การพัฒนาตัวชี้วัดการบริการด้านสุขภาพเพื่่อคุณภาพชีวิตของผู้ต้องขังในเรือนจำไทย
ชื่อเรื่องอื่น:
THE DEVELOPMENT OF HEALTH SERVICE INDICATORS FOR ENHANCING THE QUALITY OF LIFE OF PRISONERS IN THAI PRISONS.
ผู้แต่ง:
หัวเรื่อง:
วันที่:
2559-02-01
สำนักพิมพ์:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
บทคัดย่อ:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวชี้วัดการบริการด้านสุขภาพเพื่อคุณภาพชีวิตของผู้ต้องขังในเรือนจำไทย และประเมินคุณภาพชีวิตจากการบริการด้านสุขภาพของผู้ต้องขังในเรือนจำไทย ดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอนคือ 1) ร่างองค์ประกอบและตัวชี้วัดโดยการสังเคราะห์เอกสารและประชุมกลุ่มเจ้าหน้าที่สายการแพทย์ 2) พัฒนาตัวชี้วัดด้วยระเบียบวิธีวิจัยเทคนิคเดลฟาย 3 ) ประเมินคุณภาพชีวิตผู้ต้องขังจากการบริการด้านสุขภาพ ประชากรในการวิจัย ได้แก่ (1) ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ 21 ท่าน (2) เจ้าหน้าที่สายการแพทย์ในสถานพยาบาลเรือนจำทั่วประเทศ 139 แห่ง (3) ผู้ต้องขังที่มารับบริการสุขภาพในสถานพยาบาลเรือนจำขนาดเล็ก กลางและใหญ่แห่งละ 5 คน รวบรวมข้อมูลโดยเครื่องมือแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ชนิดกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา และข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลวิจัยพบว่า 1. ตัวชี้วัดการบริการด้านสุขภาพเพื่อคุณภาพชีวิตของผู้ต้องขัง มี 4 องค์ประกอบหลัก 15 องค์ประกอบย่อย 61 ตัวชี้วัด ได้แก่ 1) องค์ประกอบด้านโครงสร้างหน่วยบริการสุขภาพ มี 4 องค์ประกอบย่อย คือ (1) มาตรฐานสถานพยาบาลเรือนจำ 3 ตัวชี้วัด (2) นโยบายการบริการด้านสุขภาพ 3 ตัวชี้วัด (3) มาตรฐานบุคลากร 5 ตัวชี้วัด (4) เครือข่ายบริการสุขภาพมีประสิทธิภาพ 4 ตัวชี้วัด 2) องค์ประกอบด้านการบริหารจัดการ การบริการด้านสุขภาพ มี 3 องค์ประกอบย่อยคือ (1) การบริการสุขภาพแรกรับ 4 ตัวชี้วัด (2) การบริการสุขภาพระหว่างคุมขัง 4 ตัวชี้วัด (3) การบริการสุขภาพก่อนปล่อยพ้นโทษ 3 ตัวชี้วัด 3) องค์ประกอบด้านกระบวนการ การบริการด้านสุขภาพ มี 5 องค์ประกอบย่อยคือ (1) การส่งเสริมสุขภาพ 3 ตัวชี้วัด (2) การป้องกันโรค 3 ตัวชี้วัด (3) การบำบัดรักษา 6 ตัวชี้วัด (4) การฟื้นฟูสภาพ 3 ตัวชี้วัด (5) สังคม สิ่งแวดล้อมและสิ่งจำเป็นพื้นฐาน 5 ตัวชี้วัด 4) องค์ประกอบด้านผลลัพธ์การบริการด้านสุขภาพ มี 3 องค์ประกอบย่อยคือ (1) คุณภาพการบริการด้านสุขภาพ 6 ตัวชี้วัด (2) ผลการบริการผู้ป่วยเรื้อรังและผู้พิการ 5 ตัวชี้วัด (3) ผลความร่วมมือระหว่างองค์กรสุขภาพ 4 ตัวชี้วัด 2. ผลการประเมินคุณภาพชีวิตจากการบริการด้านสุขภาพของผู้ต้องขังโดยกลุ่มเจ้าหน้าที่สายการแพทย์พบว่า คุณภาพชีวิตของผู้ต้องขังจากการบริการด้านสุขภาพทุกองค์ประกอบอยู่ในเกณฑ์ดี (x =3.94, S.D.= 0.93) จำแนกตามองค์ประกอบพบว่าด้านโครงสร้างหน่วยบริการสุขภาพอยู่ในเกณฑ์ดี ( x=3.74, S.D.= 1.02) ด้านการบริหารจัดการ การบริการด้านสุขภาพอยู่ในเกณฑ์ดี ( x= 4.09, S.D.= 0.90) ด้านกระบวนการ การบริการด้านสุขภาพอยู่ในเกณฑ์ดี ( x= 4.01, S.D.= 0.87) และด้านผลลัพธ์การบริการอยู่ในเกณฑ์ดี ( x= 3.92, S.D.= 0.93) และผลการประเมินโดยกลุ่มผู้ต้องขังในสถานพยาบาลเรือนจำขนาดเล็ก กลางและใหญ่พบว่า คุณภาพชีวิตจากการบริการด้านสุขภาพรวมทุกองค์ประกอบของสถานพยาบาลเรือนจำทั้ง 3 ขนาด อยู่ในเกณฑ์ดี มีข้อเสนอแนะควรปรับปรุงสิ่งจำเป็นพื้นฐานด้านอาหารให้มีคุณภาพดีขึ้น
