การพัฒนารูปแบบการสอน เพื่อส่งเสริมความสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนมาตรฐานสากล
Other Title:
THE DEVELOPMENT OF AN INSTRUCTIONAL MODEL TO ENHANCE CREATIVITY FOR HIGH SCHOOL STUDENTS IN WORLD – CLASS STANDARD SCHOOLS
Author:
Date:
2559-08-04
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ อ 1) พัฒนารูปแบบการสอน เพื่อส่งเสริมความสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอน
ปลาย โรงเรียนมาตรฐานสากล 2) เปรียบเทียบความรู้กระบวนการสร้างสรรค์ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการสอน เพื่อส่งเสริมความ
สร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนมาตรฐานสากล 3) ศึกษาระดับความสร้างสรรค์ตามขั้นตอนของรูปแบบการ
สอน เพื่อส่งเสริมความสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนมาตรฐานสากล และ 4) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียน
ที่มีต่อกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยรูปแบบการสอน เพื่อส่งเสริม ความสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียน
มาตรฐานสากล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 /1 จานวน 30 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียน
ราชินีบูรณะ จังหวัดนครปฐม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย รูปแบบการสอน เพื่อส่งเสริมความสร้างสรรค์ แบบทดสอบวัด
ความรู้กระบวนการสร้างสรรค์ซึ่งผ่านการทดสอบความเชื่อมั่น (reliability) ด้วยค่าสัมประสิทธิ์อัล ฟาของครอนบาช (Cronbach, Alpha
coefficient) มีค่าเท่ากับ 0.80 แบบประเมินความสร้างสรรค์ แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อ รูปแบบการสอน เพื่อส่งเสริม
ความสร้างสรรค์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่าทีแบบไม่อิสระ (t-test for dependent)
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการสอน เพื่อส่งเสริม ความสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนมาตรฐานสากล มีชื่อว่า
“RNS Model” มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ เป็นรูปแบบที่ส่งเสริมให้นักเรียนได้พัฒนาความสร้างสรรค์ด้วยตนเองอย่างเป็นระบบ
โดยอาศัยการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ผ่านกิจกรรมที่เน้นการร่วมมือกันเรีย นรู้และนักเรียนมีบทบาทสาคัญในการเรียนรู้ 2)
วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาความสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนมาตรฐานสากล 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้
ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 การค้นหาความต้องการจาเป็นในการเรียนรู้ (Research for needs : R ) ขั้นที่ 2 การพัฒนากระบวนการ
เรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ (Networks for Learning : N ) ขั้นที่ 3 การประเมินการเรียนรู้ (Structure of Observed Learning Outcomes : SOLO
Taxonomy for Assessment : S) 4) การวัดและประเมินผล 2 ด้าน คือ ด้านความรู้กระบวนการสร้างสรรค์ และด้านความสร้างสรรค์ และ 5)
เงื่อนไขสาคัญในการนารูปแบบไปใช้ให้ประสบผลสำเร็จ ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการสอน เพื่อส่งเสริมความสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนมาตรฐานสากล มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.16/80.23 และเมื่อนารูปแบบการสอน เพื่อส่งเสริมความ
สร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนมาตรฐานสากลไปขยายผลพบว่านักเรียนมีความรู้กระบวนการสร้างสรรค์ หลัง
การใช้รูปแบบการสอน เพื่อส่งเสริมความสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนมาตรฐานสากล สูงกว่าก่อนใช้รูป
แบบอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีระดับความสร้างสรรค์ โดยรวมอยู่ในระดับสูง
2. ความรู้กระบวนการสร้างสรรค์ หลังการใช้รูปแบบการสอน เพื่อส่งเสริมความสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอน
ปลาย โรงเรียนมาตรฐานสากล สูงกว่าก่อนใช้รูปแบบอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ระดับความสร้างสรรค์ของนักเรียนจากการประเมินจาก ภาระงาน การนาความรู้มานาเสนอและประเมินในระหว่างเรียน
และการปฏิบัติกิจกรรมความสร้างสรรค์ โดยรวมอยู่ในระดับสูง
4. ความคิดเห็น ของนักเรียนที่มี ต่อการสอนด้วยการใช้ รูปแบบการสอน เพื่อส่งเสริม ความสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนมาตรฐานสากล อยู่ในระดับมาก โดยนักเรียนมีความตั้งใจที่จะนารูปแบบการสอน เพื่อส่งเสริมความ
สร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนมาตรฐานสากล ไปพัฒนาใช้ให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวันมากที่สุด The purposes of this research were to: 1) develop an instructional model to enhance creativity of high
school students in world - class standard schools; 2) compare the learning achievement before and after
implementing the instructional model; 3) study the students’ creativity level based on the instructional model;
and 4) study the students’ opinions towards the instructional model. This research was research and
development design: R&D research. The samples were 30 twelfth grade students during the second semester of
the academic year 2015 at Rachineeburana School in Nakorn Pathom Province. Research tools for data
collection consisted of : a creative procedural knowledge test, with a reliability value tested by Cronbach’s
Alpha coefficient at 0.80; creativity assessment forms; and a questionnaire used to investigate students
opinions towards the instructional model. The statistics used for this research were percentage, mean, standard
deviation and a dependent t- test at the .01 statistically significant level.
The results were :
1) the instructional model called “RNS Model” consisted of five components: (1) principles (2)
objectives (3) learning process which had three steps: (a) Research for needs: R (b) Network for learning: N (c)
Structure of Observed Learning Outcomes: SOLO Taxonomy for Assessment: S (4) assessment and (5) the
important conditions for using the instructional model successfully. The efficiency of the instructional model
was 84.16/80.23. The results of the dissemination using instructional model indicated that students’ creative
procedural knowledge was higher than before receiving the instruction at a .01 significance level; and their
creativity was at a high level.
2) After using the instructional model, students’ creative procedural knowledge was higher than
before receiving the instruction at a .01 significance level.
3) After using the instructional model, students’ creativity was at a high level.
4) The students’ opinions towards instructional model were at a high level.
Type:
Discipline:
หลักสูตรและการสอน(หลักสูตรและการนิเทศ) แบบ 2.1 ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
Collections:
Total Download:
269