การพัฒนาตัวแบบความสามารถการจัดการนวัตกรรมภูมิปัญญาเศรษฐกิจพอเพียง ของปราชญ์ชาวบ้าน เพื่อเสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน
Other Title:
DEVELOPMENT OF MANAGEMENT CAPACITY MODEL REGARDING TO SUFFICIENT ECONOMIC WISDOM INNOVATION OF FOLK PHILOSOPHER TO REINFORCE DEVELOPMENT
Author:
Subject:
Date:
2558-12-17
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษากระบวนการการจัดการนวัตกรรมภูมิปัญญาเศรษฐกิจพอเพียงของปราชญ์ชาวบ้านเพื่อเสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน 2. เพื่อศึกษาปัจจัยเงื่อนไขที่ส่งผลต่อการจัดการนวัตกรรมภูมิปัญญาเศรษฐกิจพอเพียงของปราชญ์ชาวบ้านเพื่อเสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน 3. เพื่อพัฒนาตัวแบบการจัดการนวัตกรรมภูมิปัญญาเศรษฐกิจพอเพียงของปราชญ์ชาวบ้านเพื่อเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการตอบแบบสอบถาม จำนวน 240 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสัมภาษณ์เชิงลึกปราชญ์ชาวบ้านที่มีผลงานป็นที่ประจักษ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ค่าการกระจาย (CV) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Product - moment Correlation Coefficient) โมเดลสมการโครงสร้าง(Structural equation modeling : SEM) และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
กระบวนการการจัดการนวัตกรรมภูมิปัญญาเศรษฐกิจพอเพียงของปราชญ์ชาวบ้านเพื่อเสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน ได้แก่ 1. สาเหตุ และแรงบันดาลใจในการดำเนินชีวิต/หรือประกอบอาชีพตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2. การประยุกต์ใช้ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (ความมีเหตุมีผล ความพอประมาณ และการมีภูมิคุ้มกัน ร่วมกับเงื่อนไขความรู้ และคุณธรรม)ในการดำเนินชีวิต/ประกอบอาชีพ 3. หลักการ/กระบวนการเรียนรู้ในการสร้างและประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาในการดำเนินชีวิต/การประกอบอาชีพตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 4. วิธีการปฏิบัติที่ดี หรือแนวทางที่ดีเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ/ดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 5. สมรรถนะที่ผลักดันให้เกิดนวัตกรรมภูมิปัญญาฯโดยมีการเชื่อมโยงก่อเกิดนวัตกรรม 6. การแสวงหาความรู้ ข้อมูล การนำความรู้ไปใช้ และเผยแพร่และเปลี่ยนความรู้/เทคนิคเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้ประสบความสำเร็จ 7. ทุนทางสังคมมีบทบาทและมีความสำคัญต่อนวัตกรรมภูมิปัญญา 8. การจัดการความรู้มีบทบาทและมีความสำคัญต่อนวัตกรรมภูมิปัญญา 9. ความคิดสร้างสรรค์มีบทบาทและมีความสำคัญต่อนวัตกรรมภูมิปัญญา
ปัจจัยเงื่อนไขที่ส่งผลต่อการจัดการนวัตกรรมภูมิปัญญาเศรษฐกิจพอเพียงของปราชญ์ชาวบ้านเพื่อเสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน ได้แก่ 1.การปรับและยอมรับแนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต/การประกอบอาชีพ มีการให้ความสนใจในระบบความสัมพันธ์ของธรรมชาติ 2.การสังเกต และเรียนรู้เรื่องธรรมชาติจัดสัมพันธ์กันอยู่ตามภูมิปัญญาของชาวบ้าน 3.ทุนทางสังคม 4.วิธีการเรียนรู้และแสวงหาความรู้ 5.การจัดการความรู้อย่างมีระบบ 6.การประยุกต์ใช้ความรู้และการสร้างสรรค์นวัตกรรมภูมิปัญญา 7.สมรรถนะผู้นำปราชญ์ชาวบ้าน 8.การจัดการที่มีประสิทธิภาพ 9.การถ่ายทอดและเผยแพร่องค์ความรู้
ตัวแบบการจัดการนวัตกรรมภูมิปัญญาเศรษฐกิจพอเพียงของปราชญ์ชาวบ้านเพื่อเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน พบว่า ตัวแบบสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่าไคสแควร์ ( x^2 = 66.47, df = 93, p = 0.98, RMSEA= 0.00 , RMR = 0.03, GFI= 0.97,AGFI = 0.96 ,( x^2 /df) = 0.71 This research aimed to 1. Study the process in Development of management capacity model regarding to sufficient economic wisdom innovation of folk philosopher to reinforce development 2. Study the factors that affect performance of Development of management capacity model regarding to sufficient economic wisdom innovation of folk philosopher to reinforce development 3. Develop models of Development of management capacity model regarding to sufficient economic wisdom innovation of folk philosopher to reinforce development. This research was conducted by applying mixed methods research. Questionnaires and semi-structured questionnaires were applied. Population and samples were 266 samples and 5 educators . Data analysis were Frequency, Percentage, Mean, Standard Deviation, CV, Pearson’s Product - moment Correlation Coefficient, Structural equation modeling and Content Analysis. The results of this research were as follows:
The process in Development of management capacity model regarding to sufficient economic wisdom innovation of folk philosopher to reinforce development were 1. Causes and inspiration in the lifestyle / career or philosophy of sufficiency economy 2. The application of the philosophy of sufficiency economy (Moderation, Reasonableness and Self-Immunity) 3. Principle / learning process in the creation and application of knowledge in the life / career philosophy of sufficiency economy 4. Best practice or guidance about career / lifestyle philosophy of sufficiency economy 5. Performance-driven by linking the wisdom of innovation 6. The knowledge, data, publishing, technique involves the application of the principles of the sufficiency economy philosophy to success 7. Social capital role important for innovative wisdom 8.Knowledge Management important for innovative wisdom and 9. Creative thinking important for innovative wisdom
The factors affecting innovation management, intellectual, economic self-sufficiency of local scholars to enhance sustainable development were 1. To adapt and accept the concept of sufficiency economy philosophy of His Majesty the King to guide the lifestyle and occupation 2. Observing and learning about the natural relationship based on the people’s wisdom 3.Social Capital 4. Learning and seeking knowledge 5. Knowledge Management have systematically 6. System to apply the knowledge, wisdom and innovation. 7. Performance in Leadership 8.Effective Management 9. Transfer and dissemination of knowledge.
The model Innovation of wisdom sufficiency to promote sustainable development was consistent with empirical data on a very good level by considering (
x^2
= 66.47, df = 93, p = 0.98, RMSEA= 0.00 , RMR = 0.03, GFI= 0.97,AGFI = 0.96 ,( x^2 /df) = 0.71)
Type:
Discipline:
พัฒนศึกษา แบบ 2.1 ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
Collections:
Total Download:
213