การพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อส่งเสริมการทำงานร่วมกับชุมชนของครูอนามัยโรงเรียน
ชื่อเรื่องอื่น:
DEVELOPMENT OF A NON-FORMAL EDUCATION PROGRAM TO ENHANCE PARTICIPATION WITH THE COMMUNITY AMONG SCHOOL HEALTH TEACHERS.
ผู้แต่ง:
หัวเรื่อง:
วันที่:
2559-06-23
สำนักพิมพ์:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
บทคัดย่อ:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อส่งเสริมการทำงานร่วมกับชุมชนของครูอนามัยโรงเรียน และ 2) เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมตามโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อส่งเสริมการทำงานร่วมกับชุมชนของครูอนามัยโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือครูอนามัยโรงเรียน จำนวน 556 คน โดยการสุ่มครูอนามัยโรงเรียนจากโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาทั้งประเทศ แบบหลายขั้นตอน (Multi-stage) การดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ 1)ศึกษาสภาพปัญหาการทำงานร่วมกับชุมชนของครูอนามัยโรงเรียนและความต้องการเกี่ยวกับพัฒนาตนเองเพื่อส่งเสริมการทำงานร่วมกับชุมชนของครูอนามัยโรงเรียน 2)พัมนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อส่งเสริมการทำงานร่วมกับชุมชนของครูอนามัยโรงเรียน 3)ศึกษาผลการจัดกิจกรรมตามโปรแกรมการศึกษาเพื่อส่งเสริมการทำงานร่วมกับชุมชนของครูอนามัยโรงเรียน ซึ่งได้ทำการทดลองใช้กับกลุ่มทดลองที่ได้จากการคัดเลือกจากกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบความรู้แบบเลือกตอบและแบบอัตนัย แบบบันทึกทักษะ แบบวัดทัศนคติ และแบบบันทึกผลการทำงานในชุมชน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (contents analysis) และด้วยการวิเคราะห์ค่าทางสถิติ ได้แก่ การหาค่าความถี่ (f) ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (X̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (t-test dependent)
ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1)โปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อส่งเสริมการทำงานร่วมกับชุมชนของครูอนามัยโรงเรียน ได้พัฒนาตามแนวคิดการพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนของ Boyle (1981) ได้แก่ (1) กำหนดกลุ่มผู้เรียน คือครูอนามัยโรงเรียน (2) ระบุเนื้อหาวิชา จากความต้องการเกี่ยวกับการพัฒนาตนเองของครูอนามัยโรงเรียนด้านความรู้ ด้านทักษะ และด้านทัศนคติในการทำงาสนร่วมกับชุมชน (3) กำหนดการเรียนการสอนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนการรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Participatory Learning) และแนวคิดการมีส่วนร่วมของชุมชน John M. Cohen และ Norman T. Uphoff (1977) ซึ่งประกอบด้วย 13 แผนการเรียนรู้ (4) นำแผนการสอนไปปฏิบัติทั้งในห้องประชุมและในพื้นที่ชุมชน รวม 120 ชั่วโมง (5) การประเมินผลโปรแกรม จากผลการประเมินความรู้ ทักษะ และทัศนคติในการทำงานร่วมกับชุมชนหลังจัดกิจกรรมการเรียนการรู้ และการติดตามผลการนำไปใช้ของกลุ่มทดลอง 2) ผลการจัดกิจกรรมตามโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อส่งเสริมการทำงานร่วมกับชุมชนของครูอนามัยโรงเรียนที่พัฒนาขึ้น พบว่า (1) กลุ่มทดลองมีคะเเนนความรู้ ทักษะ เเละทัษศคติในการทำงานร่วมกับชุมชนหลังเข้าร่วมกิจกรรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) ผลจากการนำแนวทางที่ได้จากการจัดกิจกรรมไปใช้ทำงานรว่มกับชุมชน พบว่าชุมชนได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจและวางแผน ร่วมดำเนินงาน ร่วมรับผลประโยชน์ และร่วมประเมินผล (3) ผลลัพธ์จากการทดลองใช้ พบว่ากลุ่มทดลองมีการเปลี่ยนแปลง (Change) ในการทำงานร่วมกับชุมชนที่มีแนวโน้มไปสู่ทิสทางที่ถูกต้อง และมีความคงทน (Retention) ของการเรียนรู้โดยนำความรู้ ทักษะ และทัศนคติในการทำงานร่วมกับชุมชนไปปฏิบัติงานในชุมชน ทำให้เกิดความร่วมมือระหว่างโรงเรียนและชุมชนด้านการดูเเลสุขภาพมากขึ้น แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นนั้นมีประสิทธิภาพ (Effective) สำหรับข้อเสนอเเนะในการนำโปรแกรมไปใช้ (1) ควรได้รับความเห็นชอบจากผู้บริหารโรงเรียนเพื่อจะได้รับการสนับสนุน ทำให้การนำโปรแกรมนี้ไปใช้สะดวกมากขึ้น (2) ผู้ใช้โปรแกรมควรศึกษาเรื่องงานอนามัยโรงเรียนและการมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างถ่องแท้
The purpose of this study were to 1) develop a non-formal education program to enhance participation with
the community among school health teachers and 2) implement a non-formal education program to enhance participation
with the community among school health teachers. Participants were 556 school health teachers through multi-stage
