การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่เสริมสร้างทักษะการให้เหตุผล การแก้ปัญหา และการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
Other Title:
THE DEVELOPMENT OF AN INSTRUCTIONAL MODELTO ENHANCE REASONING, PROBLEM SOLVING AND COMMUNICATION SKILLS IN MATHEMATICS OF ELEVENTH GRADE STUDENTS
Author:
Subject:
Date:
2559-12-22
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและทดสอบประสิทธิภาพของพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการรูปแบบการเรียนการสอน 2.1) เปรียบเทียบทักษะการให้เหตุผล ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอน 2.2) เปรียบเทียบทักษะการแก้ปัญหาก่อนและหลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอน 2.3) เปรียบเทียบทักษะการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอน และ 3) เพื่อศึกษา ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอน เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยกำหนดรูปแบบการทดลองแบบ หนึ่งกลุ่มทดสอบก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนสมุทรสาครวิทยาลัย จำนวน 24 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ คู่มือการใช้รูปแบบการเรียนการสอน แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบทักษะการให้เหตุผล การแก้ปัญหา และการสื่อสารทางคณิตศาสตร์และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบ การเรียนการสอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระและการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1. รูปแบบการเรียนการสอนที่เสริมสร้างทักษะการให้เหตุผล การแก้ปัญหา และการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีชื่อว่า “RICH Model” ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบเชิงหลักการและวัตถุประสงค์ องค์ประกอบเชิงกระบวนการ ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ขั้นทบทวน (Reviewing: R) เป็นขั้นทบทวนพื้นฐานความรู้เดิม เพื่อเชื่อมโยงความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ 2) ขั้นสืบเสาะ (Inquiring: I) เป็นขั้นสืบเสาะ หาข้อมูลเพื่อวางแผนแก้ปัญหา 3) ขั้นสร้างสรรค์และตรวจสอบ (Creating and Checking: C) เป็นขั้นที่ออกแบบกระบวนการและตรวจสอบ และ 4) ขั้นฝึกปฏิบัติให้เกิดความชำนาญ (Habituating : H) เป็นขั้นที่ฝึกปฏิบัติบ่อยๆ ซ้ำ ๆ ให้เกิดทักษะและองค์ประกอบเชิงเงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ โดยที่ผลการทดสอบค่าประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ได้ E1/E2 เท่ากับ 80.07/83.90 ตามเกณฑ์ 80/80
2. หลังการทดลองใช้รูปแบบ พบว่าผู้เรียนมีทักษะการให้เหตุผลการแก้ปัญหาและการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ หลังเรียนตามรูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนโดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด
4. ผลการขยายผล พบว่า หลังการทดลองใช้รูปแบบ พบว่าผู้เรียนมีทักษะการให้เหตุผล การแก้ปัญหาและการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ หลังเรียนตามรูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 และความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนโดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด
The purposes of this research were 1) to develop an effectiveness of the mathematics instructional model enhancing reasoning, problem solving and communication skills, and 2) to study the effectiveness of mathematics instructional model. The samples in this research were 24 students that selected by simple random sampling. The research instruments were an instructional model, a manual for using an instructional model; lesson plans, achievement test and questionnaire. The data were analyzed by mean ( ), standard deviation (S.D.), a dependent t-test and content analysis.
The results of the study were:
1. the mathematics instructional model for enhancing reasoning, problem solving and communication skills in mathematics called “RICH Model” was consisted of principle, objective, learning process and condition of application. In term of learning process included reviewing (R), inquiring (I), creating and checking (C), habituating (H). The efficiency of the RICH mathematics instructional model met the criterion of 80.07/83.90, that was higher than the required criterion.
2. reasoning, problem solving and communication skills of students after using this mathematics instructional model were statistically significant higher than before the instruction at .01 level.
3. the opinion of the students toward the instruction with the developed mathematics instructional model was at the highest agreement level.
4. according to the disseminating, reasoning, problem solving and communication skills after implementing the mathematics instructional model were statistically significant higher than before the instruction at .01 level and the opinion of the students toward the instruction with the developed mathematics instructional model were at the highest agreement level.
Type:
Discipline:
หลักสูตรและการสอน(หลักสูตรและการนิเทศ) แบบ 2.1 ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
Collections:
Total Download:
195