แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนบ้านไร่ อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี
Other Title:
Teachers’ motivation of Banrai School Thongphaphum Districe , Kanchanaburi Province
Author:
Subject:
Date:
2016
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนบ้านไร่ อำเภอ ทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี 2) แนวทางการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนบ้านไร่ อำเภอ ทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (descriptive research) ซึ่งใช้บุคลากร ในโรงเรียนบ้านไร่ อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นหน่วยวิเคราะห์ (Unit of analysis) รวมผู้ให้ข้อมูล ทั้งสิ้น 27 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ตามแนวคิดของ เฮอร์ซเบิร์กและคณะ (Herzberg and other) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนบ้านไร่ อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ปัจจัยจูงใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อพบว่าอยู่ใน ระดับมากทุกข้อ โดยเรียงค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ความสำเร็จในการทำงาน ลักษณะของงาน ความรับผิดชอบ การได้รับการยอมรับนับถือ โอกาสที่จะได้รับความก้าวหน้าในอนาคตและความก้าวหน้า ในตำแหน่งงาน ส่วนปัจจัยค้ำจุน พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อพบว่าอยู่ในระดับมาก 9 ข้อ โดยเรียงค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อย ดังนี้ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ฐานะของอาชีพ ความเป็นอยู่ ส่วนตัว ความมั่นคงในงาน ความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา เงินเดือน ความสัมพันธ์กับผู้ใต้บังคับบัญชา สภาพ การทำงาน วิธีการปกครองบังคับบัญชา และระดับปานกลาง 1 ข้อ คือ นโยบายและการบริหารงานขององค์กร 2. แนวทางการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนบ้านไร่ อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ด้านปัจจัยจูงใจ พบว่า ผู้บริหารควรเปิดโอกาสให้ครูทำงานที่ได้รับมอบหมายตามความถนัด ของตนเองจนประสบความสำเร็จ ยอมรับฟังความคิดเห็น ส่งเสริมสนับสนุนจัดหาอุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวก ในการปฏิบัติงาน เปิดโอกาสให้ครูเข้ารับการอบรม สัมมนาเพื่อพัฒนาทักษะวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมให้ครู ได้ทำวิทยฐานะ สอบเลื่อนตำแหน่งและสอบย้ายได้อย่างอิสระ ด้านปัจจัยค้ำจุน พบว่า ผู้บริหารควรชี้แจงนโยบาย ของโรงเรียนให้ชัดเจน เปิดโอกาสให้ครูได้มีส่วนร่วมในการวางแผนงาน สนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สร้างสัมพันธ์ ภาพที่ดีต่อกัน บริหารงานด้วยความเป็นธรรม มีการจัดสรรเงินเดือน ค่าตอบแทนและสวัสดิการต่างๆ อย่างเหมาะสม ประกาศเกียรติคุณ ยกย่อง ชมเชย เชิดชูเกียรติเมื่อครูได้รับความดีความชอบ
The purposes of this research were to find: 1) the teachers’ motivation of Banrai School, Thong Pha Phum District, Kanchanaburi Province, and 2) to study the guidelines for enhancing the motivation in work performance of the teachers at Banrai School, Thong Pha Phum District, Kanchanaburi Province. This research is a descriptive research using the staff members of Banrai School, Thong Pha Phum District, Kanchanaburi Province as a unit of analysis. The informants are totally 27 people. The research tool is a questionnaire about the motivation for work performance in accordance with the concept of Herzberg and others. Statistics used in data analysis are frequency, percentage, arithmetic mean , standard deviation, and content analysis. The findings of this research were as follow: 1. The motivation in work performance of the teachers at Banrai School, Thong Pha Phum District, Kanchanaburi Province was in a high level overall. When considering in each aspect, it was found that motivation factors every topic was in the high level. When considering individual it was found that every high. The arithmetic mean was sorted by the descending order as followed; Achieverment, Work itself, Responsibility, Recognition, Possibility of growth, and Advancement. For the hygiene factors, it was found that overall it was in the high level. When considering in each topic, it was found that 9 topics were in the high level sorted by the arithmetic mean in the descending order as followed; Interpersonal relation with peers, Status, Personal life, Job security, Interpersonal relation with superior, Salary, Interpersonal relation with subordinate, Working condition, and Supervision technical. And in the average level there was 1 topic about Company policy and administration. 2. For the motivation factor on the guidelines for enhancing the motivation in work performance of the teachers at Banrai School, Thong Pha Phum District, Kanchanaburi Province, it was found that school executives should give the teachers the opportunity to succeed the assignments with their skills. They should be open-minded and supportive, procure working equipment and facilities, give the chance for teachers to attend the training courses and seminars in order to improve their professional skills, and support the teachers to do the academic standing, get a promotion and move a location freely. For the supporting factor, it was found that school executives should clarify school policies, allow teachers to participate in planning, support, help and give the teachers some advices, create a good relationship with each other, administrate with fairness, provide salary, remuneration and other welfares appropriately, give the honour and praise to the teachers when they have cultivated goodness.
Type:
Degree Name:
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
Discipline:
สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
199