (space) และมีรูปทรงที่แทงทะลุให้กลุ่มปริมาตรไหลย้อยลงมาสู่พื้นล่าง มีการ
สร้างจังหวะรายละเอียดซ้ำ ๆ กันลงมา ซึ่งก่อให้เกิดรูปทรงโครงสร้างควรหมุนไปมา
พื้นผิวถูกสร้างให้มีลักษณะที่เรียบแตกต่างกันไม่มากนัก ลักษณะของพื้นผิวสร้างแทน
ค่าความหมายใกล้เคียงกับวัตถุเดิม โดยรวมมีลักษณะความต่อเนื่องของปริมาตรและน้ำหนักของ
แสงเงาชัดเจน ซึ่งช่วยให้การมองเห็นทำหน้าที่ดึงดูดความสนใจสลับกันที่ประสานสัมพันธ์กัน
รูปทรงประติมากรรมนี้ ถูกกำหนดการจัดวางในลักษณะแทงทะลุ การทำงานของ
รูปทรงเป็นกลุ่มก้อนเชื่อมโยงกันทั้งหมด ทำให้องค์ประกอบโดยรวมมีทิศทางไปตามฟื้นที่ว่างของ
ตำแหน่งโครงสร้างเรขาคณิต ทำให้ผลงานประติมากรรมเคลื่อนไหวกับพื้นที่ว่างได้อย่างเหมาะสม
ประเภทผลงาน:
ปรากฎใน:
วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาศิลปมหาบัณฑิต เรื่อง "รูปทรงความเจ็บปวดแห่งสังคมบริโภค"
เจ้าของลิขสิทธิ์:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
คอลเล็คชัน:
จำนวนดาวน์โหลด:
117