การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดแก้ปัญหาอนาคต โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบการคิดแก้ปัญหาอนาคตตามแนวคิดของทอร์แรนซ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
Other Title:
THE DEVELOPMENT OF LEARNING ACHIEVEMENT AND FUTURE PROBLEM SOLVING USING TORRANCE’S FUTURE PROBLEM SOLVING MODEL FOR MATHAYOMSUKSA 5 STUDENTS
Author:
Subject:
Date:
2559-12-03
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง วิกฤติการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบการคิดแก้ปัญหาอนาคตตามแนวคิดของทอร์แรนซ์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) ศึกษาพัฒนาการการคิดแก้ปัญหาอนาคตเรื่อง วิกฤติการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบการคิดแก้ปัญหาอนาคตตามแนวคิดของทอร์แรนซ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบการคิดแก้ปัญหาอนาคตตามแนวคิดของทอร์แรนซ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนวัดไร่ขิงวิทยา ตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 ที่เรียนรายวิชา ส32102 ภูมิศาสตร์ เรื่อง วิกฤติการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำนวน 38 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง วิกฤติการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบวัดการคิดแก้ปัญหาอนาคต และ 4) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้รูปแบบการคิดแก้ปัญหาอนาคตตามแนวคิดของทอร์แรนซ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (¯x) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test for dependent)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง วิกฤติการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยการจัดการเรียนรู้รูปแบบการคิดแก้ปัญหาอนาคตตามแนวคิดของทอร์แรนซ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. การคิดแก้ปัญหาอนาคต เรื่อง วิกฤติการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบการคิดแก้ปัญหาอนาคตตามแนวคิดของทอร์แรนซ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีพัฒนาการสูงขึ้น
3. ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบการคิดแก้ปัญหาอนาคตตามแนวคิดของทอร์แรนซ์ อยู่ในระดับมากที่สุด
The purposes of this research were to: 1) compare the learning achievement on natural resources and environment crisis for Mathayomsuksa 5 students before and after the participation in the learning management using Torrance’s future problem solving model 2) study development of the future problem solving on natural resources and environment crisis for Mathayomsuksa 5 students using Torrance’s future problem solving model and 3) study the opinion of Mathayomsuksa 5 students using Torrance’s future problem solving model. The sample of this research consisted of 38 Mathayomsuksa 5/4 students studying in the second semester during the academic year 2016 in Watraikhingwittaya school, Samphran District, Nakhonpathom Province of the Office of Secondary School District 9. The instruments employed to collect data were: 1) lesson plans 2) a learning achievement test 3) future problem solving tests and 4) a questionaire on the opinion of Mathayomsuksa 5 students using Torrance’s future problem solving model. The collect data was analyzed by mean (¯x) standard deviation (S.D.), t-test for dependent and content analysis.
The finding were as follows:
1. The learning achievement on natural resources and environment crisis using Torrance’s future problem solving model for Mathayomsuksa 5 students after using was higher than before at the level of .05 significance.
2. The future problem solving on natural resources and environment crisis using Torrance’s future problem solving model for Mathayomsuksa 5 students was developed to higher level.
3. The opinion of Mathayomsuksa 5 students using Torrance’s future problem solving model was at the highest level of agreement.
Type:
Discipline:
การสอนสังคมศึกษา แผน ก แบบ ก 2 ระดับปริญญามหาบัณฑิต
Collections:
Total Download:
240