การศึกษาอลังการในจารึกปราสาทตาพรหมของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
Other Title:
A STUDY OF ALAṂKĀRA IN THE TA - PROHM INSCRIPTION OF JAYAVARMAN VII
Author:
Date:
2559-06-29
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอลังการที่ปรากฏในจารึกปราสาทตาพรหม โดยแปลเนื้อความจารึกปราสาทตาพรหมเป็นภาษาไทย ศึกษาขนบการสร้างสรรค์อลังการ อลังการด้านเสียง และอลังการด้านความหมาย โดยใช้ทฤษฏีอลังการศาสตร์มาวิเคราะห์ความงามของอลังการที่ปรากฏในจารึกปราสาทตาพรหม ผลการศึกษาพบว่าจารึกปราสาทตาพรหม ประพันธ์โดยเจ้าชายศรีสูรยกุมาร ซึ่งเป็นพระโอรสของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แต่งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และเพื่อระบุรายละเอียดกิจกรรมทางศาสนา รวมทั้งการทำนุบำรุงศาสนสถาน โดยใช้รูปแบบคำประพันธ์ร้อยกรองจำนวน 145 โศลก เนื้อหาจารึกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ (1) บทประณามพจน์ (2) เนื้อหาส่วนที่แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับ พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (3) เนื้อหาที่แสดงรายละเอียดการสร้างรูปเคารพและรายการสิ่งของ (4) เนื้อหาส่วนที่เป็นบทลงท้าย
อลังการที่ปรากฏในจารึกปราสาทตาพรหมดำเนินตามขนบการสร้างสรรค์อลังการด้านเสียง และอลังการด้านความหมาย ขนบการสร้างสรรค์อลังการด้านเสียงในจารึกปราสาทตาพรหม กวีสร้างอลังการในเรื่องของเสียง และจังหวะตามขนบในคัมภีร์ทางศาสนา เพื่อให้จารึกมีสถานภาพเป็นตัวบทค าประพันธ์อันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเหมาะสมกับสถานที่ตั้งจารึกซึ่งเป็นศาสนสถานที่สำคัญ ส่วนขนบการสร้างสรรค์อลังการด้านความหมายในจารึกปราสาทตาพรหม ดำเนินตามขนบจารึกประเภทสดุดีพระมหากษัตริย์ ได้แก่ (1) ขนบที่ปรากฏในด้านภาษาและฉันทลักษณ์ (2) ขนบการเปิดเรื่องด้วยบทประณามพจน์ (3) ขนบการดำเนินเนื้อเรื่อง และ (4) ขนบการปิดท้ายหรือบทจบเรื่อง
แนวคิดเรื่องขนบการสร้างสรรค์อลังการท าให้เห็นว่าจารึกปราสาทตาพรหมมีการสร้างสรรค์อลังการด้านเสียง และอลังการด้านความหมายอย่างเป็นระบบ อลังการด้านเสียงในจารึกปราสาทตาพรหมปรากฏให้เห็นในรูปของอนุปราส และยมก อนุปราสที่พบแบ่งออกเป็น เฉกานุปราส ลาฏานุปราส และ วฤตตยานุปราส ส่วนอลังการด้านความหมายในจารึกปราสาทตาพรหม แบ่งออกเป็น 7 กลุ่ม ซึ่งอลังการที่ปรากฏทั้งหมดมี 12 รูปแบบ ได้แก่ (1) อลังการที่แสดงความหมายเปรียบเทียบ มี 3 รูปแบบ คือ อุปมา รูปกะ และวยติเรก (2) อลังการที่แสดงความหมายในการบรรยายหรือพรรณนาความ มี 1 รูปแบบ คือ ชาติ หรือสวภาโวกติ (3) อลังการที่แสดงความหมายหลายระดับ มี 2 รูปแบบ คือ อากเษป และ เศลษะ (4) อลังการที่แสดงความหมายในรูปพลังของจินตนาการ มี 1 รูปแบบ คือ อุตเปรกษา (5) อลังการที่แสดงความหมายความหนักแน่น มี 2 รูปแบบ คือ อติศยะหรืออติศโยกติ และทีปกัมหรือทีปกะ (6) อลังการที่แสดงความหมายในลักษณะที่เป็นเหตุเป็นผลกัน มี 1 รูปแบบ คือ เหตุ (7) อลังการที่แสดงความหมายโดยการกล่าวถึงสิ่งต่างๆ เรียงต่อกันตามลำดับ มี 2 รูปแบบ คือ ยถาสังขยัม และเอกาวลี This thesis aims to study the Alāṃkāra in the Ta-Prohm inscription by translating it into Thai and analysing its embellishment according to creative literary tradition, especially the Śabdālaṃkāra (embellishment of the sound) and the Arthālaṃkāra (embellishment of the meaning), by using the Alāṃkāra theories in the Alāṃkāraśāstra.
The results show that Ta-Prohm inscription was an important inscription in the reign of King Jayavarman VII, ornately composed by his own son, Prince Śrīsūryakumāra. The principal aim of the author was to eulogize King Jayavarman VII and to describe the religious activities and to lay down the process how to maintain the places of worship. The author described the contents by using 145 verses, some of which are beautifully ornate. The contents of the inscription are divided into four parts: (1) the beginning being the invocation, (2) the details about King Jayavarman VII’s genealogy and exploits (3) the details of the creation of idols and their accessories, (4) the ending chapter. The Alāṃkāras appearing in the Ta-Prohm inscription show that the author
was highly knowledgeable about the creative tradition of Śabdālaṃkāra and Arthālaṃkāra. The Alāṃkāras which appear in Ta-Prohm inscription are both Śabdālaṃkāra and the Arthālaṃkāra. The former are Anuprāsa and Yamaka. The found Anuprāsa can be classified as Chekānuprāsa, Lāṭānuprāsa and Vṛttyanuprāsa. On the other hand, the latter can be divided into seven groups, comprising totally 12 categories of the Alāṃkāras: (1) Alāṃkāra showing the comparative meaning: Upamā, Rupaka and Vayatireka; (2) Alāṃkāra showing the expressive or descriptive meaning: Jāti or Svabhāvokti (3) the one showing the different levels of meaning: Ākṣepa and Śleṣa. (4) the one showing the meaning of the power of imagination: Utprekṣā; (5) the one showing the meaning of steadiness or the emphasis of description: Atiśaya or Atiśayokti and Dīpakaṃ or Dīpaka; (6) the one showing the meaning in a logical manner: Hetu; (7) and the one showing the meaning by mentioning things continuously in order: Yathāsaṃkhyaṃ and Ekāvalī.
Type:
Discipline:
จารึกศึกษา แผน ก แบบ ก 2 ระดับปริญญามหาบัณฑิต
Collections:
Total Download:
620