The purposes of this research were 1) to develop health service indicators for enhancing the quality of life of prisoners in Thai prisons and 2) to evaluate the quality of life with health service of prisoners. This study had been conducted in three steps: the first step used data collection and synthesis for constructing the core-components of health service indicators, and focus group discussions of health providers; the second step used the Delphi-technique for constructing health service indicators by consensus from 21 experts who had experiences in prison healthcare concept. The third step used survey research for evaluating health service for enhancing the quality of life of prisoners in two groups: the first group included 139 samples of healthcare providers selected through purposive sampling from the healthcare prison clinics. A questionnaire was used as the instrument for data collection from this group. The statistical analysis was used for descriptive statistics. The second group consisted of groups of prisoners with semi-structured interviews and content analysis.
The results of this research were as follows: the health service indicators for enhancing the quality of life of prisoners in Thai prisons were composed of four elements, 15 sub-elements and 61 indicators namely:
1. The structure of prison health service was composed of four sub-elements, 15 indicators including three quality standard healthcare clinics, three indicators of health service policies, five indicators of standard of healthcare providers and four indicators of effectiveness in health service network sharing.
2. The management of health service system was composed of three sub-elements, mainly 11 indicators including four indicators of health screening in the first period of incarceration, five indicators of an inter-incarceration period and four indicators of discharge planning period.
3. The process of prison health service provision was composed of five sub-elements and 23 indicators, including four indicators of health promotion activities, four indicators of health prevention activities, six indicators of primary medical care activities, three indicators of rehabilitation activities and five indicators of social, environmental and basic necessities of life.
4. The outcome of health service providing was composed of three sub-elements and 15 indicators, including six indicators of quality health service providing, five indicators of health service outcomes for prisoners with chronic illness and disabilities, four indicators of effective collaboration between health organizations.
An evaluation of the quality of life of prisoners by staff health providers was found that the health service to improve the heath-quality of life of prisoners was in a good level ( x= 3.94, S.D. = 0.93). The classification of each component showed that the structure of prison health service was at a good level ( x=3.74, S.D. = 1.02). The management of health service system was at a good level ( x = 4.09, S.D. = 0.90). The process of prison health service providing was at a good level ( x= 4.01, S.D. = 0.87). The outcome of health service providing was at a good level ( x=3.92, S.D. = 0.93). An evaluation of the quality of life in small, medium and large prison healthcare clinics from prisoners’ views on their quality of life was at a good level in all components, and they asked for the necessity of food improvement.
ประเภทผลงาน:
สาขาวิชา:
การศึกษาตลอดชีวิตและการพัฒนามนุษย์ แบบ 2.1 ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
คอลเล็คชัน:
จำนวนดาวน์โหลด:
111