random selection from elementary schools affiliated to the national primary educational service area office. The
methodology consists of three stages: 1) survey the problems in participation with the community among school health
teachers and needs to enhance their work to participate with the community 2) development a non-formal education
program to enhance participation with the community among school health teachers and 3) the study of the results from
implement a non-formal education program conducted by purposive sampling with twenty participants. The instruments
for data collection include questionnaire, interview, multiple-choice and open-ended question tests, skills evaluation test,
attitude test, and results record, then analyzed in regard to contents analysis and statistics including Frequency (f),
Percentage (%),Mean (X̅) ,Standard Deviation (S.D.), and T-Test Dependent.
The results reveal the followings. Firstly, the non-formal education program to enhance participation with
the community among school health teachers was developed based on BoyleCs (1981) program development i.e. (1)
defining the participants which are school health teachers (2) identifying the contents based on their needs in knowledge,
skills, and attitude toward working with community (3) the learning activities method based on participatory learning (PL)
and John M. Cohen and Norman T. Uphoff (1977) concepts that compose by thirteen lesson plans (4) implementing the
120-hour lesson plan in classrooms and community and (5) program evaluated by the results from knowledge, skill, and
attitude tests in community participation in wake of arranged learning activities and the follow-up of the sampleCs
implementation. The results from implement a program that (1) the sampleCs post-test mean scores in knowledge, skills,
and attitude toward community participation were higher with statistical significance at 0.05, (2) the results showed that
the community participated with making decisions/ planning, cooperation, benefits, and evaluation, (3) the sample
produced changes in community participation in the right direction, and learning retention by applying knowledge, skills,
and attitude toward the community participation to actual work, giving rise to improved participation between schools and
community in healthcare implying that the program is effectiveness. As for recommendations of implementing the
program 1) obtaining consent from school executive as to granting support and convenience 2) the program users required
to study school health activity and community participation insightfully.
ประเภทผลงาน:
สาขาวิชา:
การศึกษาตลอดชีวิตและการพัฒนามนุษย์ แบบ 2.1 ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
คอลเล็คชัน:
จำนวนดาวน์โหลด:
130
ดู/เปิด
Metadata
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็มRelated items
Showing items related by title, author, creator and subject.
-
การบริหารจัดการของโรงเรียนดีเด่น ด้านคุณธรรม จริยธรรมตามโครงการต้นแบบโรงเรียนวิถีพุทธ : กรณีศึกษาโรงเรียนสุวรรณสุทธารามวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1
คอลเลคชัน: Theses (Master's degree) - Development Education / วิทยานิพนธ์ - พัฒนศึกษาประเภทผลงาน: Thesisสุดจิตร์ ไทรนิ่มนวล; Sudchit Sainlmnual (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2010) -
การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเรื่องการนิเทศภายในโรงเรียนสำหรับผู้นิเทศภายในโรงเรียนประถมศึกษา
คอลเลคชัน: Theses (Master's degree) - Curriculum and Surpervision / วิทยานิพนธ์ – หลักสูตรและการนิเทศประเภทผลงาน: Thesisบุญชู ศุขเจริญ; Bonchoo Sukjarean (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2005) -
สมรรถภาพทางการนิเทศของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานวิชาการ ของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดเพชรบุรี
คอลเลคชัน: Theses (Master's degree) - Adult and Continuing Education / วิทยานิพนธ์ – การศึกษาผู้ใหญ่และการศึกษาต่อเนื่องประเภทผลงาน: Thesisอธิป อังคสุทธิพงษ์; Athip Ankasutthipong (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2002)