การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการคิดสร้างสรรค์ของ Plsek ร่วมกับ ทฤษฎีเชาวน์ปัญญาสามองค์ประกอบของ Sternberg เพื่อเสริมสร้างความสามารถ ในการเขียนเล่าเรื่องเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต
Other Title:
THE DEVELOPMENT OF LEARNING MODEL USING PLSEK’S CREATIVE THINKING PROCESS AND STERNBERG’S TRIARCHIS THEORY OF HUMAN INTELLIGENCE TO ENHANCE CREATIVE NARRATIVE WRITING ABLITIES OF UNDERGRADUATE STUDENTS
Author:
Subject:
Date:
2560-05-05
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างรูปแบบการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการคิดสร้างสรรค์ของ Plsek ร่วมกับทฤษฎีเชาวน์ปัญญาสามองค์ประกอบของ Sternberg เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนเล่าเรื่องเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต 2) ศึกษาประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการเรียนรู้กระบวนการคิดสร้างสรรค์ของ Plsekร่วมกับทฤษฎีเชาวน์ปัญญาสามองค์ประกอบของ Sternberg เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนเล่าเรื่องเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต การวิจัยนี้เป็นการวิจัย และพัฒนา (Research and Development) แบบแผนการวิจัยแบบการจำลองการทดลอง (Pre - Experimental Design) ซึ่งเป็นการศึกษากลุ่มทดลองแบบกลุ่มเดียวที่วัดแบบทดสอบก่อน และหลังการทดลอง (The One Group Pretest – Posttest Design) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาจากวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดสร้างสรรค์ของ Plsek ร่วมกับทฤษฎีเชาวน์ปัญญาสามองค์ประกอบของ Sternberg 2) คู่มือการใช้รูปแบบ 3) แผนการจัดการเรียนรู้ 4) แบบทดสอบวัดความสามารถในการเขียนเล่าเรื่องเชิงสร้างสรรค์ และเกณฑ์การวัด 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตที่มีผลต่อรูปแบบการเรียนรู้ และแบบบันทึกสะท้อนการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ด้วยการทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระ (t - test dependent) และ การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการคิดสร้างสรรค์ของ Plsek ร่วมกับทฤษฎีเชาวน์ปัญญาสามองค์ประกอบของ Sternberg เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนเล่าเรื่องเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตมีองค์ประกอบหลัก คือ 1) หลักการของรูปแบบการเรียนรู้ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบการเรียนรู้ 3) กระบวนการเรียนรู้ ประกอบด้วยกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1 ขั้นเริ่มก่อความคิด ขั้นที่ 2 ขั้นเตรียมผลิตผลงาน ขั้นที่ 3 ขั้นบูรณาการสัมพันธ์ ขั้นที่ 4 ขั้นสร้างสรรค์งานเขียน ขั้นที่ 5 ขั้นพากเพียรสร้างสรรค์ และ4) การวัด และประเมินผลของรูปแบบการเรียนรู้
2. ประสิทธิผลของรูปแบบ ผลจากการทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้ พบว่า
2.1 กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการเขียนเล่าเรื่องเชิงสร้างสรรค์หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.2 ความพึงพอใจของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการคิดสร้างสรรค์ของ Plsek ร่วมกับทฤษฎีเชาวน์ปัญญาสามองค์ประกอบของ Sternberg เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนเล่าเรื่องเชิงสร้างสรรค์พบว่า นักศึกษามีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนรู้ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
The purposes of this research were to: 1) construct a learning model by using Plsek’s creative thinking concept and Sternberg’s Triarchis theory of human intelligence to enhance creative narrative writing. 2) study the effectiveness of learning model by using Plsek’s creative thinking concept and Sternberg’s Triarchis theory of human intelligence to enhance creative narrative writing. The research was a pre-experimental study, involving the one group pretest – posttest design. The sample in this research consists of thirty second-year undergraduate students majoring in the Thai language from the Faculty of Education, Silpakorn University. The sample was collected by simple random sampling. The research instruments were 1) learning model by using Plsek’s creative thinking concept and Sternberg’s Triarchis theory of human intelligence to enhance creative narrative writing. 2) handbook for a learning model 3) lesson plans 4) creative narrative writing test and writing criteria. 5) satisfaction questionnaire and reflective journal. The data is analyzed by using mean ( ), standard deviation (S.D.), t- test dependent and content analysis.
The findings of this study are as follows:
1. Regarding the learning model by employing Plsek’s creative thinking concept and Sternberg’s Triarchis theory of human intelligence to enhance creative narrative writing of undergraduate students, this model consists of four components which are; 1) principle of learning model 2) objective of learning model 3) learning activity (consisting of 5 steps, which are; (i) activating ideas – finding out more information; (ii) preparing for production; (iii) Relatively integrating the ideas; (iv) creating the written work; and (v) creatively innovating the written work) and 4) evaluation of learning model.
2. The findings according to effectiveness of the learning model are as follows:
2.1 The average post- test score of creative narrative writing abilities of the subjects are significantly higher than that of the pre-test score at .05 level.
2.2 With regards to the satisfaction of undergraduate students towards Plsek’s creative thinking concept and Sternberg’s Triarchis theory of human intelligence to enhance creative narrative writing, the students are highly satisfied with the Plsek’s concept and Sternberg’s Triarchis theory.
Type:
Discipline:
หลักสูตรและการสอน(การสอนภาษาไทย) แบบ 2.1 ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
Collections:
Total Download:
317