การพัฒนารูปแบบการสอนแบบเน้นภาระงานร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเชิงวิเคราะห์และทักษะการเขียนเพื่อการสื่อสาร
Other Title:
Effects of a task-based and cooperative learning model on English critical reading and communicative writing skills
Subject:
Date:
2016
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนแบบเน้นภาระงาน (TBL) ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ (CL) 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเชิงวิเคราะห์และการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการสอนแบบเน้นภาระงาน (TBL) ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ (CL) 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการสอนแบบเน้นภาระงาน (TBL) ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ (CL) และ4) เพื่อเปรียบเทียบระดับของการปฏิบัติทักษะสังคมก่อนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการสอนแบบเน้นภาระงาน (TBL) ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ (CL) กลุ่มตัวอย่างได้แก่นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทพศิรินทร์ ปีการศึกษา 2559 ได้มาจากการสุ่มห้องเรียน จานวน 1 ห้องเรียน 49 คน ทาการทดลองโดยให้นักเรียนทาแบบทดสอบก่อนเรียนบทเรียน จำนวน 10 หน่วยการเรียน โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบ การสอนแบบเน้นภาระงาน (TBL) ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ (CL) ใช้เวลาทั้งสิ้น 36 ชั่วโมง
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) รูปแบบการสอนแบบเน้นภาระงาน (TBL) ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ (CL) 2) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์และการเขียนเพื่อการสื่อสาร 3) แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบการสอนแบบเน้นภาระงาน (TBL) ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ (CL) และ4) แบบวัดทักษะสังคมของนักเรียนด้วยรูปแบบการสอนแบบเน้นภาระงาน (TBL) ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ (CL) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ t แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน
ผลการวิจัยพบว่า
1) ประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนแบบเน้นภาระงาน (TBL) ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ (CL) มีค่าเท่ากับ 76.03/76.39 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด75/75 2) ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเชิงวิเคราะห์ และการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียนสูงขึ้น หลังการเรียนด้วยรูปแบบการสอนแบบเน้นภาระงาน (TBL) ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ (CL)อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 3) นักเรียนมีความคิดเห็นที่ดีต่อรูปแบบการสอนแบบเน้นภาระงาน (TBL) ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ(CL) และ4) ระดับการปฏิบัติทักษะสังคมของนักเรียนมีความถี่เพิ่มมากขึ้น หลังจากเรียนด้วยรูปแบบการสอนแบบเน้นภาระงาน (TBL) ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ (CL) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
The purposes of the research were to: 1) develop and test the efficiency of a Taskbased
and Cooperative Learning Model on English critical reading and communicative writing skills
for grade-ten students at Debsirin School; 2) compare students’ English critical reading and
communicative writing abilities before and after using the model; 3) investigate students’ opinions toward the model; and 4) compare students’ level of social skill performance before and after using the model.
The sample, selected by a simple random sampling technique, comprises 49 grade-ten
students at Debsirin School during the second semester of academic year 2016. The students
studied 10 learning units with the Task-based and Cooperative Learning Model to enhance their
English critical reading and communicative writing skills. Each unit was conducted in 3 hours and the experiment covered 36 hours in total.
The instruments used for this research consisted of : 1) the instructional model of taskbased and cooperative learning; 2) an English critical reading and communicative writing
achievement test, used as a pretest and posttest; 3) an opinion questionnaire toward the
instructional model; and 4) a checklist of the social skill performance. Mean and standard
deviation of items were used to evaluate the students’ opinions toward the instructional model and their social skill performance. The paired-sample t-test was used to analyze the students’ abilities in English critical reading and communicative writing.
The research findings were as follows:
1. the efficiency score of the Task-based and Cooperative Learning Model was
76.03/76.39, which is higher than the expected criterion: 75/75.
2. the students’ English critical reading and communicative writing abilities after using the
instructional model were significantly higher at the 0.05 level.
3. the students’ opinions toward the instructional model were mainly positive.
4. the students’ level of social skill performance after using the instructional model was
significantly more frequent at the 0.05 level.
Type:
Degree Name:
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
Discipline:
สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
377