การพัฒนากิจกรรมเสริมประสบการณ์ด้วยการจัดประสบการณ์แบบโครงการร่วมกับข้อมูลท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดและแก้ปัญหาและทักษะการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัย

Other Title:
Development the supported experience activity by project approach with local information to promote thinking and problem solving ability and knowledge seeking skill of early childhood
Advisor:
Subject:
Date:
2016
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1.พัฒนากิจกรรมเสริมประสบการณ์ด้วยการจัดประสบการณ์แบบโครงการร่วมกับข้อมูลท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดและแก้ปัญหา:และทักษะการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยให้มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 2. ประเมินประสิทธิผลของการพัฒนากิจกรรมเสริมประสบการณ์ด้วยการจัดประสบการณ์แบบโครงการร่วมกับข้อมูลท้องถิ่น จากการศึกษาวิเคราะห์ ดังนี้ 2.1 ประเมินความรู้เรื่องข้อมูลท้องถิ่นของเด็กปฐมวัยให้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ขึ้นไป 2.2 ประเมินความสามารถในการคิดและแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย 2.3 ประเมินทักษะการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัย 2.4 ประเมินความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยที่มีต่อกิจกรรมเสริมประสบการณ์ด้วยการจัดประสบการณ์แบบโครงการร่วมกับข้อมูลท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปี ที่ 1 จำนวน 18 คน โรงเรียนชุมชนวัดเจ็ดเสมียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 ภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2559 จำนวน 1 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1.คู่มือกิจกรรมเสริมประสบการณ์แบบโครงการร่วมกับข้อมูลท้องถิ่น 2. แบบทดสอบวัดความรู้เรื่องข้อมูลท้องถิ่น 3. แบบประเมินความสามารถในการคิดและแก้ปัญหา 4. แบบประเมินทักษะการแสวงหาความรู้ 5. แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยที่มีต่อกิจกรรมเสริมประสบการณ์ด้วยการจัดประสบการณ์แบบโครงการร่วมกับข้อมูลท้องถิ่น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่า t-test แบบ One sample t-test และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า 1. การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์แบบโครงการร่วมกับข้อมูลท้องถิ่นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.68/89.41 2. ผลการประเมินประสิทธิผลของการพัฒนากิจกรรมเสริมประสบการณ์ด้วยการจัดประสบการณ์แบบโครงการร่วมกับข้อมูลท้องถิ่นดังนี้ 2.1 ผลการทดสอบความรู้เรื่องข้อมูลท้องถิ่น พบว่า ความรู้เรื่องข้อมูลท้องถิ่นของเด็กปฐมวัยสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ขึ้นไป อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2 ผลการประเมินความสามารถในการคิดและแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยโดยภาพรวมอยู่ในระดับปฏิบัติได้มากในทุกด้าน เรียงตามลำดับ คือ ด้านพยายามแก้ปัญหาด้วยตนเองหลังจากได้รับคำชี้แนะ ด้านรู้จักตัดสินใจในเรื่องง่ายๆและเริ่มเรียนรู้ผลที่เกิดขึ้น และด้านจำแนกสิ่งของได้ตามสี รูปทรง ขนาด 2.3 ผลการประเมินทักษะการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยในภาพรวมปฏิบัติได้มากในทุกด้าน เรียงตามลำดับ คือ ด้านร่วมกิจกรรมด้วยความสนใจได้นานขึ้นอย่างมีความสุข ด้านมีความสนใจในการอ่าน เขียน ด้านแสวงหาคา ตอบ ข้อสงสัย ด้วยวิธีการต่างๆ ด้านเชื่อมโยงความรู้และนามาใช้ในชีวิตประจำวันได้ และด้านถามคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่สนใจ 2.4 ความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยที่มีต่อกิจกรรมเสริมประสบการณ์ด้วยการจัดประสบการณ์แบบโครงการร่วมกับข้อมูลท้องถิ่นโดยภาพรวมมีความคิดเห็นชอบทุกด้าน ได้แก่ ด้านเนื้อหา ด้านการจัดกิจกรรมการสอน และด้านบรรยากาศ
The purpose of this research were 1. to develop supported experience activity by project approach with local information to promote thinking and problem solving ability and knowledge seeking skill become more efficient according to
standard 80/80. 2. to assess the efficiency of the supported experience development by project approach with local information by analyze the information as the following 2.1 Assess the local information knowledge of early childhood along the standard more than 80% up. 2.2 Assess thinking and problem solving ability of early childhood. 2.3 Assess the knowledge seeking skill of early childhood. 2.4 Assess the early childhood’s opinions which affected to the supported experience activity by project approach with local information. The sample were 18 kindergarten-one students from Chumchonwatchetsamian School, Ratchaburi Primary Educational Service Area Office 2, second semester, and academic year 2016. The research instruments consisted of 1. The supported experience activity by project approach with local information manual 2. Local information knowledge test 3. Thinking and problem solving ability assessment form 4. Seeking skill assessment form 5. Childhood’s opinion interview form toward the supported experience activity by project approach with local information. These information were analyzed by percentage (%), average (x̅), standard deviation (S.D.), one sample t-test and content analysis.
The research finding revealed that 1. The manual of the supported experience activity development by project approach with local information efficiency is 87.68/89.41. 2. The results of efficiency assessment were 2.1 the local information knowledge of childhood were more than the standard which assigned at the primary 80% and statistically significant level was 0.05 2.2 the thinking and problem solving ability assessment was likely to be good in every sections which were trying to solve the problem by themselves after advice, able to make an easy decision and start to learn the effect, and thing classifying by color, shape and size. 2.3 The seeking skill of childhood assessment was quite good in every section. They could pay attention in their activities with happiness, interested in reading and writing, found the answers by their own way, connected the knowledge and used in their daily life, and asked the question about their interested topic. 2.4 The childhood’s opinions about the supported experience activity by project approach with local information were quite good in all sections including content, supported activity and atmosphere.
Type:
Degree Name:
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
Discipline:
สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
233