การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการชุมชน ตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์
Other Title:
POTENTIAL DEVELOPMENT FOR COMMUNITY ENTERPRENEURS BASED ON THE CONCEPT OF CREATIVE ECONOMY
Author:
Subject:
Date:
2559-12-14
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ ตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ 2) เพื่อศึกษาศักยภาพและปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการประกอบกิจการวิสาหกิจชุมชน.3) เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการชุมชน ตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ 4) เพื่อประเมินผลและถอดบทเรียนรูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการชุมชน ตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เป็นการวิจัยและพัฒนา ลักษณะของวิธีการวิจัยแบบผสมผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกการสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสนทนากลุ่มแบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการชุมชนฯ แบบประเมินความรู้ก่อนและหลังได้รับการอบรม แบบประเมินผลการอบรมแบบสอบถามทดสอบผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ แบบสอบถามการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบสอบถามประเมินรูปแบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์สำหรับผู้เชี่ยวชาญแนวทางการสนทนากลุ่มและการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนส่วนใหญ่มีการจัดตั้งกลุ่ม โดยการรวมตัวกันผลิตสินค้าเกษตรแปรรูป โดยมีแนวคิด คือ การนำวัตถุดิบภายในชุมชนที่เหลือจากการจำหน่ายมาแปรรูปเพิ่มมูลค่า เป็นการสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน แต่ยังขาดความรู้ ความเข้าใจในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์
2. ศักยภาพและปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จ คือ การมีส่วนร่วมของสมาชิกภายในกลุ่ม มีกฎระเบียบ แบ่งบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบอย่างชัดเจน อีกทั้งมีผู้นำที่มีความรู้ ความสามารถ ได้รับการยอมรับจากคนในชุมชน ส่งผลให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนประสบความสำเร็จในการดำเนินงานของกลุ่ม
3. ผู้วิจัยกำหนดรูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการชุมชน ตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยใช้รูปแบบ “Social Creative Potential Development Model” (SCPD Integrated Model) เป็นการสร้างการพัฒนาผู้ประกอบการฯ ให้สอดรับกับบริบทการพัฒนาของแต่ละพื้นที่ และมีการจัดอบรมหัวข้อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการชุมชน ตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ ตามแนวคิดผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ โดยกลุ่มวิสากิจชุมชนได้ทำการพัฒนาผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ (ต้นแบบ) ดังนี้ 1) กลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มอาชีพผลไม้สด และผลผลิตเกษตรแปรรูป จังหวัดนครปฐม พัฒนาผลิตภัณฑ์ คือ เค้กเพลินบานาน่า (เค้กกล้วยหอมทองผสมข้าวไรซ์เบอรี่ สอดไส้คัสตาร์ดรสกล้วย) ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริโภคมีแนวโน้มในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ระดับมาก 2) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม พัฒนาผลิตภัณฑ์ คือ ข้าวเกรียบเห็ด 3 อย่าง ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริโภคมีแนวโน้มในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ระดับมาก
4. การประเมินศักยภาพผู้ประกอบการชุมชน ตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ จำนวน 20 ข้อ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และผลการถอดบทเรียน พบว่า ช่วงแรกของการลงพื้นที่วิจัย สมาชิกยังไม่เข้าใจถึงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการชุมชน เมื่อผู้วิจัยได้เข้าไปพบปะสนทนา จึงเริ่มให้ความสำคัญเรื่องแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทำให้มีส่วนร่วมเกิดกระบวนการสร้างเครือข่ายทางสังคม ทั้งนี้กลุ่มได้บทเรียนที่สำคัญในการปรับปรุงและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้น ซึ่งผู้วิจัยได้ทำการออกแบบรูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการชุมชน ให้มีความรู้ความสามารถ ในการผลิตผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ หากสามารถตอบสนองการทำงานจริงหรือผู้นำไปปฏิบัติสามารถเห็นชัดเป็นรูปธรรมที่ก่อเกิดประโยชน์ได้จะทำให้งานวิจัยนี้ทรงคุณค่ามากขึ้น และควรค่าแก่การนำเสนอ เผยแพร่ให้แก่ผู้สนใจได้ร่วมศึกษาเรียนรู้ต่อไป
The purposes of this research were 1) study the knowledge of potential development for community entrepreneurs based on the concept of creative economy, 2) study the potentials and factors leading to successful community enterprises, 3) develop the model of potential development for community entrepreneurs and 4) estimate and do the lessen learnt towards the models of potential development for community entrepreneurs in accordance with the concept of creative economy.
This research is considered Research and Development study (R & D) using the mixed research methods; quantitative and qualitative. The research instruments are participant observation, in-depth structured interview, evaluation form designed based on suitable models of potential development for experts, group interviews and content analysis.
There are several points deserved to include in the research findings as follows;
1. The majority of community enterprises produce processed agricultural products. Their concept is to increase the value of leftover agricultural products by preservation process. However, they do not have enough knowledge and understanding on the product development based on the concept of creative economy.
2. The potential and factor of achievement is the participation of group members especially, when all of them are clear on their roles and responsibilities. Additionally, the group leader also takes the important role to gain the social acceptance allowing she or he to direct the group to success.
3. The researcher utilizes the model of potential development for community entrepreneurs entitled “Social Creative Potential Development Model” (SCPD Model) which can be applicable in different context of development. The trainings on potential development for community entrepreneurs by using Social Creative Potential Development Integrated Model (SCPD Integrated Model) were organized to indicate two participating community entrepreneur groups located in Nakhonprathom Province.
4. According to the 20-questions evaluation on potential development for community entrepreneurs, the scores both groups get are considered high. The lesson learnt of this study is community entrepreneurs in the beginning did not understand the concept of creative economy. The researcher therefore took opportunities to talk to and discuss with them until they could recognize the importance of creative economy, the application of creative economy into product development and the establishment of social network. The research significance is the development of potential development model for community entrepreneurs, which is creative, practical and user-friendly. Community entrepreneurs can utilize the model for developing their products. The model is supposed to be distributed publicly for the sake of social and economic development once and for all.
Type:
Discipline:
พัฒนศึกษา แบบ 2.1 ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
Collections:
Total Download:
117