การศึกษาข้อเสนอในการพัฒนาหลักสูตรภาษาอังกฤษ (English Program) โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยศิลปากร (ปฐมวัยและประถมศึกษา) ระดับปฐมวัย
Other Title:
The Study of Proposal for Develop of the English Program Curriculum at The Demonstration School of Silpakorn University (Early Childhood and Elementary) Early Childhood Level
Date:
2019
Publisher:
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันสำหรับการพัฒนาหลักสูตรภาษาอังกฤษ (English Program) ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร (ปฐมวัยและประถมศึกษา) ระดับปฐมวัย และ 2) เพื่อจัดทำข้อเสนอการพัฒนาหลักสูตรภาษาอังกฤษ (English Program) ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร (ปฐมวัยและประถมศึกษา) ระดับปฐมวัย โดยข้อเสนอการพัฒนาหลักสูตร คือ แนวทางและข้อเสนอแนะในการพัฒนาหลักสูตร กลุ่มผู้ให้ข้อมูล
ประกอบด้วย 1) ผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร (ปฐมวัยและประถมศึกษา) ปีการศึกษา 2558 จำนวน 123 คน 2) ชุมชน จำนวน 66 คน 3) ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 3 คน 4) หัวหน้าสายชั้นระดับปฐมวัยและประถมศึกษา จำนวน 9 คน 5) ตัวแทนผู้ปกครอง จำนวน 18 คน 6) คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 15 คน 7) สถานศึกษาที่เป็นตัวอย่าง (Best Practice) จำนวน 2 โรงเรียน 8) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านภาษาอังกฤษ จำนวน 2 คน และ 9) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษาปฐมวัย จำนวน 1 คน การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยและพัฒนาแบบผสมผสานวิธี (Mixed Methods Research) และดำเนินการตามขั้นตอนจำนวน 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาความคาดหวังและสภาพปัจจุบันของการพัฒนาหลักสูตรภาษาอังกฤษ (Analysis : A) และ ระยะที่ 2 การจัดทำข้อเสนอการพัฒนาหลักสูตรภาษาอังกฤษ (Design and Development : D&D) มีขั้นตอนดังนี้1) จัดทำข้อเสนอ 2) ประเมินข้อเสนอ 3) นำข้อเสนอแนะมาพิจารณาปรับปรุงแก้ไขและจัดทำเป็นหลักสูตรภาษาอังกฤษ (English Program) ฉบับสมบูรณ์เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ประเด็นการสนทนากลุ่ม แบบวิเคราะห์ข้อเสนอ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ และวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้วิธีการแจก
แจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันสำหรับการพัฒนาหลักสูตรภาษาอังกฤษ (English Program) ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร (ปฐมวัยและประถมศึกษา) ระดับปฐมวัย 1) ภาษาอังกฤษมีความจำเป็นต่อนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร (ปฐมวัยและประถมศึกษา) เพื่อยกระดับความเป็นสากลและเตรียมพร้อมเข้าสู่ AEC 2) ผู้สอนควรเป็นเจ้าของภาษา สัญชาติอังกฤษและอเมริกัน ที่เชี่ยวชาญการจัดการเรียนรู้มีเทคนิคที่ดีและเข้าใจนักเรียน 3) สัดส่วนการเรียนการสอนที่เป็นภาษาอังกฤษต่อการเรียนการสอนที่เป็นภาษาไทย ควรมีความสมดุลโดยชั้นอนุบาลปีที่ 1 ควรคิดเป็น ร้อยละ 50 : 50 ต่อสัปดาห์ ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 และ 3 ควรคิดเป็นร้อยละ 60 : 40 ต่อสัปดาห์ และระดับประถมศึกษาควรมีชั่วโมงภาษาอังกฤษ 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ 4) ในระดับปฐมวัยควรเน้นการสอนเพื่อให้เด็กมีทัศนคติที่ดีต่อภาษาอังกฤษและรู้จักยอมรับวัฒนธรรมที่แตกต่าง ลักษณะเรียนปนเล่น การทำงานต่างๆ เน้นการออกเสียง การสื่อสารให้มาก โดยเริ่มจากสิ่งต่างๆ รอบตัว กิจกรรม Multiple Intelligences และกิจกรรมบูรณาการ STEM
STEAM 5) ในระดับประถมศึกษาควรจัดการเรียนรู้ทุกรายวิชาเป็นภาษาอังกฤษ ยกเว้นวิชาภาษาไทย วิชาสังคมศึกษา วิชาพระพุทธศาสนา โดยดำเนินการจัดการเรียนรู้เน้นการสื่อสาร 5) ความคาดหวังต่อนักเรียนเมื่อสำเร็จการศึกษาคือกล้าแสดงออกในการใช้ภาษาอังกฤษและสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันได้อย่างมั่นใจ 6) การประเมินผลในระดับปฐมวัย ควรเป็นการวัดความพร้อมทางวิชาการ ด้านภาษาอังกฤษทั้งฟัง พูด อ่าน เขียน แต่ควรมีระดับที่แตกต่างของระดับชั้น ควบคู่กับการประเมินผลพัฒนาการทั้ง 4 ของเด็กปฐมวัย 7) การประเมินผลในระดับประถมศึกษา วัดความพร้อมทางวิชาการทางด้านภาษาอังกฤษ ประเมินผลตามระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการ และเพิ่มการสอบวัดความสามารถกับสถาบันที่เชื่อถือได้ 2. ผลการจัดทำข้อเสนอการพัฒนาหลักสูตรภาษาอังกฤษ (English Program) ผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นด้วยกับความสอดคล้องของหลักสูตรภาษาอังกฤษ (English Program) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อนำมาวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผู้ทรงคุณวุฒิให้ความคิดเห็นว่า เป็นหลักสูตรที่สะท้อนจุดเด่นและเอกลักษณ์ของการศึกษาในระดับปฐมวัยได้ดี เพราะการออกแบบหลักสูตรเป็นไปตามหลักการและความต้องการของผู้ปกครองและชุมชน
Type:
Award:
ผลงานโดดเด่น คณะศึกษาศาสตร์ ปีการศึกษา 2563
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
309