ศิลปกรรมในพระราชประสงค์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
Other Title:
ART FROM THE ROYAL INTENTION OF KING MONGKUT
Author:
Subject:
Date:
2559-06-28
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
ศิลปกรรมในพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแบ่งได้ออกเป็น ๒ กลุ่มใหญ่ ได้แก่ ศิลปกรรมเนื่องในพระพุทธศาสนา และศิลปกรรมเนื่องในสถาบันพระมหากษัตริย์ ทั้งหมดมีความเกี่ยวข้องกับพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่เมื่อทรงผนวชจนกระทั่งเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ
ผลจากการศึกษาพบว่า ศิลปกรรมในพระราชประสงค์มีรูปแบบและเทคนิคงานช่างบางประการที่สืบเนื่องจากงานช่างในสมัยรัชกาลที่ ๓ แต่ขณะเดียวกันก็มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปสู่ความมีเอกลักษณ์อันโดดเด่น จนเกิดเป็นศิลปกรรมแบบพระราชนิยมในรัชกาลที่ ๔ โดยสิ่งที่แตกต่างไปจากเดิมอย่างเห็นได้ชัดคืออิทธิพลศิลปะตะวันตกที่มีมากขึ้นกว่าศิลปะจีน
ศิลปกรรมเนื่องในพุทธศาสนาพบว่ามีความเกี่ยวข้องกับการปฏิรูปพุทธศาสนาให้มีความบริสุทธิ์ถูกต้องตามพระบาลี เน้นการนำเสนอสาระสำคัญจากพระไตรปิฎกและคัมภีร์อื่น เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้ถือปฏิบัติ โดยลดทอนเนื้อหาที่เป็นอุดมคติและปรัมปราคติซึ่งไม่อาจพิสูจน์ได้ การย้อนกลับไปสู่ความถูกต้องและดั้งเดิมของพุทธศาสนา จึงทำให้มีแนวคิดในการสร้างศิลปกรรมบางประการที่เกี่ยวข้องกับลังกา ซึ่งเป็นศูนย์กลางพุทธศาสนาในขณะนั้น แต่รูปแบบศิลปกรรมเป็นการย้อนกลับไปใช้รูปแบบของศิลปะไทยในอดีตอย่างเช่นศิลปะอยุธยาเป็นสำคัญ
ศิลปกรรมเนื่องในสถาบันพระมหากษัตริย์มีแนวคิดบางประการที่แตกต่างไปจากราชประเพณีเดิม ทำให้เกิดพระราชนิเวศน์ในต่างจังหวัดขึ้นหลายแห่งในรัชกาลนี้ โดยมีรูปแบบที่ได้รับอิทธิพลศิลปะตะวันตกผสมกับศิลปะจีน ศิลปกรรมในราชสำนักทั้งในพระบรมมหาราชวังและพระราชนิเวศน์เหล่านั้นสะท้อนถึงการเฉลิมพระเกียรติยศแห่งองค์พระมหากษัตริย์ในฐานะพระประมุขของสยาม และเจ้าอธิราชเหนือประเทศราช นอกจากนี้ ยังพบว่าศิลปกรรมในราชสำนักยังคงมีความเกี่ยวข้องกับแนวคิดและความเชื่อแบบปรัมปราคติ ซึ่งส่งผลต่อความชอบธรรมในการครองราชสมบัติ ทั้งยังเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจแก่ราษฎรในการปกครองบ้านเมือง รูปแบบของศิลปกรรมเนื่องในสถาบันพระมหากษัตริย์หลายประการยังคงมีรูปแบบอย่างไทยประเพณี และได้นำแนวคิดตลอดจนรูปแบบศิลปกรรมในราชสำนักสมัยกรุงศรีอยุธยามาปรับใช้ด้วย The art works created according to the royal intention of King Mongkut can be
categorized into two groups: the art works for Buddhism and those for the royal institute. Both
were closely related with the King’s biography since the time of ordination and with his royal
duties after accessing the throne.
According to the research, some styles and techniques of the works were derived
from those used by the artisans in the reign of King Rama III. However, some showed the
new invention of unique characteristics and became the art styles of King Rama IV’s
preference. One of them was the role of the Western art which was more prominent than that
of the Chinese art.
As for the Buddhist art works, they were related with the King’s intention to
reform Buddhism in accordance with Pali texts. They portrayed important teachings from
Tripitaka and other related scriptures, encouraging Buddhists to follow those teachings. Some
surrealistic features were cut off. To accomplish this idea, the King intended to employ some
art elements relevant to Lanka, the Buddhist center of that period. However, the artisans, as
the matter of fact, were inspired by the Thai art in earlier periods, such as Ayutthaya period.
The works related with the royal institute expressed some new concepts differing
from the ancient royal tradition. Firstly, many of royal palaces outside Bangkok were
established and portrayed an amalgam of Western and Chinese art. The royal art styles found
in the Grand Palace and other palaces outside Bangkok bore a concept of glorifying the King
ruling Siam and other colonies. Secondly, the royal art styles were designed in relevance to
the traditional concepts of the King, which justified King Mongkut’s right to the throne and
encouraged his subjects. The art styles of this group still preserved ancient traditions and
displayed an inspiration from those used in Ayutthaya court.
Type:
Discipline:
ประวัติศาสตร์ศิลปะไทย แบบ 1.1 ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
Collections:
Total Download:
460