การจัดการทรัพยากรมรดกวัฒนธรรมร่วมสมัย : การนำเสนอภาพตัวแทนความเป็นลาว ในยุคจินตนาการใหม่ผ่านภาพยนตร์สะบายดีหลวงพะบาง
Other Title:
CONTEMPORARY CULTURAL HERITAGE RESOURCE MANAGEMENT : REPRESENTATION OF THE NEW THINKING OF LAO PDR IN THE "GOOD MORNING LUANG PRABANG" MOVIE
Author:
Subject:
Date:
2559-08-03
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการค้นหาว่า นโยบาย “จินตนาการใหม่” (New Thinking) ของ สปป.ลาว ที่เริ่มต้นมาตั้งแต่ พ.ศ. 2529 ส่งผลต่อรูปแบบความร่วมมือในการสร้างภาพยนตร์สะบายดีหลวงพะบาง ภายใต้กรอบแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างไร และภาพตัวแทนความเป็นลาวถูกนำเสนอผ่านภาพยนตร์ “สะบายดีหลวงพะบาง” ออกมาอย่างไร ผลการศึกษาพบว่า ความสำเร็จที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างผู้กำกับภาพยนตร์ไทย ภาคเอกชนชายแดนไทย กับภาคเอกชนลาวในการสร้างภาพยนตร์สะบายดีหลวงพะบาง เผยให้เห็นศักยภาพของทุนทางเศรษฐกิจในบริเวณพื้นที่ชายแดนที่สามารถผลักดันให้เกิดอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ข้ามชาติได้โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาทรัพยากรหรือนโยบายรัฐจากส่วนกลาง
จากการศึกษาเนื้อหาของภาพยนตร์พบว่า การนำเสนอภาพตัวแทนความเป็นลาวในภาพยนตร์ เกิดขึ้นจากการคัดเลือก พื้นที่ การแสดง และวัฒนธรรมวัตถุมาใช้เป็นเครื่องมือในการขีดเส้นแบ่งพรมแดน (drawing of boundaries) ให้อัตลักษณ์ความเป็นลาวนั้นกลายเป็นสิ่งที่มีลักษณะเฉพาะโดยผ่านองค์ประกอบ เช่น ฉาก ตัวละคร และบทสนทนา ในภาพยนตร์ ซึ่งจะอยู่ภายใต้วาทกรรม 3 ประเภท คือ วาทกรรมธรรมชาติและประเพณี วาทกรรมโลกาภิวัตน์ และวาทกรรมสังคมนิยม โดยวาทกรรมธรรมชาติและประเพณีมีอิทธิพลต่อการคัดเลือกพื้นที่ การแสดง และวัฒนธรรมวัตถุมานำเสนอเป็นภาพตัวแทนความเป็นลาวในยุคจินตนาการใหม่มากที่สุด ขณะที่วาทกรรมสังคมนิยมมีอิทธิพลน้อยที่สุด
ในส่วนของผลกระทบ นอกจากผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้มีส่วนร่วมในการผลิตภาพยนตร์โดยตรงแล้ว ภาพตัวแทนความเป็นลาวที่ถูกนำเสนอผ่านภาพยนตร์ ยังกลายเป็นคู่มือเบื้องต้นในการเดินทางท่องเที่ยวใน สปป.ลาว สำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวระหว่างลาว-ไทย และเป็นอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ข้ามชาติชนิดหนึ่งที่ผลักดันให้เกิดอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ประเภทอื่นๆ ใน สปป.ลาว This research aims to understand how the 1986 “New Thinking” policy of Lao’s People Democratic Republic (Lao PDR) influenced the production of “Good Morning Luang Prabang” movie in 2008 and how the Lao identity was represented through this movie. The major theoretical concepts used in the analysis are Creative Economy and Representation. The research findings reveal that, on the part of movie makers, the success of “Good Morning Luang Prabang” resulted from the new economic and cultural cooperation between Thai filmmakers, local Thai businessman on the Thai-Lao border, and local businessman in Lao PDR. The movie demonstrates the private sector’s potential to drive creative economy across the border independently without the assistance of state policy or resources.
From content analysis of the movie, the representation of Lao identity has been constructed through a careful selection of certain cultural heritage resources in the forms of space, performance and material culture as the means to draw distinctive boundaries for Lao identity. This process has been implemented through the interaction of major elements of the movie, namely, the scenes, characters and dialogues. Space, performance and material culture have been woven together to represent Lao identity in the New Thinking age under three major discourses of Nature and Tradition, Globalization, and Socialism. The Nature and Tradition discourse has the greatest influence over the identification of space, performance and material culture that represent Lao identity while Socialism discourse has the least influence.
Beside benefiting those who directly participated in the making of “Good Morning Luang Prabang”, this movie has become a “guidebook” for travelling in Lao PDR for Thai tourists and has certainly benefitted the Thai-Lao tourism industry. It has also become a “transnational creative industry” that generates wider range of cultural industries and related industries in Lao PDR.
Type:
Discipline:
การจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม แผน ก แบบ ก 2 ระดับปริญญามหาบัณฑิต
Collections:
Total Download:
105