รูปแบบความเป็นองค์กรนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของธนาคารพาณิชย์ไทย
ชื่อเรื่องอื่น:
AN INNOVATIVE ORGANIZATION MODEL FOR HUMAN RESOURCE DEVELOPMENT IN THAI COMMERCIAL BANKS
ผู้แต่ง:
หัวเรื่อง:
วันที่:
2559-08-01
สำนักพิมพ์:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
บทคัดย่อ:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพความเป็นองค์กรนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของธนาคารพาณิชย์ไทย และ 2.วิเคราะห์องค์ประกอบตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความเป็นองค์กรนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของธนาคารพาณิชย์ไทย การศึกษาครั้งนี้ได้ศึกษากับธนาคารพาณิชย์ไทยจำนวน 14 แห่ง ซึ่งใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณใช้สถิติขั้นสูง เพื่อทดสอบความสอดคล้องของโมเดลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นองค์กรนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของธนาคารพาณิชย์ไทย และการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อสกัดหาปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นองค์กรนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของธนาคารพาณิชย์ไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เก็บข้อมูลเชิงปริมาณ 14 แห่ง ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 400 คน พิจารณาจากเกณฑ์พารามิเตอร์
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการณ์องค์กรนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของธนาคารพาณิชย์ไทย ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรบุคคลในฐานะที่เป็นทุนมนุษย์ ที่สำคัญขององค์กร ธนาคารพาณิชย์จึงได้กำหนดแนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ไว้ในวิสัยทัศน์ขององค์กร โดยมีความเชื่อพื้นฐานขององค์กรว่าความสามารถในการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลภายในองค์กรให้มีประสิทธิภาพผ่านกระบวนการเสริมศักยภาพด้านต่างๆ เช่น การให้ความรู้ การศึกษา การอบรม และการฝึกทักษะให้เกิดความชำนาญ จะเป็นการสร้างวัฒนธรรมองค์กร และนำไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ได้ในที่สุด และ 2) รูปแบบความเป็นองค์กรนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของธนาคารพาณิชย์ไทย ให้ชื่อว่า “KOCI Model ” โดยรูปแบบประกอบด้วย วิสัยทัศน์ (vision) พันธกิจ (mission) และ เป้าหมาย (goal) และองค์ประกอบขององค์กรนวัตกรรม โดยมีองค์ประกอบย่อย ดังนี้ 1) K = Knowledge Management (การจัดการความรู้) 2) O = Organizational Learning (องค์กรแห่งการเรียนรู้) 3) C = Cultural Learning (วัฒนธรรมการเรียนรู้) 4) I = Innovational Organization (องค์กรนวัตกรรม) ทุกองค์ประกอบมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ค่าความน่าเชื่อถือได้ของการวัดอยู่ในระดับสูง ผลการตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดล พบว่า โมเดลมีความเหมาะสมพอดีสอดคล้องกับข้อมูล (x^= 121.79, p = 0.06844,GFI= 0.96, AGFI = 0.95, RMSEA = 0.02, CN = 437.38)
The purposes of this research were to 1) study the condition of the innovative organization for human resource development of Thai commercial banks, and 2) develop and examine the consistency of confirmatory factor analysis model of casual factors influencing the innovative organization for human resource development of Thai commercial banks. The research based on 14 samples of Thai commercial banks. The data was collected from 400 officers, selected by way of parameters, by the questionnaires. The quantitative research methodology and advance statistics were used in this research to test the consistency of confirmatory factor analysis model of casual factors influencing the innovative organization for human resource development of Thai commercial banks. The qualitative research methodology, especially document analysis and in-depth interview, were also used to analyze the factors influencing the innovative organization for human resource development of Thai commercial banks.
The results of this research revealed that 1) the condition of the innovative organization for human resource development of Thai commercial banks emphasizes on the human resource development as the important human capital of the organization. Thai commercial banks consequently contain the human resource development plan in the vision of organization. Thai commercial banks have the basic beliefs that the capability of the efficient human resource management can be developed by the process of proficiency development such as training, learning and skills training, which beget the organizational culture and eventually lead to the learning organization. 2) The model of the innovative organization for human resource development of Thai commercial banks, called “KOCI Model”, consists of vision, mission, and goal. The elements of the innovative organization consist of 1) K = Knowledge Management , 2) O = Organizational Learning, 3) C = Cultural Learning, and 4) I = Innovative Organization. All elements are statistically significant at the .05 level and have the measure reliability in high level. The result of the model consistency examination revealed that model suits to the empirical data. (x^= 121.79, p = 0.06844, GFI= 0.96, AGFI = 0.95, RMSEA = 0.02, CN = 437.38)
ประเภทผลงาน:
สาขาวิชา:
พัฒนศึกษา แบบ 2.1 ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
คอลเล็คชัน:
จำนวนดาวน์โหลด:
189